สมุนไพรไทย 4 ชนิด ที่ช่วยบรรเทาโรคความดันโลหิตสูง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สมุนไพรไทย 4 ชนิด ที่ช่วยบรรเทาโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ค่อนข้างอันตราย หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา เพราะอาจนำมาซึ่งโรคเส้นเลือดในสมองแตก อาจทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ การรักษาด้วยสมุนไพรต่างๆ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีมาก สมุนไพรไทย 4 ชนิด ที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง มีดังนี้

กระเจี๊ยบแดง (Roselle)

ส่วนที่นำมาใช้คือ ฐานรองกลีบดอก ซึ่งมีสารสีแดงกลุ่มแอนโทไซยานิน (anthocyanins) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่าการใช้กระเจี๊ยบแดงแห้ง ขนาด 2 -10 กรัมต่อวัน ต้มเป็นน้ำดื่ม หรือรับประทานในรูปของยาเม็ดกระเจี๊ยบแดง ขนาด 450 มิลลิกรัมต่อวัน (มีสารแอนโทไซยานินอย่างน้อย 250 มิลลิกรัม) สามารถลดความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว และช่วยขับปัสสาวะได้

กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิตด้วยกลไกการขับปัสสาวะ จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกระเจี๊ยบแดงร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นกัน เพราะจะทำให้ความดันลดต่ำเกินไป และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไตหรือมีความผิดปกติของไต 

ขึ้นฉ่าย (Celery)

ขึ้นฉ่าย เป็นสมุนไพรที่ชาวเอเชียนำมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตต่อเนื่องกันมายาวนานกว่า 2,000 ปี โดยชาวจีนและเวียดนามเชื่อว่าการรับประทานขึ้นฉ่ายวันละ 4 ต้น จะทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติ

การศึกษาวิจัยสารสกัดจากเมล็ดขึ้นฉ่ายกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าสารสกัดจากเมล็ดขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ในการลดความดันในผู้ร่วมทดลองและสัตว์ทดลองอย่างมีนัยสำคัญ

โดยนักวิจัยกล่าวว่าสารในขึ้นฉ่ายอาจลดความดันโลหิตด้วยการลดการสะสมของไขมันภายในหลอดเลือดและเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มะรุม (Moringa)

มะรุมเป็นผักที่มีประโยชน์มากสามารถกินได้แทบทุกส่วน ทั้ง ใบอ่อน ช่อ ฝักอ่อน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยในเรื่องลดความดันโลหิต แก้ท้องผูก บำรุงกำลัง และบำรุงสายตา

ในส่วนของฤทธิ์ลดความดันโลหิต งานวิจัยพบว่า สารสกัดในกลุ่ม glycosides ที่ได้จากมะรุมส่วนต่างๆ เช่น ใบ ผล ฝัก สามารถลดความดันในสัตว์ทดลองได้

อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยบางรายมีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น หลังจากที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย จึงควรระมัดระวังการรับประทานมะรุมไม่ให้มากเกินไป

ใบบัวบก (Gotu Kola)

การใช้บัวบกเพื่อลดความดันโลหิต มีใช้ในรูปแบบของยาตำรับที่มีใบบัวบกเป็นส่วนประกอบ 10 มิลลิกรัมต่อเม็ด มีสารสำคัญคือ สารกลุ่มไทรเทอพีนอยด์ (triterpenoid fraction)

โดยแนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รับประทานวันละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ามีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้

อย่างไรก็ตาม หากรับประทานในขนาดสูงเป็นเวลานานอาจพบความเป็นพิษต่อตับได้

นอกจากนี้ การใช้ร่วมกับยาลดความดันบางชนิด เช่น enalapril, amlodipine อาจทำให้ระดับยาในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากบัวบกยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการกำจัดยาดังกล่าวออกจากร่างกาย 

ไม่ควรใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (antiplatelet drug) เช่น aspirin และยาละลายลิ่มเลือด (anticoagulant) เช่น warfarin เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันจนเกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มักจะเป็นเรื้อรังและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในเบื้องต้น อาจลดความดันด้วยการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหารที่รับประทาน ร่วมกับการรับประทานสมุนไพรเหล่านี้ 

แต่หากรับประทานยาลดความดันโลหิตที่สั่งจ่ายโดยแพทย์อยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับประทานสมุนไพรเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,ถาม-ตอบ: สมุนไพรที่ช่วยลดความดันสูง (http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6671)
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,ถาม-ตอบ: กระเทียม ใบบัวบก กระเจี๊ยบ ช่วยลดความดัน (http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6323)
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,ถาม-ตอบ : ชากระเจี๊ยบและโรคความดันโลหิตสูง (http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6018)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)