อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัญหาที่ผู้หญิงหลายล้านคนกำลังเผชิญ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัญหาที่ผู้หญิงหลายล้านคนกำลังเผชิญ

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) หรือ ภาวะปัสสาวะเล็ด คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียการควบคุมของกระเพาะปัสสาวะและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ปัจจุบันผู้หญิงหลายล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหานี้ ซึ่งสร้างความลำบากและความอับอายในชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

อาการของโรค

ผู้ที่อยู่ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ทันเวลาเมื่อต้องเข้าห้องน้ำ น้ำปัสสาวะมักจะซึมหรือเล็ดออกมาในระหว่างการไอ ขำ หรือวิ่ง บางครั้งน้ำปัสสาวะอาจไหลออกมาระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุ

สาเหตุหลักของการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้น มาจากกล้ามเนื้อภายในและรอบๆกระเพาะปัสสาวะที่ทำงานผิดพลาด

กระเพาะปัสสาวะนอกจากจะมีหน้าที่เก็บกักปัสสาวะแล้ว ยังมีหน้าที่ขับถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกายอีกด้วย การขับถ่ายปัสสาวะนี้เกิดขึ้นได้จากการที่ผนังกล้ามเนื้อภายในกระเพาะปัสสาวะบีบตัวเพื่อไล่ของเหลวออก ในขณะที่กล้ามเนื้อหูรูดที่ท่อปัสสาวะก็ควบคุมการไหลผ่านของของเหลว

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวกระทันหัน หรือเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรงพอที่จะบีบตัว เพื่อปิดไม่ให้น้ำปัสสาวะไหลผ่านท่อปัสสาวะ

การที่กล้ามเนื้อทั้งสองส่วนนี้ทำงานผิดพลาดมักเกิดจาก 9 สาเหตุหลักดังนี้

  1. การตั้งครรภ์: ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์มักมีปัญหาการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ เพราะเด็กที่อยู่ในครรภ์จะดันกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะให้บีบตัว ผู้หญิงท้องจึงรู้สึกอยากขับปัสสาวะบ่อยหรือมีน้ำปัสสาวะเล็ดเป็นประจำ
  2. การคลอดบุตร: ผู้หญิงมักจะอยู่ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หลังจากการคลอดบุตรภายใน 6 เดือน เพราะการคลอดบุตรทำให้อุ้งเชิงกรานและเส้นประสาทรอบๆกระเพาะปัสสาวะอ่อนตัวได้
  3. การหมดประจำเดือน: ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำอธิบายไว้ว่าเนื้อเยื่อที่ท่อปัสสาวะรวมไปถึงอุ้งเชิงกรานจะไม่แข็งแรงหรือสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน
  4. อาการท้องผูก: การที่มีาการท้องผูกเป็นเวลานาน เช่น ท้องผูกเรื้อรัง อาจทำให้การควบคุมการขับถ่ายของท่อปัสสาวะไม่มีประสิทธิภาพได้
  5. ยาบางชนิด: การรับประทานยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อกระเพาะปัสสาวะได้ เช่นยากลุ่มไดยูเรทิคส์ (diuretics) ที่ใช้ในการขับปัสสาวะ ใช้รักษาโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการรับประทานฮอร์โมนทดแทนก็อาจส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติได้เช่นกัน
  6. การติดเชื้อ: การติดเชื้อของกระเพาะหรือท่อปัสสาวะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติและอาจเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้เช่นกัน
  7. เส้นประสาทถูกทำลาย: การรู้สึกปวดปัสสาวะนั้นเป็นไปโดยธรรมชาติเมื่อกระเพาะปัสสาวะมีของเหลวมากจนต้องขับออก แต่หากเส้นประสาททำงานผิดพลาด ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกปวดปัสสาวะในขณะที่กระเพาะปัสสาวะเริ่มบีบตัวเพื่อขับของเหลวออก หรือเส้นประสาทไม่สั่งการให้กล้ามเนื้อหูรูดบีบตัวได้ทันเวลา ทำให้น้ำปัสสาวะเล็ดออกมาจากกระเพาะปัสสาวะได้
  8. น้ำหนักเกิน: ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือมีไขมันส่วนเกินมากมักรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย เพราะไขมันส่วนเกิน (โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย) จะเพิ่มแรงกดทับลงบนกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการบีบตัวให้น้ำปัสสาวะรั่วไหลออกมาได้
  9. คาเฟอีน: การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่มาก เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม จะทำให้กระเพาะปัสสาวะผลิตน้ำปัสสาวะออกมามากเพื่อขับสารคาเฟอีนนี้ออกจากร่างกาย

เมื่อทราบถึงลักษณะอาการแล้ว และถ้าคิดว่าตนนั้นเข้าข่ายอยู่ในภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และหาวิธีการบำบัดรักษา บางครั้งภาวะนี้อาจหายไปเองเมื่อผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันเล็กน้อย (หากเป็นในขั้นที่ไม่รุนแรง) แต่ในกรณีที่รุนแรงมาก แพทย์มักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษา


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urinary Incontinence in Women Symptoms, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/urinary_incontinence_in_women/article.htm)
What Wet Dreams During Sleep Mean to Sexual Health. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-a-wet-dream-and-what-does-it-mean-3015090)
The Facts About Wet Dreams. WebMD Teen Health Center. (https://teens.webmd.com/boys/wet-dream-faq#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป