March 29, 2017 11:52
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
การควบคุมอาหาร
อาหารที่เรารับประทานส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเมื่อถูกย่อยก็จะได้น้ำตาลกลูโคส ดังนั้น ในการควบคุมระดับน้ำตาลจึงต้องรู้จักการเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักและเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ดี และ ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ซึ่งดูดซึมง่าย
การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ก็มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นได้มากในระยะหลังการรับประทานอาหาร ดังนั้น แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ให้แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อแทน
การออกกำลังกาย
การที่ไม่ออกกำลังกายเลย จะเป็นการเพิ่มภาวะดื้อต่ออินซูลินทั้งคนที่เป็นหรือไม่เป็นเบาหวาน ส่งผลให้อินซูลินไม่สามารถทำงานได้จึงควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี การออกกำลังกาย จะช่วยให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง และนำเอาน้ำตาลไปใช้ได้มากขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การควบคุมระดับน้ำตาลมีหลักการ 3 อย่างครับ
1.การควบคุมอาหาร
2.การออกกำลังกาย
3.การใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาล
การควบคุมอาหาร
อาหารที่เรารับประทานส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเมื่อถูกย่อยก็จะได้น้ำตาลกลูโคส ดังนั้น ในการควบคุมระดับน้ำตาลจึงต้องรู้จักการเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักและเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ดี และ ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ซึ่งดูดซึมง่าย
การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ก็มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นได้มากในระยะหลังการรับประทานอาหาร ดังนั้น แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ให้แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ หลายๆ มื้อแทน
การออกกำลังกาย
การที่ไม่ออกกำลังกาย จะเป็นการเพิ่มภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินไม่สามารถทำงานได้จึงควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี การออกกำลังกาย จะช่วยให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง และนำเอาน้ำตาลไปใช้ได้มาก
การใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาล
เบาหวานเป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาแบบผสมผสาน ไม่เพียงแต่แพทย์ที่เป็นผู้รักษา แต่ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือด้วย เพื่อผลประโยชน์ของผู้ป่วยเอง การรับประทานยาก็เพื่อช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น ซึ่งถ้าผู้ป่วยรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ก็สามารถทำให้ระดับน้ำตาลขึ้น ทั้งนี้ยาที่แพทย์สั่งจะดูผู้ป่วยเป็นรายๆไป หากควบคุมด้วยยาเม็ดไม่ได้ผล จะต้องก้าวไปใช้ยาฉีดอินซูลินต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ถ้าเราจะลดน้ำตาลในเลือดต้องทำไงคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)