January 25, 2017 16:31
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการคลื่นไส้ อาเจียน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ค่ะ
ภาวะทางจิตใจ (ความเครียด ความวิตกกังวล) จากสารพิษ(อาหารเป็นพิษ เคมีบำบัด แอลกอฮอล์) จากโรคบางอย่างเช่น เบาหวาน ต่อมหมวกไต กระเพาะปัสสาวะอัเสบ ความผิดปกติในสมอง
ควรพาคุณพ่อไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
คงต้องสอบถามอาการเพิ่มเติม
-อาการปวดศีรษะ เป็นมานานเท่าไรแล้ว
-อาการปวดศีรษะ เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือ เป็น มากขึ้นเรื่อย ๆ
-มีประวัติได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะ หรือ สมอง (Head injury) บ้างหรือไม่
-มีโรคประจำตัว หรือ รับประทานยา ใด ๆ เป็นประจำ หรือไม่
ประว้ติเหล่านี้ จะช่วยวินิจฉัยแยกโรค
ปวดศีรษะ ไม่ว่าจะมีลักษณะการปวดเป็นเช่นไร เช่น ปวดเป็นจุด ๆ ปวดบริเวณท้ายทอย หรือ บริเวณขมับ หรือ ปวดศีรษะข้างเดียว เป็นอาการ ที่มีคำถาม พบบ่อยมากที่สุดประการหนึ่ง และเป็นอาการที่นำมาพบแพทย์มากที่สุดอาการหนึ่ง
อาจมีสาเหตุ เป็นผลมาจากโรคร้ายแรง อันตราย เช่น เนื้องอกในสมอง ความดันในสมองสูงขึ้น แต่พบได้น้อยกว่า และมักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ลานประสาทตาแคบลงทำให้เดินชนสิ่งต่าง ๆ
แต่ที่พบบ่อยมากกว่า จะเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นเป็น หายหาย ไม่ว่าจะ ลักษณะการปวดเป็นเช่นไร เช่นปวดตุ้บ ๆ ปวดต้นคอ (ท้ายทอย) ปวดขมับ ปวดเบ้าตา ปวดศีรษะข้างเดียว เหล่านี้พบได้มากกว่า มากกว่า 80%
ถ้ามีอาการปวดตา หรืออาการเกี่ยวกับสายตาด้วย ควรตรวจสายตาว่า มี สายตาสั้น ยาว หรือเอียง หรือไม่
ถ้าใช้สายตาอ่านหนังสือหรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์ ก็ควรพักสายตาทุก ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ด้วยการมองไปไกล ๆ หรือ หลับตา
อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ซึ่งมักจะเป็นจากความเครียด หรือ วิตกกังวล ซึ่ง ถ้าเครียดมาก ๆ อาจมีอาการผะอืดผะอม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก(หายใจไม่อิ่ม) ใจสั่น หน้ามืด วูบได้
หรือจากพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่นนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท(ไม่ลึกพอ) นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนดึก เปลี่ยนเวลาทำงาน(กะ)จากกลางวันมาเป็นทำงานกลางคืน หรือทำงานไม่เป็นเวลา เปลี่ยนกะทำงานบ่อย
วิธีรักษาก็สามารถ กินยาแก้ปวดศีรษะที่ไม่อันตราย เช่นพาราเซตามอล ตามขนาด
และในระยะยาว ควรหาวิธีจัดการกับความเครียด ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การทำสมาธิ การทำไบโอฟีดแบค ฯลฯ
การออกกำลังกาย อย่างหนักพอเพียง ทำประจำสม่ำเสมอ ก็สามารถทำให้สุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น จัดการกับความเครียดได้ อาการปวดศีรษะก็จะดีขึ้น หรือหายไปได้
ถ้าใช้วิธีต่างๆแล้ว อาการปวดศีรษะไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุอย่างจริงจัง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คุณพ่อปวดหัวและมีอาการคลื่นไส้ บางครั้งก้อาเจียนมีความเสี่ยงเปนโรคแทรกซ้อนอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)