January 24, 2017 20:28
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
หลักการสำคัญในการชะลอการเสื่อมของไต ครับ รวมไปถึงเบาหวาน และเก๊า ครับ
1. ความดันโลหิต ควบคุมให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติ คือ ระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าความดันโลหิตสูงๆ ต่ำๆ ไม่คงที่ ส่งผลต่อไตอย่างมาก ทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ
2. การควบคุมระดับน้ำตาล เฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานและไตเริ่มเสื่อมจากเบาหวานควรต้องระวังระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันการทำลายไต รวมทั้งการทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และตา
3. การควบคุมอาหาร มีความจำเป็นต่อการชะลอการเสื่อมของไตอย่างมาก แบ่งเป็น
3.1 อาหารโปรตีน ในผู้ป่วยที่ไตมีการทำหน้าที่น้อยลง มีการคั่งของสารยูเรีย ไนโตรเจนและของเสียอื่นๆ จำเป็นต้องลดอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เพื่อไม่ให้ของเสียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูง คือ เนื้อปลา แต่ยังสามารถรับประทานอาหารประเภทเนื้อไก่ และเนื้อหมูได้เพียงแต่ลดลง รวมถึงโรคเก๊าด้วยครับ
3.2 อาหารเค็ม สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และอาหารบวม ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มทุกชนิด รวมทั้งอาหารหมักดอง ซอสต่างๆ ซุปก้อน ผงชูรส เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว น้ำปลา และอาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยวซึ่งจะมีเครื่องปรุงที่มีรสเค็ม ทำให้อาการบวมไม่ลดลงและควบคุมความดันโลหิตยาก
4.การออกกำลังกาย ผู้เป็นโรคไตสามารถออกกำลังกายได้ ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่รุนแรง และไม่เหนื่อยจนเกินไป เช่น การเดิน การบริหารร่างกายชนิดอยู่กับที่ ซึ่งการออกกำลังกายจะช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
Arpaporn Buakhao (พญ)
ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดลดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs เช่น ibuprofen, mefenamic acid, naproxen, piroxicam, meloxicam, diclofenac, celecoxib, etoricoxib เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงสมุนไพร (ทั้งในรูปแบบแคปซูล ยาน้ำ ชาชง) ยาแผนโบราณ ยาจีนต่างๆ เนื่องจากทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง หากความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวเพิ่ม ขาบวม หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตะคริว แขน-ขาชา ไม่มีแรง คันตามผิวหนัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ควรไปพบแพทย์
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคเกาต์ อาหารที่มีปริมาณพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก อาหารทะเลบางชนิด ปลาซาร์ดีน ปลาไส้ตัน กุ้ง ปลาอินทรีย์ หอยเชลล์ ไข่ปลา กะปิ น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ปลากระป๋องซาร์ดีนหรือแม็คโคเรล ผักยอดอ่อนบางประเภท เช่น กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน เบียร์ อาหารพวกนี้จะทำให้กรดยุริกเพิ่มขึ้น และจำทำให้มีอาการปวดข้อจากโรคเกาตได้ง่ายขึ้น ควรรับประทานยาขับกรดยุริกหากมีกรดยุริกสูง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
การดูแลคนป่วยที่เป็นโรคไต,เบาหวาว, โรคเกาต์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)