August 01, 2019 20:36
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ครับ
การักษาโรคซึมเศร้านั้นจะสามารถทำได้โดยการรับประทานยาเพื่อช่วยปรับการทำงานของสารเคมีในสมองใหม่ โดยที่จะต้องมีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 6-9 เดือน ร่วมกับอาจใช้การทำจิตบำบัดร่วมด้วยในบางคนครับ
หมอแนะนำว่าถ้าหากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า ในเบื้องต้นนั้นก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันสาเหตุให้แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
ควรพบจิตแพทย์และตรวจติดตามการรักษาเป็นประจำครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
แนะนำเพิ่มเติมเรื่องซึมเศร้าครับ อยากให้หาเวลาออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค, ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, ระบายผ่อนคลายความเครียดบ้าง เช่น ร้องไห้ ตะโกน เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ จะทำให้ลดความเครียด ความกังวลได้ครับ และสุดท้ายคือ มองโลกในแง่ดี คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ครับ ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้ แต่ดีที่สุด คือตรวจติดตามรักษากับจิตแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
หากได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า วิธีการรักษาทางการแพทย์ก็จะเป็นเรื่องของการทานยาต้านซึมเศร้า หรือการรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อช่วยในเรื่องของการเยียวยาจิตใจ อารมณ์ และปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่จะส่งผลต่ออารมณ์เศร้าของเราที่เกิดขึ้น ซึ่งการหาจุดร่วมที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการทานยา หรือการรับคำปรึกษาเป็นสิ่งที่คุณอาจจะต้องทำงานร่วมกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาในการหาสูตรที่ลงตัวกับคุณครับ
นอกจากการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเบื่อหน่ายหรือความเศร้าลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอืนๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การรับรู้ ความคิด การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม หากเจอปัญหาหรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 7 ข้อ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิดง่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ทันที ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมความคิดอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม ร่วมกับการทำจิตบำบัด จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจทำให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
พึ่งรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้ามีวิธีรักษายังไงค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)