August 30, 2019 10:15
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
1.เรื่องปวดท้องน้อย
อาการปวดท้องน้อย เป็นได้ตั้งเเต่
- ติดชื้อในอุ้งเชิงกราน คือ มีตกขาวกลิ่นเหม็น คันช่องคลอดมาก่อน เเล้วมีอาการปวดท้องน้อย ไข้
- ปวดท้องมากเวลาประจำเดือนมา ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจเป็น เนื้อเยื่อมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกแลตซีสต์)
- ภาวะปวดประจำเดือน
หรืออื่นๆ เช่น
ท้องนอกมดลูก ภาวะเเท้ง พวกนี้ต้องมีปวดท้องน้อย ร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอดครับ เเละก่อนหน้านี้มีประวัติสงสัยท้อง เช่น. มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกันแล้วประจำเดือนขาดครับ
- โรคซีสต์ในรังไข่บางชนิด ก็ปวดท้องน้อยได้ครับ
- ติดเชื้อทางเดินอาหารส่วนลำไส้ มักมีถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องได้
- ติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะ คือมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะเเสบขัด ปัสสาวะบ่อย
- ปวดกล้ามเนื้อ คือ มีขยับเเล้วปวด สัมพันธ์กับท่าทาง ก่อนหน้ามีประวัติ ยกของหนัก ขยับผิดท่า หรือโดนกระเเทก ครับ
กรณีคนไข้ถ้าปวดมากเเนะนำหาเวลาพบเเพทย์ครับ เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ
โดยเฉพาะถ้า มีตกขาวไหลเยอะ คันช่องคลอด ปวดท้องน้อย จะสงสัยพวก ติดเชื้อในช่องคลอด หรือ อุ้งเชิงกรานครับ
2.เรื่องประจำเดือนขาด
ถ้ามีประวัติเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกันก็มีโอกาสท้องครับ
เเนะนำตรวจการตั้งครรภ์ครับถ้าประจำเดือนขาด
โดยทั่วไปก็จะถือว่าตรวจพบว่าท้องได้ เมื่อประจำเดือนขาดครับ
...........
ถ้าจำประจำเดือนแม่น รู้รอบประจำเดือนตัวเองดี ก็จะง่ายครับ
เช่นถ้าเมนส์มาวันที่ 1 กพ. ปกติมาตรง 30 วัน
ถ้า 3 มีนา เมนส์ไม่มา ก็สามารถตรวจได้ครับ
............
แต่ถ้าจำไม่ได้ว่าเดือนก่อนเมนส์มาวันไหน
แนะนำว่าให้ตรวจถ้าเมนส์ไม่มาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ กันไปแล้ว 2 สัปดาห์
เพราะว่าถ้าจะท้องได้ ก็คือต้องไข่ตกช่วงที่มีเพศสัมพันธ์กันพอดี ถ้านอกเหนือไปจากนั้น โอกาสท้องก็น้อยครับ
...........
ถ้าตรวจแล้วผลว่าไม่ท้อง แต่ยังสงสัย แนะนำให้รอ เพราะบางครั้งค่าของฮอร์โมนอาจจะยังไม่มากพอที่จะให้ผล positive ถ้ารอแล้วเมนส์ยังไม่มา อีกซักสัปดาห์ค่อยตรวจซ้ำ ไม่ควรรีบไปกินพวกยาขับเลือด-ยาสตรี เพราะถ้าเกิดท้องขึ้นมาแล้วจริงๆ ยาพวกนี้อาจจะมีผลต่อเด็กได้ครับ
...........
- ชุดตรวจมีหลากหลายครับ ในรายละเอียดอาจจะต่างกันบ้าง ให้ดูตามคำเเนะนำในกล่องน่าจะดีที่สุดแต่โดยทั้วไปก็คือให้ปัสสาวะใส่ภาชนะ จุ่มที่ทดสอบลงไประยะเวลาหนึ่ง เอาขึ้นมาตั้ง รอเวลา แล้วจึงอ่านผล
- วิธีการเก็บปัสสาวะตรวจก็มีผลต่อการแปลผลมาก
ผลจะแม่นที่สุดควรจะต้องเป็นปัสสาวะครั้งแรกตอนเช้าที่เพิ่งตื่นนอนมาเพราะจะเป็นปัสสาวะที่เข้มข้น ถ้ามี hCG อยู่ก็จะตรวจพบได้ง่ายกว่า
- ชุดตรวจส่วนใหญ่จะแสดงผลเป็นขีดๆ โดยขีดแรกเป็นเส้น control จะต้องขึ้นเสมอไม่ว่าจะท้องหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นแปลว่าที่ตรวจนั้นเสีย ส่วนขีดที่สองถึงจะเป็นตัวบอกว่ามี hCG อยู่
...........
ดังนั้น สองขีดคือท้อง
...........
ขีดเดียวคือไม่ท้อง ถ้าไม่มีซักขีดคือชุดตรวจเสียครับ
กรณีตรวจเเล้วไม่ท้อง
โดยปกติประจำเดือนสามารถมาเร็วมาช้าได้บวกลบ7วันครับ ถ้ายังไม่เกิน7วันหมอว่ายังรอไปก่อนได้ครับ
ปกติจะมาประมาณ2-6วัน ปริมาณประมาณ 20-60ml
.............
การที่ประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือขาด อาจเกิดได้จากความเครียด ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ,การตั้งครรภ์ ,การฉีดยาคุมกำเนิดชนิดสามเดือน ,ยาฝังคุมกำเนิด หรือ ห่วงคุมเนิดชนิดฮอร์โมน ครับ
หรือเกิดได้จากโรคอื่นๆ กรณีที่ประจำเดือนขาดนานๆ หรือมาไม่สม่ำเสมอครับ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่อาการคือ ประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอร่วมกับพบลักษณะของฮอรโมนเพศชาย(มีสิว มีขนเยอะ) หรือ บางครั้งความผิดปกติของต่อมใต้สมองซึ่งมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ครับหากประจำเดือนขาดนานๆ ร่วมกับบีบหัวนมเเล้วมีน้ำนมไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการตกไข่ผิดปกติจากสาเหตุของรังไข่เอง
อื่นๆ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(ช็อคโกเเลตซีสต์) อาการคือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้นครับ
.............
หากเดิมประจำเดือนมาปกติ เเล้วประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ หรือตรวจเเล้วไม่ท้อง (ปกติประจำเดือนขาดก็ตรวจได้เเล้วครับว่าท้องหรือไม่) หรือ ไม่ได้มีความเครียดอื่นๆ ควรไปพบสูตินรีเเพทย์ครับ อาจพิจารณารับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อปรับฮอร์โมน ร่วมกับหาสาเหตุด้วยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดท้องน้อย ปจด ขาดมา10วัน มีน้ำมูกขุ่นไหลออกมาจากช่องคลอด ปัสวะบ่อย วิงเวียรศรีษะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)