April 14, 2017 19:40
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การดูแลตัวเองเมื่อมีโรคไตเรื้อรัง ได้แก่
1. ไม่ควรซื้อยามาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเสมอ
2.การควบคุมอาหาร
- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ไส้กรอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยแข็ง อาหารที่มีส่วนผสมของผงฟู
-เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำได้วันละ 1-2 ครั้ง เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แตงกวา ผักกาดหอม ถั่วงอก องุ่น สับปะรด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน เป็นต้น
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ เป็นต้น
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปรตีน ไขมันและคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง
และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว
-ผู้มีภาวะไตเรื้อรังห้ามใช้ซอสปรุงรสเทียม เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม หากต้องการเพิ่มรสชาติอาหารให้ใช้เครื่องเทศแทน
-งดบุหรี่
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
อันดับแรก ต้องควบคุมความดันโลหิต และน้ำตาลเบาหวานให้มีค่าปกติ ครับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชีวิตร่วมด้วย ได้แก่
1.ลดอาหารจำพวกโปรตีน เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต ส่วนต้องลดปริมาณเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคครับ
2.ลดอาหารเค็ม และลดอาหารไขมัน
3.หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโปรแตสเซี่ยมสูง พวกผัก เช่นคะน้า กะหล่ำ มันฝรั่ง มันเทศเห็ด พวกผลไม้ เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง น้ำส้ม เป็นต้น
4.ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และระมัดระวังในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดน้ำ
5.ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย และจิตใจให้ผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดระดับไขมันในร่างกาย แต่ควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาะและช่วงวัย ยิ่งเฉพาะคนที่มีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
6.หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกแฮอล์ และงดการสูบบุหรี่
7.พักผ่อนอย่างเพียงพอ
8.หลีกเลี่ยง ยา หรือสารต่างๆที่เป็นอันตรายต่อไต เช่นกลุ่มยาแก้ปวด ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอนต่างๆ
จะเห็นได้ว่าหลักการชะลอไตเสื่อมคือการควบคุมโรคประจำตัวให้ได้อย่างสม่ำาเสมอ รวมทั้งมีโภชนาการอย่างเหมาะสมสำหรับคนเป็นโรคไต เท่านี้ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ครับ นอกจากนี้ก็เป็นการ ไปตรวจเลือดกับแพทย์เป็นระยะ เพื่อดูค่าเกลือแร่หรือค่าโลหิต เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอันตรายต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
Creatinine 0.99 GFR(CKD-EPI)65.72ต้องระวังอะไรบ้างคะ ตอนนี้อายุ 52 พยาบาลให้ลดเรื่องเค็มคะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ต้องดูแลสุขภาพตัวเองอย่างไรบ้างครับ และต้องกินอาหารประเภทใดได้บ้างครับ ที่จะไม่มีผลกระทบกับไต ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)