March 09, 2017 21:24
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ภาวะปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย กระปริบ(ปริด)กระปรอย
โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะปัสสาวะประมาณ 3-5 ครั้ง ในตอนกลางวัน และนับจากช่วงเย็นไป ก็จะปัสสาวะราว ๆ 1-2 ครั้งในตอนกลางคืน แต่หากช่วงความถี่ของการลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งกว่าที่กล่าวไป ถ้าไม่นับว่าดื่มน้ำมากเกินปกติ อาการปวดปัสสาวะบ่อย ๆ อาจส่อถึงปัญหาสุขภาพว่ามีอาการหรือโรคดังต่อไปนี้ซ่อนอยู่ก็ได้
1. ขนาดกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าปกติ
โดยปกติแล้วกระเพาะปัสสาวะจะเก็บน้ำได้ราว ๆ 300-500 cc จึงจะรู้สึกปวดถ่าย ทว่าในบางคนอาจมีขนาดกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่านั้น ซึ่งอาจกักเก็บน้ำได้น้อยกว่า 300 cc ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าคนอื่นได้
ทว่าปัญหานี้ก็ไม่น่ากังวลในด้านสุขภาพสักเท่าไร เพียงแต่อาจก่อความรู้สึกรำคาญให้บ้างเท่านั้น และ Betsy A. B. Greenleaf นักนรีเวชทางเดินปัสสาวะ จากรัฐนิว เจอร์ซี อเมริกา ยังได้แนะนำวิธีฝึกเพื่อรักษาอาการปัสสาวะบ่อยในคนที่มีกระเพาะปัสสาวะขนาดเล็กมาดังนี้
- ปัสสาวะทุก ๆ 30 นาที ไม่ว่าจะรู้สึกปวดหรือไม่ปวดก็ตาม ทำอย่างนี้ไปประมาณ 1-2 วัน
- วันต่อมาให้ยืดเวลาในการไปเข้าห้องน้ำให้เป็น 45 นาที ทำติดต่อกัน 2 วัน
- จากนั้นก็ยืดเวลาเข้าไปอีก 15 นาทีเรื่อย ๆ จนกว่าจะปัสสาวะไม่เกิน 8 ครั้งต่อวันได้
2. ตั้งครรภ์
ปัสสาวะบ่อย กับการตั้งครรภ์มีเหตุผลที่รองรับกันอยู่ โดยระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ จะไปทำให้ไตขยายตัวขึ้นประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่งผลให้มดลูกและกระเพาะปัสสาวะขยายตัวออก เป็นสาเหตุทำให้เกิดความรู้สึกแน่นท้อง และทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกตินั่นเอง
3. ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรือมีนิ่วในไต
การมีสิ่งที่ก่อความระคายเคืองหรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในปัสสาวะอาจทำให้รู้สึกอยากฉี่บ่อยครั้งขึ้น โดยหากมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยร่วมกับรู้สึกเจ็บหลังหรือบริเวณสีข้างอาจเป็นเพราะนิ่วในไต
ส่วนในกรณีที่รู้สึกปวดปัสสาวะมาก ๆ ปวดแบบแทบกลั้นไม่อยู่ แต่ฉี่ได้ครั้งละไม่มาก แบบนี้อาจส่อถึงอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
4. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรา โดยเชื้อชนิดนี้จะเข้าไปทางท่อปัสสาวะ จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมากนั่นเอง
โดยสังเกตได้ง่าย ๆ สำหรับรายที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะมีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดปัสสาวะบ่อย แต่รู้สึกปัสสาวะออกไม่สุด มักปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ บางคนอาจปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะด้วย
5. โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
ภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ทำให้ให้รู้สึกปวดฉี่บ่อยกว่าปกติ บางคนปวดปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็มี และหากอยู่ในที่เย็น ๆ จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดมากชนิดที่ต้องเข้าห้องน้ำอย่างเร่งด่วน บางครั้งอาจมีปัสสาวะเล็ด หรืออาจมีอาการเจ็บท้องน้อยร่วมด้วย อาการจะคล้าย ๆ กับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบธรรมดา แต่จะเป็นค่อนข้างเรื้อรังเป็นเวลานาน
6. ยาบางชนิด
ยาชนิดน้ำหรือยาในกลุ่มขับปัสสาวะ รวมทั้งยาในกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก เช่น ยากลุ่มประสาท และยาคลายเครียด อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ ได้ ดังนั้นหากรับประทานยาเหล่านี้อยู่ก็ไม่ต้องกังวลกับการปวดปัสสาวะ และลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ
7. โรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้ไตทำงานหนักและอาจขับน้ำตาลส่วนเกินนั้นมาที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งก็ส่งผลให้รู้สึกปวดฉี่บ่อย ๆ ได้ หรือบางรายที่เป็นโรคเบาหวานและเกิดอาการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย อาการปัสสาวะบ่อยมากก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งทางที่ดีลองไปตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจะชัดเจนกว่า
8. ความเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
โดยมากมักจะเกิดกับผู้สูงอายุหรือวัยกลางคนที่ทำงานหนัก ๆ ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมประสิทธิภาพ ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดรัดตัว และยังส่งผลให้ความยืดหยุ่นของกระเพาะปัสสาวะเสียไป จึงรู้สึกปวดถ่ายปัสสาวะบ่อย และมักจะมีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ
9. ไตเสื่อม
ปัสสาวะบ่อย ๆ อาจเกิดจากภาวะไตเสื่อมก็เป็นได้ เนื่องจากหากไตทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ระบบคัดกรองเสื่อมประสิทธิภาพลง น้ำในร่างกายอาจตกหล่นมาที่กระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกปวดฉี่บ่อย
10. ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
พบบ่อยที่สุดคือโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งอาจไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองจนต้องขับปัสสาวะออกมาถี่กว่าเดิม แต่ปริมาณปัสสาวะจะออกแบบกะปริบกะปรอย
11. โรคหลอดเลือดสมอง(อัมพฤกษ์, อัมพาต) และโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
จากปัญหาสุขภาพในส่วนนี้อาจทำให้ระบบประสาทในส่วนที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลงด้วย ซึ่งก็แน่นอนว่าอาจทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ๆ หรือบางรายอาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้เลย
12. อ้วนเกินไปแล้ว
น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะเพิ่มแรงดันให้กระเพาะปัสสาวะมากขึ้นไปด้วย จุดนี้จึงทำให้คนที่มีน้ำหนักเกินปวดฉี่บ่อยกว่าคนที่มีรูปร่างดี
13. เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ
เนื้องอกชนิดนี้อาจเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ร้ายก็ได้ ทว่ามักพบมากกับเพศชายที่สูบบุหรี่ โดยเนื้องอกจะเข้าไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น รวมทั้งอาจมีอาการปัสสาวะติดขัด มีเลือดปนมากับปัสสาวะได้ ซึ่งการวินิจฉัยต้องส่องกล้องเข้าไปดู
ทว่าอัตราการเกิดเนื้อร้ายหรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะยังค่อนข้างพบได้น้อยอยู่
นอกจากน้ำดื่มแล้วยังมีอาหารชนิดอื่น ๆ อีกไม่น้อยที่ทำให้รู้สึกปวดฉี่บ่อยผิดปกติได้
อย่างไรก็ตาม อาการปวดปัสสาวะบ่อยอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งควรต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจหาสาเหตุ
ดังนั้นหากรู้สึกได้ว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยเกินไป ก็ควรรีบไปพบแพทย์ อย่าปล่อยไว้เลยดีกว่า รวมทั้งควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายของตัวเอง และรักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปัสสาวะให้ดีด้วย
ข้อมูลจาก
Prevention
WebMD
Health.com
https://health.kapook.com/view2138.html
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
จากประวัติที่เล่ามากรณีของคุณน่าจะเข้าได้กับ การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง (stress urinary incontinence)
โดยผู้ป่วยจะมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เกิดตามหลังการเพิ่มขึ้นของแรงดันในช่องท้องเช่น ไอ จาม หัวเราะ เบ่ง หรือเปลี่ยนท่าทางเป็นต้น
โดยสาเหตุนั้นมีหลายทฤษฎี ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่าเกิดจาก หูรูดท่อปัสสาวะทำงานไม่สมบูรณ์ (urethral sphincter) ไม่มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ หรือเกิดจากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscles)
สามารถเกิดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง (พบในผู้หญิงมากกว่า) การคลอดบุตร หรือในวัยหมดประจำเดือน หรือในคนที่ได้รับการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น การทำ radical prostatectomy
การรักษา มี 3 แนวทางคือ การดูแลทั่วไป การรักษาด้วยยา และการรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาทั่วไปได้แก่
-การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต(life style modifications) โดยการดื่มน้ำแต่พอดี ลดการบริโภคชา-กาแฟ ทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงสุรา-บุหรี่
-pelvic floor muscle exercise เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อหูรูดส่วนนอกและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เหมาะกับรายที่เป็นไม่มาก สามารถทำได้โดย ฝึกขมิบ-คลาย กล้ามเนื้อหูรูด วันละหลายรอบ นาน3-6 เดือนเป็นอย่างน้อย
การรักษาโดยการใช้ยา
-Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดกระชับขึ้น มีผลที่สมองช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้น
-Topical estrogen ใช้ทาบริเวณช่องคลอดและปากรูเปิดท่อปัสสาวะ ห้ามใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งปากมดลูก
การรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีสุดท้ายแนะนำควรเข้าพบแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปัสสวะปิบบ่อยเป็นเพราะอะไร เวลาจามก็ปิบ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)