ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่มี 5 ระยะซึ่งแต่ละระยะจะมีการรักษาแตกต่างกันออกไป
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง

คนที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease) หรือที่เรียกว่าไอบีดี (IBD) จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น ขณะที่มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นหนึ่งในมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ แต่มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยจนเริ่มมีอาการปรากฏออกมา หรือเริ่มทำให้ไม่สบายตัว ซึ่งขณะนั้นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็อาจอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว แต่ข่าวดีคือคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังจะไม่เกิดเป็นมะเร้งลำไส้ใหญ่ การตัดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ออกขณะที่ส่องกล้องดูภายในลำไส้ใหญ่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

การไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเป็นประจำและส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ (อาจเป็นปีละสองครั้ง ปีละครั้ง หรือทุกสองปี) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ และถ้ากังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และจะป้องกันได้อย่างไรควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร หรือศัลยแพทย์ลำไส้และทวารหนัก เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองและการป้องกันมะเร็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นมีระยะ 4 ระยะแตกต่างกันและอาจมีระยะที่ 5 คือการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ละระยะของมะเร็งมีตัวเลือกการรักษาที่แตกต่างกันและอัตรารอดชีวิตใน 5 ปีก็แตกต่างกัน ระยะของมะเร็ง 4 ระยะรวมถึงระยะย่อย ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ อ้างอิงจากระบบการแบ่งระยะของมะเร็งโดยคณะกรรมการร่วมโรคมะเร็งแห่งอเมริกา(American Joint Committee on Cancer) หรือที่ย่อว่าเอเจซีซี (AJCC) ซึ่งเรียกการแบ่งระบบนี้ว่าระบบทีเอ็นเอ็ม(TNM system)

ระยะ 0 (Carcinoma In Situ)

ระยะนี้เป็นระยะแรกเริ่มที่สุดของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยมะเร็งจะอยู่แค่ในชั้นผิวเยื่อบุของของลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง และอยู่แค่ในติ่งเนื้อ (เนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาจากผิวของอวัยวะ) เมื่อติ่งเนื้อนี้ถูกตัดออกระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่(วิธีนี้เรียกว่าโพลีเพคโตมี(polypectomy))ซึ่งทำให้ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนากลายเป็นระยะอื่นได้

ระยะที่ 1

ระยะที่ 1 ของมะเร็งลำไส้ใหญ่จะไม่อยู่แค่ในชั้นผิวด้านในของลำไส้ใหญ่เท่านั้น ติ่งเนื้อจะโตขึ้นเป็นเนื้องอกและลุกลามไปถึงผนังของลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง การรักษาได้แก่การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่เป็นมะเร็งออก การผ่าตัดแบบนี้เรียกว่า รีเซคชัน(resection)  ลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยังดีอยู่ที่ไม่เป็นมะเร็งจะถูกต่อเข้ากันเหมือนเดิม อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปีแรกหลังวินิจฉัยอยู่ที่ 95%

ระยะที่ 2

ระยะที่ 2 ของมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น ตัวมะเร็งจะลามออกนอกลำไส้ใหญ่ไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ลำไส้ใหญ่แต่จะยังไม่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง ลักษณะที่มะเร็งกระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งของร่างกายนี้เรียกว่า เมแทสตาซิส (Metastasis) การผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก จะยังอาจทำได้อยู่ในมะเร็งระยะนี้ อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปีแรกหลังวินิจฉัยระยะที่ 2 อยู่ที่ 60%

มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 แบ่งเป็นระยะย่อย ๆ ได้แก่ 2 เอ 2 บี และ 2 ซี

  • ระยะ 2 เอ มะเร็งจะโตเข้าไปถึงชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่แต่จะยังไม่โตออกไปนอกลำไส้
  • ระยะ 2 บี มะเร็งโตเข้าไปถึงชั้นนอกสุดของลำไส้ใหญ่แต่จะยังไม่โตออกไปนอกลำไส้
  • ระยะ 2 ซี มะเร็งโตทะลุชั้นนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่ไปถึงเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ

ระยะที่ 3

ระยะที่ 3 มะเร็งกระจายออกนอกลำไส้เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ลำไส้ใหญ่ ในระยะนี้มะเร็งยังไม่กระจายไปที่อวัยวะอื่นของร่างกายและการรักษาจะรุนแรงมากขึ้น การผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก การใช้ยาเคมีบำบัด และยาอื่น ๆ อาจมีความจำเป็น อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปีแรกหลังวินิจฉัยระยะที่ 3 อยู่ที่ 35-60% โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3 แบ่งเป็นระยะย่อย ๆ ได้แก่ 3 เอ 3 บี และ 3 ซี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะ 3 เอ 

ระยะนี้แบ่งย่อยได้เป็น 2 แบบคือ

  • มะเร็งอยู่ในชั้นในและชั้นกลางของลำไส้ใหญ่ โดยอาจไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ และไปถึงต่อมน้ำเหลืองหรือไขมันที่อยู่รอบต่อมน้ำเหลือง 1-3 ต่อม
  • มะเร็งอยู่ในชั้นในและชั้นกลางของลำไส้ใหญ่ และไปถึงต่อมน้ำเหลือง 4-6 ต่อม

ระยะ 3 บี 

ระยะนี้แบ่งได้เป็น 3 แบบ

  • มะเร็งกระจายไปทุกชั้นของลำไส้ใหญ่และไปต่อมน้ำเหลือง 1-3 ต่อม
  • มะเร็งโตทะลุชั้นกล้ามเนื้อและ/หรือถึงชั้นนอกของผนังลำไส้ใหญ่ และไปถึงต่อมน้ำเหลือง 4-6 ต่อม
  • มะเร็งอยู่ในชั้นในและชั้นกลางของผนังลำไส้ใหญ่และอาจอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อได้ โดยกระจายไปต่อมน้ำเหลืองอย่างน้อย 7 ต่อม

ระยะ 3 ซี 

แบ่งออกได้เป็น 3 แบบย่อยคือ

  • มะเร็งกระจายไปทุกชั้นของลำไส้ใหญ่และไปต่อมน้ำเหลือง 4-6 ต่อม
  • มะเร็งโตทะลุชั้นกล้ามเนื้อและ/หรือถึงชั้นนอกของผนังลำไส้ใหญ่ และกระจายไปต่อมน้ำเหลืองอย่างน้อย 7 ต่อม
  • มะเร็งกระจายไปทุกชั้นของลำไส้ใหญ่และกระจายไปอวัยวะข้างเคียง ซึ่งอาจกระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือไขมันรอบต่อมน้ำเหลืองด้วย

ระยะที่ 4

ระยะที่ 4 นี้ มะเร็งจะกระจายไปที่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกายเช่น ปอด รังไข่ หรือตับ นอกจากการผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกและการใช้ยาเคมีบำบัดแล้ว การใช้รังสีรักษาและผ่าตัดเอาส่วนที่มะเร็งแพร่กระจายไปออกอาจจำเป็น ในระยะนี้อัตราการรอดชีวิตใน 5 ปีแรกหลังวินิจฉัยแค่ 3% เท่านั้น และระยะที่ 4 แบ่งย่อยออกเป็น 4เอ และ 4บี

  • ระยะ 4 เอ มะเร็งโตทะลุผนังลำไส้ใหญ่อาจโดนต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะข้างเคียง และกระจายไปอวัยวะอื่นอีก 1 ตำแหน่งที่ไม่ได้ติดกับลำไส้ใหญ่
  • ระยะ 4 บี มะเร็งโตทะลุผนังลำไส้ใหญ่อาจโดนต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะข้างเคียง และกระจายไปอวัยวะอื่นอีกมากกว่า 1 ตำแหน่งที่ไม่ได้ติดกับลำไส้ใหญ่หรือผนังหน้าท้อง

มะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ำ

มะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ำหลังได้รับการรักษาไม่ว่าจะเกิดที่ลำไส้ใหญ่ หรือส่วนอื่นของร่างกายก็ถือว่าโรคกลับมากำเริบซ้ำ แม้ว่าการรักษาจะประสบผลสำเร็จแล้วแต่การมาตรวจอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อจะหามะเร็งที่กำเริบซ้ำได้แต่เนิ่น ๆ ในระยะแรก ๆ นั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นหนึ่งในมะเร็งที่รักษาได้ แต่ในระยะท้าย ๆ กลับเป็นสาเหตุการตายอันดับสอง มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นอันดับสองในอเมริกา (มะเร็งปอดเป็นอันดับหนึ่ง) และขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ มีเพียง 15% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เท่านั้นที่ต้องเจาะหน้าท้องถาวร

การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไปตรวจคัดกรองเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม คนที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังจะเพิ่มความเสี่ยงแต่ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเป็นประจำและไปส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตามนัด จะช่วยตัดติ่งเนื้อออกได้และเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ในระยะยาว ทุกคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจรู้สึกไม่สบายตัวและอับอายบ้างระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แต่ก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อยเมื่อแลกกับชีวิต


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชนิดของมะเร็งลำไส้
ชนิดของมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ชนิดต่าง ๆ

อ่านเพิ่ม
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

อ่านเพิ่ม
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก

การเปลี่ยนแปลงอาหารเล็กๆ น้อยๆ หลังการผ่าตัดทำทวารเทียมจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับตัวได้

อ่านเพิ่ม