June 11, 2019 20:12
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร และมีความคิดในแง่ลบต่อชีวิตของตรเองมากขึ้นจนส่งกระทบกับการใช้ชีวิตและการเรียนนั้นอาจเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรลองไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการอาจเข้าข่ายอาการของโรคซึมเศร้าก็เป็นได้นะคะ
สาเหตุซึมเศร้า เกิดจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การคิดการรับรู้ การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรม ผิดปกติไปจากเดิม
อาการ ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 7 ข้อ และมีอาการต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
4.มีปัญหาการนอนหลับ
5.มีปัญหาด้านการกินอาหาร
6.ขาดสมาธิ เหม่อลอย
7.หงุดหงิด กระสับกระส่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย / อยากทำร้ายตัวเอง
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมการคิด การรับรู้ การแสดงออกทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมได้เหมาะสมมีเหตุผลตามความเป็นจริง และอาจรักษาด้วยการทำจิตบำบัดควบคู่ไปด้วย จิตบำบัดจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ ช่วยให้ปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น ค่ะ
ดังนั้นในกรณีนี้ พี่แนะนำให้หนูพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาตามแนวทางจะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาค่อนข้างจะมีอาการหลายอย่างที่ตรงกับเรื่องภาวะโรคซึมเศร้าที่คุณหมอและพี่นักจิตได้ให้ข้อมูลไว้นะครับ ซึ่งอาการที่เล่ามาทั้งหมดนี้ก็เป็นสัญญาณที่บ่งชี้นะครับว่าควรที่จะเข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครับ ซึ่งอาจจะเป็นยาหรือเป็นการทำจิตบำบัดเพื่อเสริสร้างทักษะหรือมุมมองใหม่ๆในการมองปัญหาและรับมือกับมันไปครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดในตัวคุณลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
รู้สึกเบื่อสังคมค่ะ เบื่อคนหมู่มาก อึดอัดเวลาอยู่กับคนเยอะๆ เวลาอยู่กับเพื่อนก็อึดอัดเพราะรู้ว่าเพื่อนไม่ให้ความสำคัญกับเรา รู้สึกว่าเพื่อนไม่เห็นค่าเรา นู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ ไม่มีใครเห็นค่าเรา เลยพยายามิอกห่างจากคนอื่น น้อยใจ แล้วก็เก็บมาคิด คิดแล้วก็เครียดแต่หยุดคิดไม่ได้ คิดวนซ้ำๆเบื่อทุกอย่างไม่อยากทำอะไร อยากนอนเฉยๆเงียบๆ จากคนที่ตั้งใจเรียรก็ไม่อยากเรียน ไม่อยากทำการบ้าน รู้สึกว่าชีวิตไม่มีไรดีเลย เกิดมาทำไม เวลาใครสะกิดใจหน่อยก็จะคิดเยอะหาเหตุผลมาหักล้างไม่ได้ ไม่อยากปรึกษาใครเพราะรู้สึกว่าไม่คนเข้าใจเราจริงๆเลย คิดแต่อะไรลบๆตลอด ทำให้เหนื่อยมากในใจตีรวนกันไปหมด วันหนึ่งรู้สึกเหนื่อยทางความคิด หมดกำลังใจ รบกวนคุณหมอให้คำแนะนำหน่อยต่ะ ว่าควรทำอย่างไรดี หนูจัดการกับความคิดตัวเองไม่ได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)