November 10, 2018 13:49
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ในกรณีที่รับประทานยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อโดยที่ยังไม่เป็นโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณได้เลยครับว่าต้องการรับประทานยาต่อหรือไม่ โดยมีข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ คือ
- ผลเลือดที่ตรวจหาการติดเชื้อ HIV นั้นอาจตรวจไม่พบการติดเชื้อทั้งๆที่จริงๆแล้วมีการติดเชื้อได้ ถ้าหากอีกฝ่ายเพิ่งได้รับเชื้อ HIV มาในระยะไม่เกิน 3 เดือน
- การรับประทานยาต้านไวรัสจนครบ 1 เดือน จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อ HIV ลงได้จนเหลือน้อยมาก(ในกรณีที่อีกฝ่ายมีการติดเชื้อ HIV อยู่)
- ถ้าหากตัดสินใจไม่รับประทานยาต้านไวรัสต่อ ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงว่าอาจมีโอกาสติดเชื้อ HIV ได้มากขึ้น ถ้าอีกฝ่ายเพิ่งมีการติดเชื้อ HIV มาไม่เกิน 3 เดือน(ซึ่งจะทำให้ตรวจเลือดไม่พบการติดเชื้อ)
ดังนั้นถ้าหากคุณมั่นใจว่าอีกฝ่ายไม่ได้มีการติดเชื้อ HIV ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาแน่ๆ ก็สามารถหยุดรับประทานยาต้านไวรัสได้โดยไม่ทำให้เกิดข้อเสียใดๆครับ
แต่ถ้าหากสุดท้ายแล้วอีกผฝ่ายเพิ่งมีการติดเชื้อ HIV มาก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะมีโอกาสติดเชื้อ HIV ได้มากขึ้น รวมถึงอาจมีเชื้อ HIV ดื้อยาในอนาคตได้ครับ
ส่วนการประเมินความเสี่ยงโดยละเอียดนั้นต้องอาศัยการปรึกษาจากแพทย์ผู้ดูแลโดยตรงครับ เพราะต้องอาศัยข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมมากกว่านี้
หมายเหตุ ในกรณีที่ต้องการถามคำถามต่อจากคำถามเดิม สามารถพิมพ์คำถามต่อจากที่หมอตอบได้เลยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อันนี้คือคำถามที่หมอตอบครั้ที่แล้วนะครับ ตอบโดย กันตณัฏฐ์ อยู่ตรีรักษ์ (นพ.) สวัสดีครับ ยาทั้ง 3 ตัว Efavirenz, Lamivudine และ Tenofovir นั้น เป็นยาที่ใช้ในการต้านไวรัสทั้งหมดครับ เหตุผลที่ต้องรับประทานยาทั้งหมด 3 ตัวก็เพื่อให้สามารถกดเชื้อไวรัสให้เหลือในปริมาณที่น้อยที่สุด และป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาครับ ยา Efavirenz นั้นจะต้องรับประทานยาทุก 12 ชั่วโมง ส่วน Lamivudine และ Tenofovir จะต้องรับประทานทุก 24 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ระดับยาในเลือดคงที่ ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องรับประทานสัมพันธ์กับมื้ออาหารครับ ถ้าหากไม่ต้องการมห้เกิดความสับสนก็ให้รับประทานตามเวลาตามข้างซองยาเลยครับ แต่ถ้าหากไม่สะดวกรับประทานยาในเวลา 8.00 และ 20.00น. ก็อาจเปลี่ยนเวลารับประทานยาเป็น - 9.00 และ 21.00น. หรือ - 10.00 และ 22.00น. เป็นต้น สิ่งที่สำคัญคือควรรับประทานยาให้ตรงเวลาตามที่กำหนดไว้ครับ ถ้าหากต้องการเปลี่ยนเวลารับประทานยา ก็ต้องรับประทานยาในเวลานั้นไปทุกวันครับ การรับประทานยาที่สม่ำเสมอในรูปแบบนี้จะเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสดื้อยาครับ ////// ผมอยากจะถามว่าตอนนี้ผลตรวจ ทั้งของผม(โดนเข็มทิ่ม) และ อีกฝ่าย(หมอคงพอจะจำได้ที่เคยปรึกษาไปแต่แรกใช่หมครับ) เนกาทีฟหมด อยากจะหยุดกินยาได้ไหมครับ เพราะยาทำให้อ้วก ท้องเสียกินอะไรไม่ค่อยได้เลยครับ ทำงานแทบไม่ไหว แต่อีกประมาณวันที่ 21-22 ยาก็หมดแล้ว แล้วถ้าหยุดกินยาจะมีผลอะไรไหมครับ จะทำให้เชื้อในอนาคตดื้อยาไหมครับหากได้รับความเสี่ยงอีก ถึงจะได้รับยาแก้เวียนศีรษะจากแพทย์แต่ก็ไม่ค่อยช่วยอะไรเลยครับ กินยาก็ทำให้ง่วงเลยกินยาแก้เวียนศีรษะแค่ก่อนนอน แล้วผมอยากจะถามหมอต่อผมถามต่อจากที่หมอตอบได้เลยไหมครับ หรือต้องตั้งถามใหม่
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)