กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ปัสสาวะแล้วเจ็บ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

ปัสสาวะแล้วปวดท้องน้อย อันตรายไหม อ่านเลย
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัสสาวะแล้วเจ็บ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การขับปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บอาจเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะได้ เช่น เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • การขับปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บสามารถเป็นสัญญาณของโรคหลายๆ อย่างเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ได้ เช่น โรคฮันนีมูน โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม
  • วิธีป้องกันโรคที่ทำให้รู้สึกเจ็บขณะปัสสาวะสามารถทำได้ไม่ยาก โดยหลักๆ คือ ปล่อยให้ระบบการปัสสาวะทำงานอย่างคล่องตัว และทำให้อวัยวะเพศสะอาด ปราศจากเชื้อโรคอยู่เสมอ เช่น ดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงทำความสะอาดอวัยวะเพศ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ้กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การขับปัสสาวะ เป็นการขับของเสียออกจากร่างกายอย่างหนึ่ง โดยมีไตเป็นตัวกรองเลือด จนได้น้ำปัสสาวะออกมาพักที่กระเพาะปัสสาวะ ปกติคนเราจะต้องปัสสาวะวันละ 4 – 8 ครั้ง สีของปัสสาวะจะต้องไม่ขุ่นหรือเหลือง และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

แต่หากมีอาการปัสสาวะบ่อยหลายครั้งจนผิดปกติ และครั้งละปริมาณน้อยๆ เหมือนจะไม่หมด มีอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะแล้วปวดท้องน้อย บางครั้งก็มีเลือดปนออกมา สีขุ่น รู้สึกเจ็บแสบ อาจมีไข้ร่วมด้วย 

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรากำลังเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะแล้วปวดท้องน้อย มีอะไรบ้าง?

1. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเกิดจากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อโรคอีโคไล (E. coli

โรคนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่ก็มักจะพบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงมีลักษณะเปิดและสั้น อีกทั้งยังอยู่ใกล้ทวารหนัก แต่ผู้ชายจะมีลักษณะยาว และห่างจากทวารหนักมากกว่า 

ดังนั้นผู้หญิงจึงสามารถนำเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจนอักเสบ มีอาการปัสสาวะขัด รวมถึงยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะไตรเมโธพริม (Trimethoprim) เป็นเวลา 3 วัน และให้ดื่มน้ำมากๆ 

2. โรคฮันนีมูน

เป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้หญิง จากการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งในระยะเวลาอันสั้นติดต่อกัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่คู่บ่าวสาวไปฮันนีมูนกันนั่นเอง จึงทำให้เกิดบาดแผลหรือรอยถลอกที่นำไปสู่การอักเสบบริเวณท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงบริเวณช่องคลอดด้วย 

แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้บ้าง เช่น การดื่มน้ำน้อย การรักษาด้วยการฉายแสง เพื่อรักษาบริเวณอวัยวะเพศ หรือกระเพาะปัสสาวะมาก่อน 

ทางที่ดีก่อนที่จะเข้าพิธีแต่งงาน หรือเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่อย่างเป็นทางการ คุณ และคู่รักควรไปเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อที่จะได้ทราบถึงความพร้อมของร่างกาย และรับคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ และการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมในช่วงชีวิตคู่ข้าวใหม่ปลามัน

3. นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ผู้ป่วยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะมักจะมีอาการเจ็บแสบ ปัสสาวะขัดขณะขับปัสสาวะ หรือปวดปัสสาวะบ่อยแต่ไม่ค่อยออก ซึ่งอาจพบก้อนนิ่วขนาดเล็กๆ หลายก้อนจนถึงก้อนที่มีขนาดใหญ่ อาจจะแข็งมากหรือน้อยก็ได้ 

มีสาเหตุมาจากปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเรื้อรัง หรือเกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะนานๆ และบางครั้งก็เป็นก้อนนิ่วที่เกิดจากไตแล้วตกมาอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะก็ได้

4. โรคหนองในแท้

มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ “ไนซ์ซีเรีย โกร์โนเรีย (Neisseria gonorrheae)” เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้ชายมักจะมีอาการเจ็บแสบ ปัสสาวะขัด และกลายเป็นท่อปัสสาวะอักเสบ จนกระทั่งมีหนองไหลออกมา และถ้าต่อมลูกหมากอักเสบ อาจทำให้เป็นหมันได้ 

ส่วนผู้หญิงมักจะไม่ค่อยมีอาการ แต่บางคนก็อาจมีตกขาวเป็นสีเหลือง เวลาปัสสาวะจะรู้สึกเจ็บแสบได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจกลายเป็นท่อนำไข่ตีบตันแล้วเป็นหมันในที่สุด

5. โรคหนองในเทียม

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ “คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis)” โดยผู้ชายมักจะมีอาการแสบ หรือปัสสาวะขัดขณะขับปัสสาวะ มีหนองไหลออกจากอวัยวะเพศ แต่ต่างกันตรงที่หนองมีลักษณะขาวใส สำหรับผู้หญิงจะมีอาการ และผลกระทบที่เหมือนกับหนองในแท้ทุกประการ

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บขณะปัสสาวะ 

  • ควรดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพื่อที่จะได้ช่วยขับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่างๆ ออกมาจากร่างกาย 
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนานๆ 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา และกาแฟ เพราะมีผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะได้ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ 
  • หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถท่านั่งอยู่บ่อยๆ  
  • ช่วงเวลากลางคืนผู้สูงอายุไม่ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการนอนหลับแล้วไม่ลุกขึ้นมาปัสสาวะ
  • การทำความสะอาดอวัยวะเพศโดยเฉพาะผู้หญิง จะต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธีด้วยการเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลังเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากทวารหนักติดมาด้านหน้าที่ช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ 
  • ไม่ควรสวนล้างอวัยวะภายใน เพราะจะเป็นการทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย รวมถึงไม่ควรใช้สเปรย์ระงับกลิ่นที่บริเวณอวัยวะเพศด้วย
  • หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ ให้ปัสสาวะออก และทำความสะอาดอวัยวะเพศทันที 
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่จะติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรงและไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ 
  • การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี 
  • ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนที่มีการติดเชื้อซ้ำๆ อาจจะต้องใช้ยาปรับฮอร์โมนเฉพาะที่เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ
  • ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูปจนเกินไป เพื่อป้องกันการอับชื้นกลายเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรคได้

จะเห็นได้ว่า นอกจากโรคระบบทางเดินปัสสาวะที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บแสบ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะแล้วปวดท้องน้อย บ้างก็มีเลือดออกร่วมด้วย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างก็ทำให้มีอาการใกล้เคียงกันได้ 

ดังนั้นการดูแลสุขอนามัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ และถ้าหากมีอาการเกิดขึ้นแล้ว แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจจะได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรค และยากต่อการรักษาให้หายขาดได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม