เชื้อ Campylobacter เป็นกลุ่มของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ผ่านทางอาหาร การติดเชื้อ Campylobacter มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ปีกดิบหรือปรุงไม่สุก หรือเกิดการปนเปื้อนเชื้อในขั้นตอนเตรียมอาหาร เช่น การรับประทานผักที่หั่นบนเขียงเดียวกับเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ Campylobacter ที่ไม่ได้ล้าง เป็นต้น รวมถึงการบริโภคนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ และการดื่มน้ำที่ปนเปื้อน
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค CDC กล่าวว่า ในแต่ละปีภายในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อ Campylobacter ประมาณ 1.3 ล้านคน และมีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 13,000 ราย และเสียชีวิต 120 ราย เชื้อสายพันธุ์นี้ยังสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ที่ว่ายน้ำในน้ำที่ปนเปื้อนได้ด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เชื้อ Campylobacter jejuni เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ แต่สายพันธุ์อื่น เช่น C. fetus และ C. Coli ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้บ่อยเช่นกัน
อาการของการติดเชื้อ Campylobacter
บางคนที่มีการติดเชื้อชนิดนี้อาจไม่มีอาการใดๆ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการ มักจะมีอาการเป็นเวลาประมาณ 2-5 วัน หรืออาจนานถึง 10 วันได้
อาการของการติดเชื้อ Campylobacter ที่สามารถพบได้ มีดังนี้
ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อชนิดนี้อาจเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ และกลุ่มอาการ Guillain-Barre syndrome (GBS) ได้ แต่ก็พบได้น้อย โดยกลุ่มอาการ GBS นี้เป็นภาวะที่ทำให้เป็นอัมพาตอย่างฉับพลันที่แขนและขาเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ และมักเริ่มเกิดขึ้นหลังจากที่รักษาการติดเชื้อ Campylobacter จนหายดีแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์
กรมควบคุมโรค (CDC) มีการรายงานว่าพบผู้ป่วยกลุ่มอาการ GBS ที่เกิดจากการติดเชื้อ Campylobacter ในอัตรา 1 ใน 1000 และคาดว่า 40% ของผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มอาการ GBS อาจเกิดจากการติดเชื้อ Campylobacter
การรักษาการติดเชื้อ Campylobacter
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ส่วนมากมักหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาใดๆ นอกจากการให้สารน้ำที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยป้องกันการขาดน้ำจากอาการท้องเสียและอาเจียน โดยแนะนำให้รับประทานน้ำ 8-10 แก้วทุกวันหรืออย่างน้อย 1 แก้วหลังจากการถ่ายเหลว นอกจากนี้การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อตลอดทั้งวันแทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ ก็อาจจะช่วยได้เช่นกัน โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็มและมีธาตุโพแทสเซียมสูง
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Campylobacter จะจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะหากเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงและผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรคหรือจากการใช้ยา เป็นต้น โดยในการรักษานั้นจะใช้ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) หรือยาในกลุ่มฟลูโรควิโนโลน (Fluroquinolone) เช่น ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)
การดื้อยาของเชื้อ Campylobacter
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค CDC พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของการดื้อยาของเชื้อ Campylobacter ต่อยา Azithromycin และยา Ciprofloxacin เพิ่มขึ้น ทำให้ยาดังกล่าวไม่สามารถใช้รักษาให้หายได้ โดยจากการทดสอบในกุ่มตัวอย่าง พบว่าประมาณ 23% ของผู้ที่มีการติดเชื้อมีการดื้อยา Ciprofloxacin และประมาณ 2% ที่ดื้อต่อยา Azithromycin ดังนั้นในการรักษาการติดเชื้อขั้นรุนแรงจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบเชื้อก่อโรคก่อนด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าควรใช้ยายาชนิดใดในการรักษา
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ