May 26, 2019 16:26
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
โรคท้องผูกในเด็กมีคำนิยามคือ เมื่อถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือ ถ่ายอุจจาระลักษณะแข็งจนมีเลือดปนในบางครั้ง เจ็บปวดต้องออกแรงเบ่งมากครับ
โดยถ้าเป็นบ่อยๆ ในวัยนี้ ต้องหาสาเหตุ ซึ่งเป็นได้หลายอย่าง ทั้งสาเหตุทางพฤติกรรม สาเหตุทางกาย และไม่มีสาเหตุครับ
เริ่มต้น สาเหตุทางกาย เป็นสาเหตุที่ต้องหาก่อน เป็นอันดับแรก
ตัวอย่างสาเหตุทางกาย เช่น
-โรคลำไส้โป่งพองโดยกำเนิด ความผิดปกติของเซลล์ประสาทที่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของกล้ามเนื้อในลำไส้ใหญ่
-ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไขสันหลัง
-ความผิดปกติของพัฒนาการของทวาร
-ความไม่สามารถในการดูดซึมการอาหารได้อย่างถูกต้อง
-ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้นครับ
ซึ่งต้องอาศัยการตรวจร่าย เอกเรย์ ตรวจเลือด เนื่องจาก การวินิจฉัยโรคทางกายเหล่านี้ มีการรักษาเฉพาะ เช่น การผ่าตัด อาจทำให้โรคลำไส้โป่งพองโดยกำเนิด หาย หรือ การเสริมฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้น ในเด็กที่มีภาวะพร่องฮออร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
สำหรับสาเหตุทางพฤติกรรม เช่น การไม่ได้มีการฝึกการเข้าห้องน้ำอย่างเหมาะสม ( toilet training) หรือ เด็กอาจมีภาวะ เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ซ่อนอยู่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ อาจต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กด้วยครับ
การรักษาอาการท้องผูก เบื้องต้น ได้แก่
1.การกำจัดอุจจาระจาก rectum (Fecal disimpaction) ขั้นตอนนี ้มีความจาเป็นเฉพาะกรณีมี อุจจาระอัดแน่นมากภายใน ลำไส้ครับ ถ้ามีควรทำเป็นอันดับแรก ที่ รพ ครับ
2.การกินยาระบายอย่างต่อเนื่อง (Maintenance) เช่น polyethylene glycol (PEG) หรือ milk of magnesia อย่างน้อย สองสัปดาห์ถึง 1 เดือน เพื่อปรับการขับถ่าย ร่วมกับการปรับพฤติกรรมครับ
3. การฝึกการขับถ่ายอย่างเหมาะสม
การฝึ กนิสัยการถ่ายอุจจาระ (bowel habit training) ในการฝึกต้องไม่ทำด้วยความเข้มงวดหรือบีบบังคับ
เพราะอาจทำให้ผู้ป่ วยต่อต้าน ในเด็กเล็กสามารถฝึ กได้ง่ายขึ้นโดยการสร้างสิ่งจูงใจ เช่น การให้รูปดาว
(star chart) การฝึ กในเด็กโตควรเริ่มต้นด้วยการให้คำอธิบายถึงกลไกการถ่ายอุจจาระด้วยค าพูดง่ายๆและ
จุดประสงค์ของการฝึ ก วิธีการฝึ กท าโดยแนะน าให้ผู้ป่ วยถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน ฝึกนั่งถ่ายครั้งละ
ประมาณ 5 นาที วันละ 1 ครั้ง ควรฝึกในเวลาหลังรับประทานอาหาร เพราะ การเคลื่อนไหวของกระเพาะและลำไส้ในช่วงนี้ จะกระตุ้น ให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวช่วยในการขับถ่ายได้ดีขึ้น
หากลองปรับพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น
แนะนำให้พบกุมารแพทย์โรคทางเดินอาหารครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ลูกสาว3ขวบ 3-4วันถึงจะถ่ายแต่จะถ่ายยากและแข็งค้นหาเห็นยาตัวนี้ใช้ได้ไหมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)