กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

24 ข้อดีของการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ

การลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตส่งให้เกิดผลดี
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
24 ข้อดีของการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ

การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำมีผลดีหลายด้าน โดยส่วนหนึ่งได้มาจากการวิจัยและบ้างก็ได้มาจากประสบการณ์ตรงของผู้ทดลอง ซึ่งผลดังกล่าวจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยกลุ่มคนที่ไวต่อคาร์โบไฮเดรต (ในภาวะดื้อต่ออินซูลิน, โรคอ้วนลงพุง, เบาหวานแฝง) จะได้รับประโยชน์มากที่สุด

ผลจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

แม้ว่าเราจะนำตัวอย่างการศึกษาที่สนับสนุนผลลัพธ์เหล่านี้มาเพียงผลละหนึ่งตัวอย่างเท่านั้น แต่ในอดีตก็ยังมีการศึกษาอีกมากมายที่ให้ผลเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาเหล่านี้นั้นไม่ได้ผ่านการคัดกรองปัจจัยต่าง ๆ เช่น การดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งหากกลุ่มคนที่อยู่ในการศึกษาเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษาจะเอนเอียงไปทางการได้รับประโยชน์มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างสุ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. น้ำหนักลด (แม้จะไม่คุมปริมาณแคลอรี่)

2. ระดับไตรกลีเซอไรด์ดีขึ้น

3. ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงในผู้ป่วยเบาหวานและเบาหวานแฝง

4. ระดับคอเลสเตอรอลดี(HDL-cholesterol)เพิ่มขึ้น

5. เพิ่มความไวต่ออินซูลิน

6. ลดความดันเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. มวลกล้ามเนื้อในผู้ที่ลดน้ำหนัก โดยกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำจะลดน้อยกว่าผู้ที่กินแบบคาร์โบไฮเดรตสูง (เมื่อรวมกับการออกกำลังกายด้วยแล้ว)

8. การกินแบบคีโตเจนิก (การกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำประเภทหนึ่ง) สามารถนำมารักษาอาการชัก

ประโยชน์จากหลักฐานชั้นต้น

มีหลักฐานการศึกษาที่แสดงถึงประโยชน์อันเนื่องมาจากการกินคาร์โบไฮเดรตลดลง แต่ผลเหล่านี้ยังต้องได้รับการศึกษาเพื่อยืนยันเพิ่มเติม

9. มีสิวลดลง

10. มีอาการจาก ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (Polycystic Ovarian Syndrome) ดีขึ้น

11. อาการจาก ภาวะลำไส้แปรปรวน ( Irritable Bowel Syndrome) ดีขึ้นในคนบางกลุ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

12. การกินแบบคีโตเจนิกสามารถช่วยให้โรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน ดีขึ้น

ประโยชน์ที่พบว่ามีรายงานบ่อย

มีรายงานถึงประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำที่พบบ่อยตามกระทู้ จากกลุ่มสนับสนุนแนวคิดการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ  และจากผลการสำรวจ

ปัจจุบันผล 2 ข้อแรกต่อไปนี้ได้รับการรายงานถึงผลดีมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง1ถึง2สัปดาห์หลังการทดลอง โดยผลจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

13. มีพลังมากขึ้น

14. อาการแสบร้อนหน้าอกจากกรดไหลย้อนลดลง

15. อยากกินของหวานลดลงอย่างมาก หรือหมดไป

16. มีสมาธิมากขึ้น

17. อารมณ์ดีขึ้น

18. การกินที่ผิดปกติจากความเครียดลดน้อยลง

19. สุขภาพฟันดีขึ้น (คราบจุลินทรีย์ในช่องปากลดน้อยลง, เหงือกมีสุขภาพดีขึ้น)

ผลประโยชน์ที่พบว่ามีรายงานเป็นบางครั้ง

ผลมีหลากหลายและมักขึ้นกับอาการดั้งเดิมของแต่ละบุคคล โดยการกินแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นจะไม่สามารถรักษาอาการดั้งเดิมที่เป็นอยู่ได้ และผลเหล่านี้ไม่เกิดจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ แต่ผลดังกล่าวนี้ได้รับการรายงานมากอย่างมีนัยสำคัญ

20. อาการเจ็บข้อและกล้ามเนื้อดีขึ้น

21. อาการปวดหัวลดลง

22. กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) ดีขึ้น

23. ลมในลำไส้ลดลง

24. สภาพผิวดีขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Low-Carb Diets: Keto, Low-Carb Paleo, Atkins, and More. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/diet/low-carb-diets-keto-low-carb-paleo-atkins-more/)
Low-Carb, High-Protein Diets: Risks (Ketosis) and Benefits. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/guide/high-protein-low-carbohydrate-diets)
Ketogenic diet: Is the ultimate low-carb diet good for you?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/ketogenic-diet-is-the-ultimate-low-carb-diet-good-for-you-2017072712089)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป