July 04, 2019 18:02
สวัสดีค่ะ คำถามของคุณอาจกว้างเกินไป ทำให้คุณหมอไม่สามารถให้ความเห็นได้ กรุณาอธิบายอาการอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไร บริเวณไหน เป็นมานานและถี่แค่ไหน รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เพศ อายุ ยาหรืออาหารเสริมที่ทานอยู่ เป็นต้น หรือคุณอาจค้นหาคำตอบคุณหมอ และกว่า 5,000 บทความสุขภาพในเว็บของเรา หากคุณถามเกี่ยวกับโรงพยาบาล คุณสามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของโรงพยาบาลได้ที่นี่ หรือส่งอีเมลมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
โรคG6PD คนที่เป็นสามารถใช้ชีวิตได้ปกติเลยครับ เพียงเเต่ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้เม็ดเลือดเเดงเเตกครับ
สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเม็ดเลือดแดงที่พบบ่อย ได้แก่
1.ยารักษาโรค: เช่น ยาแอสไพริน(Aspirin) ยาโรคหัวใจ ยารักษามาเลเรีย ยาซัลฟา(Sulfa drug) เป็นต้น เมื่อป่วย G6PD จึงไม่ควรซื้อยากินเอง ควรพบแพทย์และต้องแจ้งแพทย์ทราบว่าเป็นโรคนี้อยู่ หรือกรณีซื้อยากินเองต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอร่วมกับต้องแจ้งเภสัชกรว่าตนเองเป็นโรคนี้ครับ
2.อาหาร: ผู้เป็นโรคนี้ห้ามกิน ถั่วปากอ้า ในปัจจุบันพบว่า ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ “อาจ”มีผลต่อเม็ดเลือดแดงได้เช่นกัน เช่น บลูเบอร์รี่, ไวน์แดง, พืชตระกูลถั่ว, โทนิค, โซดาขิง, เป็นต้น โดย”อาจ”มีผลต่อผู้ป่วยบางรายเท่านั้นครับ จึงจำเป็นต้องสังเกตและเรียนรู้ด้วยตัวเองว่ามีอาการผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือไม่
3. สารระเหยเพื่อช่วยดับกลิ่น: เช่น ลูกเหม็น
4. ภาวะการติดเชื้อต่างๆ(โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ): ก็ทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกได้
สรุปคือที่ห้ามกินเเน่ๆคอถั่วปากอ้าครับ ส่วนอย่างอื่นพอกินได้บางคนอาจไม่ได้มีปัญหาครับ
อย่างไรก็ตามให้สังเกตอาการครับ ถ้ามีปัสสาวะสีดำ อ่อนเพลียมาก แบบนี้รีบพาพบเเพทย์ครับ อาจเป็นอาการของเม็ดเลือดเเดงเเตกเฉียบพลันครับ เเละครั้งต่อไปให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ผมเป็นโรคg6pdทานได้มั้ย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)