"โรคสังคมก้มหน้า" โรคมาแรง เกิดมากในกลุ่มคนติดสมาร์ทโฟน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
"โรคสังคมก้มหน้า" โรคมาแรง เกิดมากในกลุ่มคนติดสมาร์ทโฟน

โรคสังคมก้มหน้า เป็นโรคสมัยใหม่ของคนยุคใหม่ ที่ไม่น่าเชื่อว่า จะทำให้เรามีสิทธิ์เสี่ยงตายได้ทุกเมื่อ เพราะการที่เราติดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ถึงจะให้ข้อดีในการทำให้เราตามทันโลก และโรคที่เป็นอันตรายชนิดอื่น แต่มีข้อเสียที่เมื่อเราติดมันมากเกินไป จะทำให้ระบบของชีวิตปั่นป่วน เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา ชนิดที่เรียกว่าคาดไม่ถึง โรคสังคมก้มหน้า จึงถือว่าเป็นโรคที่มาแรงและน่ากลัวในกลุ่มคนหนุ่มสาวทั้งวัยเรียน และวัยทำงานยิ่งนัก

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคสังคมก้มหน้า

เมื่อใดก็ตามที่เริ่มมีอาการวิตกกังวล, กระสับกระส่าย เพราะหาโทรศัพท์สมาร์ทโฟนไม่เจอ  หรือรู้สึกไม่ดีเมื่อเวลาแบตกำลังจะหมด รู้สึกปวดหัว และปวดคออย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกปวดตา หรือแสบตาเมื่อต้องเจอแสง นั่นหมายความว่ามีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคนี้แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1. Computer Vision Syndrome

Computer Vision Syndrome หรือ คนที่มีปัญหาสุขภาพ จากการก้มหน้ามองจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ตามมา เช่น ปวดตา ตาแห้ง ปวดศีรษะหรือคอมากผิดปกติ ซึ่งโรคนี้มีแนวโน้มของคนที่เป็นเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่า 50% ของคนไทยเริ่มมีอาการเหล่านี้แล้ว เมื่อปี 2549 ได้มีการสำรวจพบว่า คนไทยไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคนมีสายตาผิดปกติ และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ ที่ใช้สายตากันมากขึ้น จนทำให้มีอายุตาที่เกินกว่าอายุจริง และการจ้องจอคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมากขึ้นในการทำงาน หรือการหาข้อมูลในการเรียนต่าง ๆ โดยมักจะใช้กันทั้งวัน จนทำให้เนื้อตาต้องทำงานหนัก ซึ่งจะเพิ่มโอกาสทำให้สายตาเสีย ได้มากกว่า การอ่านหนังสือจากกระดาษปกติ และจอคอมยังมีแสงสีฟ้าที่ทำลายสายตาเราได้อย่างน่ากลัว  ทั้งนี้ได้มีการแนะนำจากแพทย์สายตาว่า เราควรใช้สาตาจ้องจอ แค่วันละ 3 ชม. เท่านั้นถึงจะปลอดภัย ถ้าปล่อยนาน ๆ เข้าก็จะเริ่มมีการเคืองตา, มองเห็นภาพเบลอ, แสบตา และสู้แสงไม่ได้ ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายบ่งบอกความรุนแรง ของอาการที่จะเพิ่มมากขึ้น

[caption id="" align="aligncenter" width="394"]Computer Vision Syndrome | Kershaw & Szabo Optometrists Computer Vision Syndrome[/caption]

 นอกจากนี้ ยังมีอาการของกลุ่มอื่นร่วมด้วย เช่น กลุ่มอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือ Myofascial pain syndrome ( MFS ) ที่ส่งผลต่อกระดูกต้นคอ ทำให้เกิดการรับน้ำหนักมากกว่าปกติถึง 6 เท่า จนทำให้กระดูกต้นคอเสื่อมสภาพก่อนวัย หรืออาจถึงขั้นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเลยก็ได้ ซึ่งจะมีอาการปวดคอ ปวดบ่า และลุกลามไปถึงปวดศีรษะ จนทำให้นอนไม่หลับ อาการปวดศีรษะก็มักจะเกิดตรงท้ายทอย, ขมับ, กระบอกตา, หน้าผาก รวมถึงกลางกระหม่อมได้ เมื่อปวดมาก ๆ ก็จะทำให้นอนหลับไม่สนิท ร่างกายก็จะพักผ่อนไม่เพียงพอ จนในที่สุดก็จะลุกลามไปหาโรคอื่นได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นไมเกรน ควรระวังให้มาก เพราะหน้าจอจะมีแสงสีฟ้า ที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ รวมไปถึงการปวดคอและศีรษะที่เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งไปกระตุ้นอาการของไมเกรน ให้เป็นบ่อยและหนักมากกว่าเดิม

วิธีการรักษาและฟื้นฟู

ควรทำตามที่แพทย์แนะนำ คือจ้องหน้าจอคอมไม่เกินวันละ 3 ชม. หรือต้องพักสายตา จากหน้าจออยู่เรื่อย ๆ กระพริบตาให้บ่อย 10 - 15 ครั้งต่อนาที เปลี่ยนตัวอักษรให้ใหญ่ เหมาะแก่การอ่านมากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และ แบล็คเคอร์แรนต์ เป็นต้น เพราะในผลไม้เหล่านี้มีวิตามินเอสูง ที่จะป้องกันอาการตาแห้ง ช่วยบำรุงสายตา และการมองเห็นได้ดี

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่นั้นยังมีสาร แอนโธไซยานิน ที่ช่วยลดความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา  ทำให้มองเห็นในเวลากลางคืนได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี นอกจากนี้ วิตามินอีก็สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ เพราะในวิตามินอีมีสาร ไบโอฟลาโวนอยด์ ที่ต้านอนุมูลอิสระ  และป้องกันไม่ให้สายตาถูกทำลายไปได้โดยง่าย และควรพักผ่อนให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไปเช็คสุขภาพ, ตรวจสายตาปีละครั้ง ซึ่งถ้าหากมีอาการผิดปกติ ก็จะได้รับการรักษาทันท่วงที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. No-Mobile-Phone

Should Mobile Phone use be prohibited whilst operating a Forklift ...

No Mobile Phone หรือ "โนโมโฟเบีย" เป็นโรคทางจิตเวช ที่หมายถึง "โรคกลัว" จะมีอาการกลัว และวิตกกังวลมากเกินกว่าคนปกติ สังเกตได้ง่าย ๆ คือ จะชอบเช็คโทรศัพท์อยู่บ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน เมื่อเวลาแบตฯ ใกล้หมดก็มีอาการกังวลแสดงออกมาเห็นได้ชัด หรือหงุดหงิดมากเมื่อแบตฯ หมดแล้วไม่สามารถหาที่ชาร์ตได้ ตลอดจนการที่ตอบข้อความต่าง ๆ ทันทีที่เมื่อมีเสียงเตือน โดยคนที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถขาดโทรศัพท์ได้เลย แม้แต่วินาทีเดียว  ถึงขั้นว่าถ้าเข้านอนก็ต้องเอาวางไว้ข้าง ๆ ตัวอยู่ตลอด และในบางรายอาจถึงขั้น มีอาการเครียดจัด, ตัวสั่น, อาเจียน และเหงื่อออกไม่หยุด เมื่อต้องห่างจากโทรศัพท์ ซึ่งโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กในวัยเรียนซะส่วนใหญ่ เพราะเด็กในกลุ่มนี้จะติดสังคม Social และเกมส์ต่าง ๆ ในสมาร์ทโฟนมาก โดยได้มีการสำรวจจากสำนักงานส่งเสริมสังคมเเห่งการเรียนรู้ เเละคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. ว่า 1 วันในชีวิตเด็กไทยนั้น 51% จะเช็คโทรศัพท์ทันทีหลังตื่นนอน และอีก 34% จะเล่นสังคม Social ก่อนนอนทุกคืน 

ซึ่งผลเสียจากการเป็นโรคนี้ ส่งผลในแง่ของการปรับตัวเข้าสู่สังคม เพราะผู้ที่เป็นจะเกิดอาการแปลกแยก โลกส่วนตัวสูง ไม่ใส่ใจผู้คนหรือสิ่งรอบข้าง และไม่มีความรับผิดชอบในสังคม ตลอดจนเกิดปัญหาการโดนหลอกลวง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมไปในที่สุด  

วิธีการรักษาและฟื้นฟู

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ โดยการตั้งใจที่จะไม่เล่นโทรศัพท์ และหาใครสักคนคุยด้วย เมื่อเวลาที่เรานึกอยากจะเล่นโทรศัพท์ขึ้นมา ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หากิจกรรมทำแทนการนั่งเล่นโทรศัพท์ เช่น ไปเที่ยว, เล่นกีฬาออกกำลัง, นังสมาธิทำให้ใจสงบ, นั่งคุยกับเพื่อนตามร้านกาแฟ หรือร้านอาหารที่ไปนั่งทานประจำ หรือแม้แต่การหาหนังสือดี ๆ สักเล่ม อ่านแทนการแชท ตลอดจนการปิดโทรศัพท์ทุกครั้งตอนนอน ซึ่งถ้าทำแล้วยังมีปัญหาการติดโทรศัพท์อยู่ ก็อาจจะต้องเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ "ระบบปกติ" แทนที่การใช้สมาร์ทโฟน เพื่อแก้อาการเบื้องต้น หรือถ้าอาการหนักขึ้น ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ผู้คนสะดวกสบายขึ้น แต่ผู้คนเองก็ต้องใช้อย่างมีสติ และระมัดระวัง ไม่งั้นเทคโนโลยีก็อาจหันกลับมาทำร้ายเราได้ เมื่อเราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาสู่ยุคใหม่ ก็ไม่ควรที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต และสังคมที่เราเคยอยู่ไปด้วย เพราะอย่างน้อยการมีสังคมยังทำให้เราได้ยิ้ม, ได้พูดคุย, ได้เข้าถึงกัน โดยไม่ต้องเสียสุขภาพกาย และสุขภาพจิตไป เพราะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวังและพอดี ก็น่าจะดีกับชีวิตของเราไม่น้อยเลยทีเดียว


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Obsessive love disorder: Symptoms and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327098)
Rapid infectious diseases diagnostics using Smartphones. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4583588/)
Ways Your Smartphone May Wreck Your Health. WebMD. (https://www.webmd.com/balance/ss/slideshow-smart-phone-health-problems)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป