กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการท้องผูกในเด็ก

ความรู้พื้นฐานทางกุมารเวช
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการท้องผูกในเด็ก

อาการท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นเหตุของการไปพบกุมารแพทย์ถึง 3% แม้ว่าสาเหตุมักเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ แต่อาการท้องผูกการสามารถเกิดจากการได้รับเส้นใยอาหารไม่เพียงพอหรือกินอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้มาก (นมเต็มส่วน ชีส กล้วย และอื่นๆ) ยังมีสาเหตุทางการแพทย์บางอย่างอีกที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น โรค Hirschsprung

อาการท้องผูก

เด็กที่มีอาการท้องผูกมักมีอุจจาระแข็งเป็นก้อนใหญ่มากหรืออาจแข็งเหมือนลูกกระสุน ถ่ายอุจจาระไม่บ่อย และมีอาการเจ็บปวด นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการปวดบีบๆ ได้ขณะถ่ายอุจจาระด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวินิจฉัยอาการท้องผูก

เด็กมักถูกวินิจฉัยว่ามีอาการท้องผูกหลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างถี่ถ้วนแล้ว การตรวตเพิ่มเติมอื่นๆ มักไม่มีความจำเป็น โดยทั่วไปแล้ว อาการท้องผูกมีนิยามว่า "ขับถ่ายลำบาก เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้เกิดความลำบากแก่ผู้ป่วย" เตือนตัวเองไว้ว่าพ่อแม่มักไม่ทราบว่าลูกวัยอนุบาลถ่ายบ่อยแค่ไหน จึงมักทำให้วินิจฉัยอาการท้องผูกได้ล่าช้า ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเด็กที่มีอาการท้องผูกรุนแรงมาตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะหากเด็กไม่ถ่ายขี้เทา (meconium) จนกระทั่ง 2-3 วันหลังคลอด เด็กเหล่านี้อาจเป็นโรค Hirshsprung ได้

การรักษาอาการท้องผูก

การรักษาสำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกมีทั้งการทำให้อุจจาระนิ่มลงและการเปลี่ยนอาหารเด็กให้มีเส้นใยและน้ำมากขึ้น ซึ่งทำให้ท้องผูกได้น้อยกว่า ทางเลือกที่ดีของของเหลวคือน้ำแอปเปิ้ลและน้ำลูกพรุน และอาจเปลี่ยนนมเด็กเป็นนมไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลือง การอ่านฉลากโภชนาการจะทำให้คุณหาอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงได้

ควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอาการท้องผูก

สิ่งอื่นๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการท้องผูก รวมถึง

  • หากอุจจาระของลูกนิ่ม ลูกก็ไม่น่าจะมีอาการท้องผูก แม้ว่าจะไม่ได้ถ่ายทุกวันก็ตาม
  • เด็กบางคนที่มีอาการท้องผูกรุนแรงจะมีการอุดกั้นบางส่วนของลำไส้ ซึ่งบางครั้งจะมีอุจจาระที่ยังเหลวอยู่เล็ดออกมาได้ เรียกภาวะนี้ว่า encopresis
  • ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มในเด็กไม่เหมือนกับยาระบาย คือ ไม่ทำให้เกิดการติดและอาจให้ทุกวันได้หากมีความจำเป็น
  • ความผิดพลาดที่พ่อแม่ทำบ่อย คือ หยุดให้ยาเมื่ออุจจาระนิ่มลงแล้ว ซึ่งมีแต่จะทำให้เด็กกลับมามีอาการท้องผูกอีกครั้ง ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มมักจะใช้เป็นเวลา 4-6 เดือนและค่อยๆ ลดการใช้ลงเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดอาการท้องผูกอีก
  • Polyethylene glycol 3350 (Miralax) เป็นผงไม่มีกลิ่นไม่มีรส ใช้ผสมน้ำ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่จะกินได้ และกุมารแพทย์มักสั่งให้กับเด็กที่มีอาการท้องผูก
  • นอกเหนือจากการเปลี่ยนอาหารและการให้ยาทำให้อุจจาระ เด็กหลายคนที่มีอาการท้องผูกต้องใช้การระบายอุจจาระ
  • คุณไม่ควรให้ยาระบายหรือใช้การสวนอุจจาระเพื่อให้ลูกคุณถ่ายได้บ่อยๆ

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบทางเดินอาหารอาจให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่คุณได้หากลูกของคุณมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งรักษาได้ยาก


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)