September 18, 2019 10:32
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ปัญหาการขับถ่ายยากท้องผูกบ่อยๆนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- พฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสม
- พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
- มีปัญหาการบีบตัวของลำไส้
- มีความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมการขับถ่าย
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่ใช้
เป็นต้น
ถ้าหากมีปัญหาการขับถ่ายมานานแล้วหมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุของการขับถ่ายยากก่อน จึงจะให้การรักษาที่เหมาะสมกับสาเหตุได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาการของคนไข้เป็นค่อนข้างมาก มีท้องผูกจนต้องรับประทานยาให้ถ่ายออกมา และเป็นมานานมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์อายุรกรรม หรืออายุรกรรมทางเดินอาหาร เพื่อตรวจเพิ่มเติมครับ
โดยอาการท้องผูกนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การละเลย/ยับยั้งความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ การดื่มน้ำ และกินอาหารที่มีกากใยน้อย ริดสีดวง โรคลำไส้อักเสบ จากยาบางชนิด เป็นต้นครับ
อื่นๆ แนะนำให้ขับถ่ายเป็นเวลา โดยเวลาที่เหมาะสมจะเป็นหลังอาหาร และดีที่สุดหลังอาหารเช้าการรับประทานอาหาร ให้เพิ่มปริมาณเส้นใยในอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาการท้องผูกน่าจะดีบ้างขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอสอบถามครับ ผมเป็นคนที่ถ่ายยากมาก เป็นมานานหลายปีแล้ว บางทีก็2-3วันถ่ายทีนึง และที่ถ่ายออกมายังเป็นชิ้น เป็นใบอยู่ เหมือนกระเพาะไม่ได้ย่อย ทุกวันนี้บางทีผมต้องกินยาขับออก เพราะถ้าไม่กินผมก็ไม่ยอมถ่าย (เคยนั่งแช่ในห้องน้ำทุกเช้าก็ไม่ได้ผล ลองมาหลายวิธีแล้ว) มันเกิดจากอะไรครับ แล้วมีวิธีรักษาหรือหาสาเหตุของปัญหายังไง แล้วมีผลอย่างไรครับหมอ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)