January 23, 2017 12:11
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
ภาวะหมดประจำเดือนจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการหมดประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน "ภาวะหมดประจำเดือนเป็นผลมาจากการที่รังไข่หยุดทำงาน ไม่มีการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศอีกต่อไป" โดยในวัยใกล้หมดประจำเดือน จะเริ่มมีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เนื่องมาจากไข่ตกลดลง หรือตกไม่สม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงไทยจะอยู่ที่อายุ 50 ปี ผู้หญิงประมาณร้อยละ 15 ถึง 20 ไม่มีอาการใด ๆ นอกจากประจำเดือนหมดไปเฉย ๆ
อาการอื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นสัญญาณของการหมดประจำเดือนมีดังนี้
-อาการร้อนวูบวาบ (3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเคยมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้น บางครั้งก็มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืนขณะนอนหลับ)
-นอนไม่หลับ หรือหลับยาก ต้องตื่นบ่อยๆ กลางดึก หรือตื่นเช้ากว่าปกติ
-อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวหมดแรง เพราะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
-อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และซึมเศร้า
-ช่องคลอดแห้ง และมีความรู้สึกทางเพศลดลง
อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติและจะหายไปเองได้ในไม่ช้า โดยมากอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือนนั้นไม่รุนแรง บางรายที่อาการรุนแรงการรักษาส่วนมากก็เป็นการรักษาตามอาการ ส่วนในรายที่อาการรุนแรงมากอาจต้องใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดอาการไม่สบายต่างๆ แต่ทั้งนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาอย่างละเอียดเป็นกรณีๆ ไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
อาการวัยหมดประจำเดือน
* ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ
* ผิวหนังจะบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังเกิดผื่นแพ้ง่าย
* เส้นผมจะหยาบแห้งและบางลง หลุดร่วงได้ง่าย ไม่ดกดำเป็นเงางาม
* ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก
* มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุ โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย เวียนศีรษะ ซึมเศร้า
* นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ
* ช่องคลอดขาดความชุ่มชื้น น้ำหล่อลื่นน้อยลง เกิดความเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
* ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้
* กระดูกจะบางและเปราะง่าย เวลาหกล้มกระดูกจะหักได้ง่ายขึ้น
การดูแลตนเองในวัยหมดประจำเดือน
-อาหาร สตรีวัยทองควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น แคลเซียมที่รับประทานจะเป็นตัวเสริมสร้างกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้ ควรควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดโดยงดรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิค เป็นต้น
-ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
-ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography) และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density) รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน
ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม
Reference:
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากทราบอาการของผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)