March 13, 2017 16:27
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการปวดประจำเดือน ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ เกิดจากภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่มีรอบเดือน หากปวดไม่มากและหายเองได้หลังจากมีประจำเดือน 2 -3 วัน ถือเป็นอาการปกติค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
มีรายงานความสัมพันธ์ ระหว่างการมีประจำเดือน ว่า สัมพันธ์ กับ อาการปวดศีรษะ
โดยจะเป็นกลุ่มอาการต่าง ๆ หลายอย่าง
จาก นักวิจัยจุฬาฯ สำรวจกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในผู้หญิงไทย
พบว่า
กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome : PMS) เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์เป็นประจำ ในช่วงก่อนมีประจำเดือน โดยอาการจะดีขึ้นและหายไปเมื่อมีประจำเดือนได้ 2 - 3 วัน กลุ่มอาการหลักๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการทางกาย เช่น ปวดท้องน้อย ท้องอืด ปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีความรู้สึกอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว ฯลฯ และ
อาการทางจิตใจ เช่น มีอารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย หลงลืม ขาดความสนใจ ไม่มีสมาธิ ฯลฯ กลุ่มอาการเหล่านี้ จะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากจนไม่รู้สึก ไปจนถึงกลุ่มอาการโรคซึมเศร้าก่อนมี ประจำเดือน ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติด้านจิตใจ
อาการปวดศีรษะ ที่มีสาเหตุทางด้านร่างกาย (organic cause) มักเป็นสาเหตุส่วนน้อย
ส่วนใหญ่ เป็น สาเหตุที่มีต้นกำเนิดมาจากทางจิตใจ (psychological cause) และ อื่น ๆ จิปาถะ
จึงเหมือนกับว่า ไม่สามารถบอกสาเหตุ ได้ชัด ๆ ไม่อาจระบุได้ชัดเจน
ปวดศีรษะ ไม่ว่าจะมีลักษณะการปวดเป็นเช่นไร เช่น ปวดเป็นจุด ๆ ปวดบริเวณท้ายทอย หรือ บริเวณขมับ หรือ ปวดศีรษะข้างเดียว เป็นอาการ ที่มีคำถาม พบบ่อยมากที่สุดประการหนึ่ง และเป็นอาการที่นำมาพบแพทย์มากที่สุดอาการหนึ่ง
อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรง อันตราย เช่น เนื้องอกในสมอง ความดันในสมองสูงขึ้น แต่พบได้น้อยกว่า และมักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ลานประสาทตาแคบลงทำให้เดินชนสิ่งต่าง ๆ
แต่ที่พบบ่อยมากกว่า จะเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นเป็น หายหาย ไม่ว่าจะ ลักษณะการปวดเป็นเช่นไร เช่นปวดตุ้บ ๆ ปวดต้นคอ (ท้ายทอย) ปวดขมับ ปวดเบ้าตา ปวดศีรษะข้างเดียว เหล่านี้พบได้มากกว่า มากกว่า 80%
ถ้ามีอาการปวดตา หรืออาการเกี่ยวกับสายตาด้วย ควรตรวจสายตาว่า มี สายตาสั้น ยาว หรือเอียง หรือไม่
ถ้าใช้สายตาอ่านหนังสือหรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์ ก็ควรพักสายตาทุก ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ด้วยการมองไปไกล ๆ หรือ หลับตา
อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ซึ่งมักจะเป็นจากความเครียด หรือ วิตกกังวล ซึ่ง ถ้าเครียดมาก ๆ อาจมีอาการผะอืดผะอม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก(หายใจไม่อิ่ม) ใจสั่น หน้ามืด วูบได้
หรือจากพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่นนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท(ไม่ลึกพอ) นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนดึก เปลี่ยนเวลาทำงาน(กะ)จากกลางวันมาเป็นทำงานกลางคืน หรือทำงานไม่เป็นเวลา เปลี่ยนกะทำงานบ่อย
วิธีรักษาก็สามารถ กินยาแก้ปวดศีรษะที่ไม่อันตราย เช่นพาราเซตามอล ตามขนาด
และในระยะยาว ควรหาวิธีจัดการกับความเครียด ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การทำสมาธิ การทำไบโอฟีดแบค ฯลฯ
การออกกำลังกาย อย่างหนักพอเพียง ทำประจำสม่ำเสมอ ก็สามารถทำให้สุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น จัดการกับความเครียดได้ อาการปวดศีรษะก็จะดีขึ้น หรือหายไปได้
ถ้าใช้วิธีต่างๆแล้ว อาการปวดศีรษะไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุอย่างจริงจัง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีประจำเดือนทุกครั้งมีอาการปวดศรีษะร้าวบริเวณขมวดคิ้ววันแรกของทุกเดือนเป็นอาการปกติหรือเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคบางโรครึป่าวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)