January 05, 2019 22:19
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์โดยการใช้ถุงยางอนามัยนั้นมีโอกาสทำให้ผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 2-15% ขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการใช้งานครับ ดังนั้นถ้าหากหลังมีเพศสัมพันธ์ได้มีการขาดประจำเดือนไปหมอก็แนะนำว่าควรลองตรวจการตั้งครรภ์ดูก่อน โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
และถ้าหากตรวจแลเวไม่พบการตั้งครรภ์ประจำเดือนก็อาจมาช้าไปได้จากอีกหลายๆสาเหตุ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
เป็นต้น
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ครับ แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
ส่วนการรับประทานยาคุมฉุกเฉินนั้นอาจมีผลข้างเคียงทำให้มีประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้เล้กน้อยแต่ก็มักไม่เกิน 4-5 วันและผลข้างเคียงดังกล่าวจะส่งผลอยู่เพียงแค่ 1 รอบเดือน ถ้าหากหลังรับประทานยาคุมฉุกเฉินไปได้มีประจำเดือนมาแล้ว ประจำเดือนที่มาช้าก็จะไม่เกี่ยวข้องกับยาคุมฉุกเฉินครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
หากใช้ถุงยางถูกต้องและไม่รั่วซึมหรือฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% จึงไม่จำเป็นจะต้องใช้ยาคุมฉุกเฉินค่ะ
แต่ในกรณีที่ไม่มั่นใจว่าใช้ถุงยางถูกต้องหรือไม่ และไม่ได้ตรวจสอบการรั่วซึมของถุงยาง แล้วประจำเดือนไม่มาตามรอบปกติ ก็สามารถตรวจการตั้งครรภ์เพื่อความชัดเจนได้นะคะ
โดยตรวจด้วยชุดทดสอบทางปัสสาวะ ในตอนเช้าหลังตื่นนอน ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 14 วัน
และเมื่อผู้ถามมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดในวันที่ 14 ธันวาคม ซึ่งผ่านมาถึงวันนี้ก็เกิน 14 วันแล้ว จึงสามารถตรวจในวันพรุ่งนี้ตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยใช้ปัสสาวะแรกของวันได้เลยนะคะ
หากใช้ชุดทดสอบถูกวิธี และตรวจในเวลาที่เหมาะสมตามที่กล่าวไปแล้ว หากได้ผลออกมาเป็น 1 ขีด ก็เชื่อมั่นได้มากกว่า 99% (หรือตามที่ชุดทดสอบยี่ห้อที่ใช้จะให้การรับรอง) ว่าไม่มีการตั้งครรภ์ค่ะ
..
..
ส่วนผลของยาคุมฉุกเฉิน อาจทำให้ประจำเดือนในรอบที่ใช้ยาคลาดเคลื่อนเล็กน้อยได้ (หรืออาจไม่คลาดเคลื่อนเลยก็ได้) แต่แทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อประจำเดือนในรอบถัดมาค่ะ การที่ประจำเดือนในรอบนี้มาช้า จึงไม่น่าจะเป็นผลจากยาคุมฉุกเฉินที่เคยใช้นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หนูอยากถามว่าหนูท้องแล้วหนูอยากเอาออกหนูจะทำได้ยังไงหนูยังไม่พร้อมเรียนยังไม่จบไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจสามารถเอาออกได้ยังไงค่ะแต่หนูกลัวโดยการไปโรงพยาบาลมึวิธีง่ายๆที่จะเอาออกที่บ้านได้ไหมค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แฟนเส้นเลือดในสมองแตกค่ะผ่าตัดสมองแล้วผ่านมาจะครบ2สัปดาห์คุณหมอแนะนำให้เจาะคอการเจาะคอเป็นหนทางลดการติดเชื้อในปอด..แต่คนอื่นๆแบ้งว่าอย่าเจาะถ้าเจาะมีแต่เสียชีวิตอย่างเดียว..หนูกลัวมากจะทำไงดีค่ะ
ตอนนี้แฟนยังไม่ฟื้นเลยค่ะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอนนี้แฟนยังไม่ฟื้นเลยค่ะ
มีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ครั้งแรกวันที่14ธันวาคม ใส่ถุงยางทั้ง 2 ครั้งแต่ไม่มีความรู้เรื่องถุงยางแตกหรืออะไร เพราะทางฝ่ายชายก็ไม่ได้บอกอะไร และไม่ได้กินยาคุมอะไร ก่อนหน้านี้จำไม่ได้ว่าประจำเดือนตอนเดือนธันวาคมหมดวันไหนช่วงวันที่4-7ธันวาคม หลังจากมีเพศสัมพันธ์มีเลือดออก หลังจากนั้นมีตกขาวอยู่ประมาณ4-5 วัน แต่ประจำเดือนเดือนมกราคม รู้สึกว่าเลท แต่มีอาการปวดท้องน้อย สิวขึ้น ปวดหลัง แต่ยังไม่มีเลือดประจำเดือน ยิ่งอ่านข้อความบนโซเชี่ยลยิ่งรู้สึกเครียดมากเพราะกลัวท้อง ที่ประจำเดือนมาช้าเพราะเครียดเกินไป หรืออาจท้องคะ กลัวมาก หรือเพราะการกินยาคุมฉุกเฉินตอนปลายเดือนพฤศจิกายนไปแต่ตอนนั้นไม่ได้มีการสอดใส่กินไว้เพราะกลัว เนื่องจากเป็นปนะสบการณ์ครั้งแรก
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)