ภัยอันตราย และโรค อันเกิดจากการ ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภัยอันตราย และโรค อันเกิดจากการ ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคจากประกอบอาชีพมีสาเหตุใหญ่ ดังนี้

เกิดจากสารเคมี

a14.gif การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีได้แก่ งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้สารเคมี ในรูปของใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิต ในรูปสารละลาย หรือสารผสม อาจจากผลพลอยได้หรือของเสียจากการผลิต สารเคมีต่าง ๆ จัดได้กลุ่มคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. กลุ่มที่มีลักษณะเป็นก๊าซ ที่เป็นก๊าซพิษ เช่น คาร์บอนมอนน๊อกไซด์ จากโรงงานที่มีการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ก๊าซนี้เมื่อสูดหายใจเข้าไปรวมกับเม็ดเลือดทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถดูดก๊าซออกวิเจนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ นานเข้าคนใช้หมดสติ ถ้ามากถึงตายได้ ในเมืองหลวงที่มีรถยนต์วิ่งแล่นติดกันบนท้องถนน จะพบว่ามีก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ มากจนเกิดอากาศสิ่งแวดล้อมเป็นพิษได้

2. กลุ่มที่มีลักษณะเป็นสารละลาย เมื่อสูดไอระเหยหรือดื่มสารละลายที่เป็นพิษเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย จะมีอาการทางประสาท และอันตรายถึงตายได้ เช่น เมทธิลแอลกอฮอล์โดยปกติใช้จุดไฟ หากคนเราไม่ระมัดระวังสูดไอระเหยหรือดื่มเข้าไปจะเกิดภาวะเป็นกรดในร่างกาย จะมีอาการเพ้อ สายตามองไม่เห็น บางทีเกิดหมดสติได้ ทางกองควบคุมอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จึงมีระเบียบให้ผู้ปรุงเติมสีไม่ทำให้ช่วยรับประทาน เช่น สีม่วงหรือสีฟ้า และแต่งกลิ่นให้เหม็น ๆ เล็กน้อยเพื่อไม่ให้มีการเข้าใจผิดที่จะนำมารับประทานได้ สารละลายอีกชนิดหนึ่งที่มีพิษ และเด็กวัยรุ่นชอบสูดดมคือ ทินเนอร์ ที่ใช้ผสมสีน้ำมันพ่น ทำให้สีแห้งเร็ว หากสูดดมไอระเหยมาก จะมีอาการทางประสาท และเสพติดด้วย

3. ฝุ่นละออง ของสารหลายชนิดที่สูดเข้าปอดมาก จะเกิดการอักเสบของปอดได้ พบบ่อยก็ฝุ่นทรายที่มีสารซิลิคอนเมื่อเข้าปอดจะเกิดปฏิกิริยาในปอดรุนแรงมาก และยังให้เกิดวัณโรคได้ง่าย หากรับเชื้อวัณโรคเข้าไปอีก ฝุ่นอีกกลุ่มคือจำพวกฝุ่นผ้าย, ฝุ่นโรงสีข้าว, ฝุ่นจากชานอ้อยแห้ง, ฝุ่นเกสรฟางข้าว จะไม่รุนแรงมากเพียงแต่หลอดลมส่วนปลายหดตัวมีไอบางครั้งหอบได้

4. สารเคมีจำพวกโลหะ ที่พบบ่อยคือพวกตะกั่ว จากผู้มีอาชีพเชื่อมโลหะ ตะกั่ว ตัวเรียงพิมพ์ในโรงพิมพ์ โรงงานทำแบตเตอรี่ หรือเอาเศษแบตเตอรี่เก่า ๆ มาทำถนนเข้าบ้าน ผู้ทำงานเหล่านี้จะรับเอาสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายทีละน้อย ๆ โดยสารจะเข้าไปอยู่ในเยื่อกระดูก กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงข้อมือ ข้อเท้าตก ในสมองจะมีอาการฟุ้งซ่านเพ้อคลั่ง นอนไม่หลับ หากผู้ป่วยมีอาการของพิษตะกั่วมากดูที่เหงือกจะพบเป็นเส้น ๆ สีน้ำเงิน สารอีกชนิดหนึ่งคือ สารปรอทเข้าสู่ร่างกาย 2 ทาง คือ ดูดซึมทางผิวหนัง และกินทางปาก จากสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีสารปรอทปน โดยจับปลา สัตว์น้ำที่อยู่แม่น้ำ หรือทะเล ที่มีโรงงานถ่ายเทสารปรอทเป็นของเสียลงไปสารปรอทจะเข้าสู่สัตว์น้ำเหล่านี้ได้ คนกินปลา, ปู, กุ้ง ที่มีสารปรอทก็เข้าสู่ร่างกายได้ อาการทางสมองมีหงุดหงิด มือสั่น เดินเซสายตาไม่ปกติได้


เกิดจากสถานภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

a14.gif สภาพสิ่งแวดล้อมในโรงงานที่ไม่เหมาะสม คนทำงานจะเสี่ยงต่อกับอันตราย เช่น ร้อนจัด หนาวจัด แสงสว่างไม่มากพอ เสียงดังเกินไป ความกดดันของอากาศ และความสั่นสะเทือน นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ยังอาจจะทำให้คนงานได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องจักรกล

1. ความสั่นสะเทือน เครื่องมือ เช่น เครื่องเจาะถนน เจาะหิน ตอกหมุด ขัดพื้น ทำให้คนงานมีอาการอักเสบของข้อมือ ข้อไหล่ได้มาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. เสียงดัง เป็นปัญหามากเช่นกัน เช่น คนทำงานในการทำความสะอาดสนิมหม้อน้ำ ไอน้ำ โรงงานทอผ้า เสียงดังติดต่อกันนาน ๆ ที่มีความดัง วัดได้จากเครื่องมือเกิน 80 เดซิเบลส์ ทำให้ประสาทของหูพิการได้ ดังนั้นคนงานจะมีเครื่องอุดหู เพื่อลดความดังจากงานดังกล่าวได้

3. ความร้อน อุณหภูมิของคนเราปกติเท่ากับ37 องศาเซลเซียส ได้จากการเผาผลาญสารอาหาร และการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย หากร่างกายได้รับเพิ่มจากสภาพภายนอกมาก เช่นแสงอาทิตย์ จากแหล่งไฟ เช่น เตาไฟฟ้า เตาถ่านหิน และอื่น ๆ หากสิ่งแวดล้อมนั้นไม่มีการถ่ายเทของอากาศ อากาศแห้งทำให้ได้รับความร้อนสู่ร่างกายมาก ร่างกายจะปรับไม่ทันจะเกิดอาการเป็นลม ไข้สูงตัวร้อนและตะคริว อย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นจะมีอาการอ่อนเพลีย จึงควรพักผ่อน ไม่ควรกลับเข้าไปทำงานทันที

4. ความเย็น เมืองไทยเราเป็นเมืองร้อน และจะพบได้ในคนทำงานในห้องเย็น ความเย็นจัดสามารถทำให้เส้นเลือดฝอยตีบเล็กลง จะพบมากบริเวณปลายมือ ปลายเท้า จมูกและใบหู เป็นต้น อาการเล็กน้อยจะมีอาการที่บริเวณใบหู จมูก นิ้วมือ เท้า มีลักษณะแดง ร้อนตึง และปวด ถ้าถูกความเย็นจัดจะชื้นมากนาน ๆ เส้นเลือดจะตีบตัน เกิดการตายของบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงได้

5. พลังงานเกิดจากแม่เหล็กไฟฟ้า จะเป็นพลังงานที่ออกมาเป็นรูปของคลื่นแสง เช่น คลื่นแสงอุลตร้าสีม่วง และคลื่นความร้อน เช่น ไมโครเวฟ ถ้าถูกแก้วตาทำให้เกิดต้อกระจำเป็นโรคที่ทำให้ตาบอกได้ โรคนี้เกิดจากทำงานกลางแดด เช่น ชาวนา กลาสีเรือ และทำงานเกี่ยวกับการใช้เรด้าร์, แสงอุลตร้าสีม่วงหากถูกผิวหนังนาน ๆ เกิดอักเสบกลายเป็นมะเร็วได้ แสงและความร้อนเกิดการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า หากไม่มีเครื่องป้องกันจะทำให้ผู้ทำงานเกิดผิวหนังบริเวณหน้าอักเสบปวดแสบ และเยื่อบุตาอักเสบ หากนานเข้าอาจทำให้แก้วตาขุ่นมัว และถึงตาบอกได้

6. กัมมันตภาพรังสี เกิดจากสารกัมมันตภาพรังสีในเหมืองพลังงานปรมาณูและงานรังสี-เอกซ์ เมื่อสัมผัสนาน ๆ และมาก (ความเข้ม) อาการรุนแรงได้ เช่น ผิวหนังอักเสบ เกิดแผลตาเป็นต้อกระจก ไขกระดูกถูกทำลาย จึงเกิดระบบสร้างเม็ดเลือดถูกทำลายคือจะเกิดมะเร็วเม็ดเลือดขาว


เกิดจากการติดเชื้อของโรค

a14.gif ในบริเวณโรงงาน สถานที่ทำงานหากมีความสกปรก อับทึบ และชื้นจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ฯลฯ ทำให้สิ่งแวดล้อมมีแต่เชื้อโรคต่าง ๆ อาศัยอยู่ ดังนั้นคนงานทำงานในสิ่งแวดล้อมมีแต่เชื้อโรคต่าง ๆ อาศัยอยู่ ดังนั้นคนงานทำงานในสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ จะได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เชื้อโรคอาจจะติดมาจากสัตว์ และผลผลิตสิ่งของต่าง ๆ เช่น โรงฟอกหนัง โรงงานป่นกระดูก อาจจะติดเชื้อโรค


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Long-term Respiratory Health Effects in Textile Workers. National Institute of Environmental Health Sciences (NIEHS). (https://www.niehs.nih.gov/research/programs/geh/geh_newsletter/2013/9/spotlight/longterm_respiratory_health_effects_in_textile_workers.cfm)
Chemicals from textiles to skin: an in vitro permeation study of benzothiazole. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6133113/)
What You Know Can Help You - An Introduction to Toxic Substances. New York State Department of Health. (https://www.health.ny.gov/environmental/chemicals/toxic_substances.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม