January 26, 2017 12:14
ตอบโดย
กรรณิกา สารทิศ (พว.)
อาการท้องผูก คือกลุ่มอาการถ่ายอุจจาระยาก ถ่ายแข็งต้องออกแรงเบ่งมาก หรือนาน ๆ ถ่ายทีไม่บ่อยเหมือนเคย ท้องผูกเป็นปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่พบบ่อย สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ได้แก่ การขาดกากใยอาหารที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทผักผลไม้ กากใยเหล่านี้จะช่วยให้อุจจาระไม่เหนียวแข็งและถ่ายได้โดยง่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ ก่อให้เกิดโรคทางลำไส้อุดตัน หรือกลุ่มมะเร็งลำไส้ได้ค่ะ สำหรับการป้องกันอาการท้องผูกทำได้ไม่ยาก เพียงปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตด้วยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือธัญพืช ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ควรอั้นอุจจาระเมื่อร่างกายต้องการจะถ่าย ไม่ใช้ยาถ่ายพร่ำเพรื่อ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากปฏิบัติแล้ว อาการท้องผู้ไม่ดีขึ้น ให้สังเกตกลุ่มอาการอันตรายดังนี้ * เมื่อมีอาการท้องผูกมากกว่า 1-2 สัปดาห์ หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน แม้จะปรับเปลี่ยนอาหารแล้วก็ตาม * อุจจาระมีเลือดปน * มีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย * มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย * มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากพบอาการเหล่านี้ รีบไปปรึกษาแพทย์โรคทางเดินอาหารให้เร็วที่สุดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการท้องผูกบ่อยๆเสี่ยงกับการเป็นโรคอะไรบ้างค่ะ และคุณหมอมีคำแนะนำอย่างไรเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)