กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง

ปัสสาวะบ่อยแม้จะไม่ส่งผลอันตรายทันที แต่ก็รบกวนการชีวิตประจำวันไม่น้อย เกิดจากอะไรบ้างนั้น อ่านได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 27 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 23 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คนทั่วไปจะปัสสาวะประมาณ 4-10 ครั้งต่อวัน ขึ้นอยู่กับอายุ ปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน ขนาดกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงยารักษาโรคที่กำลังรับประทานอยู่ในขณะนั้น
  • ปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ โรคเบาหวาน ฯลฯ
  • เป็นเรื่องปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่จะปัสสาวะบ่อย นื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นประกอบกับมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกมาร่วมด้วย ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือปวดปัสสาวะบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบแพทย์ทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย 

การ “ปัสสาวะบ่อย” จนเกินไป ไม่ว่าจะปริมาณมาก หรือน้อย ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ และหากคุณมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วย อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะก็ได้

คนปกติปัสสาวะวันละกี่ครั้ง

ปกติแล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดีจะปัสสาวะประมาณ 4-10 ครั้งต่อวัน หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7 ครั้งต่อวัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณของปัสสาวะในแต่ละครั้งจะมาก หรือน้อย ไม่ใช่สิ่งที่บอกได้ว่า ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติหรือเปล่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เนื่องจากความถี่และปริมาณของการปัสสาวะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น

  • อายุ
  • ปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวัน
  • เครื่องดื่มที่ดื่มในขณะนั้น เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม
  • ยารักษาโรคที่กำลังรับประทาน เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน หรือยาขับปัสสาวะ
  • ขนาดของกระเพาะปัสสาวะเล็กกว่าปกติ

ภาวะ หรือโรคที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะบ่อย

1. โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน

อาการปัสสาวะบ่อยนี้เกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ผู้ป่วยบางรายรู้สึกปวดปัสสาวะ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง และถ้าอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นจะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการปัสสาวะเล็ด หรือเจ็บท้องน้อย อีกด้วย

2. ความเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

อาการนี้มักเกิดขึ้นกับวัยกลางคนที่ทำงานหนักและผู้สูงอายุ ทำให้ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลง กระเพาะปัสสาวะมีการหดรัดตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น 

ส่งผลให้ปวดปัสสาวะบ่อยและมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาที่ไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกายนานๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองแล้วรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการเจ็บหลังหรือตรงสีข้างซึ่งเกิดจากโรคนิ่วในไต 

4. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อาศัยอยู่ในลำไส้ แต่เมื่อเชื้อชนิดนี้เข้าไปในท่อปัสสาวะจะก่อให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

เราสามารถสังเกตได้จากอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะแสบขัด และมีอาการปวดท้องน้อยขณะปัสสาวะ

5. เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เกิดขึ้นมากกับผู้ชายที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ เนื้องอกนี้อาจจะเป็นเนื้องอกปกติ หรือเนื้อร้ายก็ได้ โดยเนื้องอกจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะติดขัด และมีเลือดปนออกออกมากับปัสสาวะ

6. โรคไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะแรกมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน แต่จะมีอาการเมื่อเป็นมากแล้ว โดยผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นในช่วงแรก 

หากคุณเป็นหนึ่งที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต เช่น ชอบรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งรสเค็ม มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก มีความเครียดสูง การเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตอาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

7. โรคเบาหวาน

เมื่อเรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น และมีการขับน้ำตาลส่วนเกินออกมาทางกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจมีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยนั่นเอง

8. โรคต่อมลูกหมากโต

อาการต่อมลูกหมากโตจะทำให้กล้ามเนื้อของปัสสาวะบีบตัวอย่างแรง เพื่อให้สามารถขับน้ำปัสสาวะผ่านท่อแคบๆ ที่ต่อมลูกหมากเบียดอยู่ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะขัด แล้วทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจนเก็บน้ำในกระเพาะปัสสาวะได้ลดลง

9. โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท

เมื่อระบบประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลง จะส่งผลต่อการควบคุมระบบขับถ่ายโดยตรง และทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ยารักษาโรคบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยได้

ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาขับปัสสวะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องปกติของการรับประทานยากลุ่มนี้

เป็นเรื่องปกติที่หญิงตั้งครรภ์จะปัสสาวะบ่อย

เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ร่วมกับมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รู้สึกแน่นท้องและปวดปัสสาวะบ่อย

อาการปัสสาวะบ่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่า ในแต่ละวันมีอาการปัสสาวะบ่อยมากน้อยเพียงใด หรือมีอาการปวดปัสสาวะจนไม่สามารถกลั้นได้หรือไม่ 

หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cleveland Clinic medical professional, Urination: Frequent Urination (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15533-urination--frequent-urination), 9 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม