April 18, 2017 17:40
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การปวดศีรษะแบบไมเกรนนั้นเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ
ปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดไมเกรนมีดังนี้
-ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ช่วงมีประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน หรือการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
-อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ
-การกระตุ้นทางประสาทสัมผัส อาทิ แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน กลิ่นบุหรี่
-รูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนดึก นอนไม่พอ หรือนอนมากเกินไป
-สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ฝุ่นควัน
-ยาบางชนิด
แนวทางการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน
1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนมากเกินไป ความเครียดการถูกแดดมากเกินไป การได้รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มบางอย่าง เช่น กาแฟ ชอคโกแลต ฯลฯ อาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ ส่วนมากปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้มักเกิดร่วมกันหลาย ๆ อย่าง และบางครั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอเป็นทางออกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้
2. การใช้ยารักษา การใช้ยารักษาควรใช้กรณีที่จำเป็นยาที่รักษาพอสรุปได้ดังนี้
2.1 ยาในการรักษาอาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน ได้แก่
2.1.1 ยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล แอสไพริน nonsteroid anti-inflammatory drugs (NSAIDS) และยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เช่น Tylenol with Codeine แต่การใช้ยานี้พบว่าอาจทำให้มึนศีรษะได้และห้ามใช้ในเด็ก
2.1.2 ยากลุ่มเออร์กอต (Ergot-based drug) เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงพอควร จึงควรใช้ในการรักษาอาการปวดไมเกรนที่รุนแรงและนาน ๆ เป็นสักครั้ง การใช้ยาบ่อย ๆ จะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นและติดยา
2.1.3 ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียงได้ แต่มีราคาแพง
การใช้ยานอนหลับชนิดต่าง ๆ เช่น ไดอะซีแพม ก็สามารถใช้ในการรักษาไมเกรนได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยเพราะจะมีปัญหาติดยาเกิดขึ้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
เกิดความผิดปกติของการหดและขยายตัวของหลอดเลือดค่ะ
สำหรับปัจจัยกระตุ้นการเกิดไมเกรนได้แก่ อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ หรือการกระตุ้นจากกลิ่นบุหรี่ แสงจ้า เสียงดัง การนอนที่ผิดปกติ เช่นนอนดึก นอนมากเกินไป ขาดนอน จากฝุ่น ควัน จากยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
การรักษาอาการปวดหัวมีดังนี้
-กินยาบรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ทันทีที่เริ่มมีอาการ อย่ารอให้ปวดนานเกิน 30 นาที จะได้ผลน้อย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol) เออร์โกทามีน (ergotamine) ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ตามคำแนะนำของหมอ การกินยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรซื้อมากินเอง
-นอนพัก นวดเบาๆที่ศีรษะ
-หลีกเลี่ยงที่ที่อบอ้าว มีแสงจ้าหรือเสียงดัง หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย และการเดินขึ้นลงบันได
ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ตามคำแนะนำของหมอ) ควบไปด้วย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล (พบได้ประมาณร้อยละ 20-30) แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol) เออร์โกทามีน (ergotamine) ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากถามคุณหมอว่าโรคไมเกรนเกิดจากสาเหตุอะไรแล้วมียารักษาให้หายได้หรือเปล่าค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)