May 04, 2019 21:29
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
หากมีอาการต่อเนื่องมาเป็นปี อยากให้สำรวจอาการของโรคซึมเศร้า ต่อไปนี้ดูก่อนนะคะ
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยชอบ
2.ท้อแท้เศร้า
3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
4.นอนไม่หลับ/หลับมาก
5.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะ
6.เหม่อลอย ไม่ค่อยมีสมาธิ
7.หงุดหงิด กระสับกระส่าย
8.รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเกิน 7 ข้อ และมีอาการต่อเนื่องทุกวัน เกิน 2สัปดาห์ ก็ถือว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นซึมเศร้าได้ค่ะ
สาเหตุหลักของซึมเศร้า เกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ
การรักษาที่ได้ผลดี คือ การรักษาด้วยยา ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ แสดงออกมาได้เหมาะสมตามเหตุผลที่เป็นจริง ร่วมกับการทำจิตบำบัดเพื่อช่วยให้เข้าใจปัยหาและปรับตัว ดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติค่ะ
ดังนั้นในกรณีที่มีอาการเข้าข่ายซึมเศร้า แนะนำพบจิตแพทย์นะคะ ตรวจวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึมเศร้า รู้เร็ว รักษาไวมีโอกาสหายได้เร็ว แต่หากปล่อยให้เรื้องรัง ตัวโรคอาการพัฒนารุนแรงจนอาจมีอาการทางจิตแทรกได้ ซึ่งจะรักษาได้ยากกว่านะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาก็มีอาการบางอย่างทีตรงกับเรื่องภาวะโรคซึมเศร้าเหมือนอย่างที่พี่นักจิตวิทยาได้ให้ข้อมูลไว้นะครับ การมีเรื่องที่วิตกกังวลอยู่เยอะ มีเรื่องมากมายให้คิด และรู้สึกอึดอัดที่ต้องเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้คนเดียวจนทำให้คุณเกิดความคิด และความรู้สึกด้านลบขึ้นมาหลายๆอย่าง ตรงนี้เป็นพฤติกรรมหรือรูปแบบการคิดหนึ่งที่จะเป็นตัวทำให้เกิดภาวะเครียด และอาจจะนำไปสู่การมีภาวะโรคซึมเศร้าได้นะครับ ดังนั้นสิ่งที่อยากจะแนะนำ ก็คือการเข้าพบกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมิน เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นการทานยา หรือการเข้ารับคำปรึกษาได้ครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้อารมณ์เศร้าลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลานะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัดดีค่ะคือมีความรู้สึกอึดอัดมีเรื่องมากมายให้คิดไม่กล้าที่จะคุยกับใครชอบอยู่คนเดียวโทษตัวเองว่าเป็นภาระไม่มีใครรักเหนื่อท้อในบางครั้งที่รู้สึกเเย่ก็ได้เเต่ร้องไห้อยู่คนเดียวมีบ้างครั้งที่ทำร้ายตนเองบ้างเเละมีความคิดไม่อยากอยู่เเล้วเเต่ยังไม่ได้ทำนะค่ะเเค่คิดเเละไม่ค่อยอยากจะคุยกับใคร ขี้หงุดหงิดลำคาญทุกอย่างคิดว่าทำไมต้องยอมทุกอย่างเหนื่อย เเต่กลับเพื่อนคุยปกติค่ะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามั๊ยค่ะหรือว่าปกติระยะเวลาเป็มาเป็นปีเเล้วค่ะเเต่ในช่วงเเรกไม่คิดขนาดนี้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)