October 17, 2018 11:04
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีอารมณ์เศร้าโดยไม่มีสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์เศร้าของตนเองได้ จนส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตนั้น อาจเป็นความผิดปกติทางอารมณ์บางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้าได้ครับ แต่ถ้าหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังจะมีประจำเดือนและอาการหายไปเมื่อประจำเดือนหมด ก็อาจเป็นเพียงอาการอารมณ์แปรปรวนจากการมีประจำเดือนมากกว่าที่จะเป็นโรคซึมเศร้าครับ
ในเบื้องต้นนั้นหมอแนะนำให้พักผ่อนและรับประทานอาหารให้เพียงพอ หากิจกรรมทำเพื่อช่วยให้ตนเองผ่อนคลาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงอาจหาคนที่ไว้ใจได้มาพูดคุยด้วยเพื่อระบายความในใจก็จะช่วยให้อารมณ์ในเบื้องต้นดีขึ้นได้ครับ
แต่ถ้าหากปัญหาทางอารมณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานานจนรบกวนชีวิตของคุณมากแล้ว หรือไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ไม่ว่าด้วยวิธีใด หมอก็แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการเพิ่มเติมดูครับ เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
เบื้องต้นทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง ดูก่อนก็ได้ค่ะ โดยให้สำรวจอาการภายในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนแต่ละอาการดังนี้
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7วัน 1 คะแนน
มากกว่า 7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
ลักษณะอาการในช่วง 2 สัปดาห์
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวต้องผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
รวมคะแนน หากคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ก็อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ค่ะ ซึ่งควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการวินิจฉัยให้แน่ชัด แล้วรักษาตามแนวทางที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการดีขึ้น ปรับตัวกับภาวะต่างๆได้ดีขึ้น หากมีอาการเฉพาะก่อนมีประจำเดือน คุณหมออาจส่งปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อดูแลเรื่องของฮอร์โมนด้วยอีกทางค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
รู้สึกซึมเศร้า รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากทำงานรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ก่อนมีประจำเดือนควรทำอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)