August 08, 2018 19:30
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการเลือดออกเมื่อมีเพศสัมพันธฺ ถ้าไม่ได้มีการกระแทกบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรงจากการยกของหนัก ไม่น่าเกี่ยวข้องกันนะคะ
สวัสดีค่ะ อาการเลือดออกระหว่าง หรือ หลังมีเพศสัมพันธ์ ถ้าไม่ได้อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือนของผู้หญิง เป็นอาการที่ไม่ปกติ และจะต้องหาสาเหตุค่ะ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้มีดังนี้ค่ะ
1.บาดแผลที่เกิดขึ้นขณะมีเพศสัมพันธ์ค่ะ อาจจะท่าท่า ความรุนแรง หรือช่วงที่ทำช่องคลอดแห้ง ก็อาจจะมีเลือดออกได้ เลือดที่ออก อาจจะเล็กน้อย เช่น บาดแผลภายนอก หรือถ้ารุนแรงไปจนถึงช่องคลอดหรือป่กมดลูกฉีกขาด ก็อาจจะมีเลือดออกได้มาก
2.การ ติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจทำให้มีเลือดออก และตกขาวที่ผิดปกติได้ เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส เป็นต้น คนไข้อาจจะมีเลือดออก ร่วมกับมีตกขาวสีผิดปกติ เช่นทสีเขียว สีเหลือง หรือตกขาวมีกลิ่นเหม็น อาจมีอาการแสบ คันช่องคลอด บางคน อาจมีปวดท้องน้อยหรือมีไข้ร่วมด้วย
3. ติ่งเนื้อในช่องคลอด / ปากมดลูก ( polyp) เมื่อโดนกระทบกระแทก อาจมีเลือดออกได้ง่าย
4. เนื้องอก ทั้งเนื้องอกที่เป็นมะเร็วและไม่เป็นมะเร็งในช่องคลอด หรือ ปากมดลูก
5. เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ อาจทำให้มีเลือกออกขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ บางคนอาจมีอาการปวดประจำเดือนมากกว่าปกติด้วยค่ะ
6. ช่องคลอดแห้ง / ช่องคลอดอักเสบ อาจเกิดจาก ความไม่พร้อม/น้ำหล่อลื่นน้อย หรือ ขาดฮอร์โมนเพศ เช่น หลังผ่าตัดรังไข่ ผู้หญิงอายุมาก เป็นต้น
ยังมีอีกหลายสาเหตุ ที่อาจพบได้ค่ะ ซึ่งต้องใช้การตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และอาจจะต้องมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมค่ะ จึงแนะนำให้คนไข้ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ รพ นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ยกของหนัก พอวันต่อมามีเลือดออกคล้ายประจำเดือน
ทำงานยกของหนัก แล้วเวลามีเพศสัมพันกับแฟนมันมีเลือดออก เกี่ยวกับการที่เรายกของหนักใหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)