เลือดในฐานะของเหลวที่มีคุณค่าของชีวิต
เลือด นับว่าเป็นของเหลวมหัศจรรย์ที่ช่วยให้มนุษย์ (รวมทั้งสัตว์) ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข ทั้งนี้หากจะแยกตามหน้าที่แล้วจะพบว่า
1. เลือดเป็นของเหลวของชีวิต (fluid of life) เนื่องจากเลือดเป็นผู้รับออกซิเจนจากปอดพาไปแจกจ่ายส่งให้แก่เซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย และรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาส่งให้ปอด เพื่อปลดปล่อยให้พ้นออกไปนอกร่างกาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เวลาใดที่นำส่งออกออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ ก็ย่อมจะเกิดปัญหากับสุขภาพแก่เจ้าของร่างกายมากน้อยตามลำดับ เวลาใดที่ส่งออกออกซิเจนไม่ได้เลย ชีวิตก็จะดับลงทันที
2. เลือดเป็นของเหลวแห่งการเจริญเติบโตเนื่องจากเลือดเป็นผู้พาสารอาหารวิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งย่อยสลายพร้อมที่จะใช้งานได้รวมทั้งฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมต่างๆ ไปส่งให้เซลล์สร้างความเจริญเติบโต หรือซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอหรอ ก็จะทำให้เกิดมีอวัยวะต่างๆของร่างกายสมบูรณ์เจริญเติบโตขึ้นตามขนาดและทำหน้าที่ได้ตามที่ควรจะเป็น
3. เลือดเป็นของเหลวแห่งสุขภาพ เนื่องจากหากเลือดที่เซลล์เม็ดเลือดแดงในน้ำเลือดมีขนาดและจำนวนสมบูรณ์แบบครบถ้วนก็ย่อมทำให้เจ้าของร่างกายมีสภาวะสุขภาพเป็นปกติดีเช่นคนทั่วไปตั้งแต่ในลำดับแรกของชีวิตและในกรณีหากร่างกายถูกล่วงล้ำโจมตีโดยสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกายเช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราหรือสารพิษใดใดหรือเกิดสิ่งแปลกปลอมจากภายในร่างกายเองเช่นเกิดมีเซลล์กลายพันธุ์ (ก่อนเป็นเซลล์มะเร็ง) เลือดโดยเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆก็มีวิธีจัดการกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสุขภาพของเจ้าของร่างกายให้เป็นปกติสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยที่เลือดเป็นของเหลวซึ่งไหลเวียนผ่านไปทุกอวัยวะและผ่านไปทุกซอกทุกมุมตลอดทั่วร่างกายเลือดจึงเปรียบเสมือนเป็น "พาหนะ" รับเอาสารแปลกปลอมที่แสดงถึงความผิดปกติของอวัยวะต่างๆติดมากับน้ำเลือดนั้นด้วย
ฉะนั้น การตรวจสุขภาพโดยทั่วไปในทางการแพทย์ปัจจุบัน นอกจากจะใช้วิธีการซักถามประวัติ การตรวจด้วยสายตา และการฟังด้วยหูแล้ว โดยธรรมดาการเจาะเลือดตรวจดูค่าต่างๆก็มักจะกระทำในลำดับถัดไปทั้งนี้โดยมากก็จะให้ผลค่อนข้างแน่นอนและแม่นยำ
วัตถุประสงค์ทั่วไปของการตรวจเลือด
ท่านผู้อ่านบางท่านอาจนึกจะนึกไม่ชอบใจหากคุณหมอท่านสั่งให้ไปรับการเจาะเลือดเพราะกลัวว่าจะต้องเจ็บตัวจากการถูกเข็มเจาะจนทำให้นึกสงสัยว่าจะเอาเลือดไปทำอะไร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โดยธรรมดาแพทย์ท่านจะสั่งเจาะเลือดใน 6 กรณีสำคัญดังนี้
1. กรณีการตรวจสุขภาพตามระยะเวลา เช่น ตรวจโรคประจำปี
2. กรณีเกิดมีสภาวะสุขภาพไม่ปกติผิดไปกว่าแต่ก่อน เช่น เริ่มมีอาการปวดนิ้วเท้า ก็อาจจำเป็นต้องตรวจเลือดว่าเป็นโรคเกาต์ (gout) หรือไม่
3. กรณีมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคโลหิตจาง ก็จำเป็นต้องถูกเจาะเลือดไปตรวจเพื่อจะติดตามให้ทราบสภาวะที่เป็นจริงของผู้ป่วย
4. กรณีที่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ว่ายาหรือรังสีบำบัดหรือวิธีการอื่นใดก็ตาม ก็จำเป็นต้องให้มีการเจาะเลือดตรวจ เพื่อติดตามผลการรักษาว่าดีขึ้นหรือไม่มากน้อยเพียงใด
5. กรณีที่แพทย์ท่านประสงค์จะทราบสภาวะของอวัยวะเจาะจงบางอย่างว่าผิดปกติหรือไม่เพียงใด เช่น ตับ ไต ต่อมลูกหมาก ฯลฯ การเจาะเลือดวินิจฉัยก็จะทำให้ทราบถึงสิ่งบอกเหตุในชั้นต้นโดยยังไม่ต้องมีการกระทำใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งกับอวัยวะนั้นเลย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
6. กรณีที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีชีวิต จะโดยแพทย์แนะนำหรือสั่งให้ปฏิบัติ หรือตัวผู้ป่วยริเริ่มกระทำการเองก็ตาม เช่น การเลิกสูบบุหรี่การงดดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การทำสมาธิลดอาการเครียด ฯลฯ พฤติกรรมที่ดีเหล่านี้ควรจำเป็นต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อทราบถึงผลดีต่อสุขภาพของตนเองว่าดีขึ้นมากน้อยเพียงใดและเพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติอย่างยั่งยืนต่อไป
สรุปว่า การตรวจสุขภาพโดยทั่วไปของร่างกายมนุษย์ไม่ว่า ในขณะกำลังยังมีได้ป่วยไข้หรือเกิดอาการป่วยขึ้นมาบ้างแล้วหรือได้รับการรักษาบ้างแล้วแทนที่แพทย์ท่านจะต้องไปตรวจทุกอวัยวะสำคัญทั่วร่างกาย ท่านก็อาจใช้วิธีเจาะเลือดโดยวิเคราะห์เลือกเพียงนิดเดียวก็ได้ข้อสันนิษฐาน สามารถวินิจฉัยถึงความเป็นปกติหรือความผิดปกติของอวัยวะหรือระบบต่างๆได้เกือบทั่วร่างกาย
ผมจึงอยากเปรียบเทียบให้ท่านผู้อ่านคิดกันเล่นเล่นและสนุกแบบเด็กๆว่า
น้ำเลือด ที่วิ่งไหลเวียนไปทั่วร่างกายนั้นเปรียบเสมือน "ขบวนรถไฟ" ที่มีทั้งโบกี้สินค้าและโบกี้ผู้โดยสาร
หลอดเลือดที่เหลือต้องวิ่งไหลเวียนผ่านไปนั้นคือ "รางรถไฟ" ซึ่งมีรางสีแดงและสีรางสีดำ
- ถ้า “รางฯ” มีขี้สนิม (มีไขมัน) มากดังนั้นรถไฟก็คงวิ่งด้วยความขลุกขลัก ชักช้า
- ถ้า “รางฯ” มีสิ่งกีดขวางการรางไว้ (เกิดมีพล้าคไขมันอุดตัน) ก็จะทำให้"รถไฟ" อาจหยุดชะงักเล่นต่อไปไม่ได้
- ถ้า “รางฯ” ไม่แข็งแรงแต่ขณะเดียวกันก็มีสิ่งกีดขวางรางคราวนี้ "รถไฟ" ก็อาจวิ่งแหกโค้งตกรางไปทั้งขบวน เช่น เส้นเลือดแตกในสมอง
น้ำเลือด ที่เปรียบเป็นขบวนรถไฟนั้นย่อมประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ (เหมือนหัวรถจักร) ตามธรรมดาก็ยังต้องมีความเป็นปกติสมบูรณ์แบบรถไฟทั้งขบวนจึงจะถูกพาวิ่งไปด้วยความราบรื่นนอกจากนี้ในน้ำเลือด (ขบวนตู้รถไฟ) ซึ่งวิ่งผ่านไปรับสารแปลกปลอมหลายชนิด ผู้โดยสารจากอวัยวะต่างๆสถานีรถไฟฉะนั้นในขบวนรถไฟจึงอาจเต็มไปด้วย “จารชน” ที่เรามีโอกาสจับตัวมาสืบสวนสอบสวน(วัดจำนวนหรือวัดปริมาณ) ได้อย่างง่ายดาย
โดยวิธีคิดเล่นๆ แบบนี้ผมจึงอาจจำแนกเป้าหมายเจาะจงของการตรวจสภาพเลือดออกมาตรวจได้ใน 2 เป้าหมาย
การตรวจสภาพเลือดมีความมุ่งหมายเพื่อ
1. ความมุ่งหมายแรก ต้องการตรวจดูความสมบูรณ์ของเซลล์เม็ดเลือด (เสมือนตรวจดูสภาพรถไฟทั้งขบวน) ซึ่งมักเรียกกันในแบบฟอร์มใบเจาะเลือดว่า Complete blood count ปกติจะใช้คำย่อว่า "CBC" แปลเป็นไทยังเอาใจความก็คือ "การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด"
การเจาะเลือดหาค่า CBC ถือว่าเป็นตัวเลขในการแสดงสภาวะคุณภาพที่สำคัญยิ่งที่สุดของเจ้าของร่างกายเนื่องจาก
ก) เซลล์เม็ดเลือดชนิดใดมีสภาพผิดปกติเช่นมีขนาดผิดปกติก็ย่อมแสดงสภาวะของโรคเลือดมีจำนวนต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ปกติก็ย่อมแสดงว่าเกิดความผิดปกติจนถึงระดับเป็นโรคเลือดก็ได้มีรูปร่างผิดมาตรฐานก็ยิ่งมีโรคร้ายแรงที่ผิดปกติ
ข) หากเดิมเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิดก็มีรูปร่างขนาดและจำนวนเป็นปกติดีแต่เมื่อใดเวลาต่อมาไปเจาะเลือดหาซีบีสี่ได้ผลผิดปกติไปจากเดิมก็ยังแสดงถึงสภาวะ ป่วยไข้ที่อาจเริ่มแสดงอาการแล้วหรือยังไม่ได้แสดงอาการก็ได้
2. ความมุ่งหมายที่สอง ต้องการตรวจดูความผิดปกติของสารบางอย่างในเลือดว่ามีมากหรือน้อยเกินไปหรือสิ่งแปลกปลอมที่ปะปนมากับน้ำเลือดอยู่ในระดับใด (เหมือนมี "จารชน" ปนมาอยู่ในตู้รถไฟ) ซึ่งเป็นการตรวจเลือดที่ต้องระบุชื่อ "สาร" อย่างเฉพาะเจาะจงว่าต้องการทราบตัวอะไร เช่น
FPG ต้องการทราบค่าน้ำตาลในเลือด (พลาสมา) ภายหลังการงดอาหารเพราะว่าถ้าสูงเกินไปอาจแสดงสภาวะของโรคเบาหวาน
Uric Acid ต้องการทราบว่ามีค่ากดยูริกเกินเกณฑ์หรือไม่เนื่องจากหากเกินเกณฑ์ไปมากๆอาจแสดงอาการของโรคปวดข้อนิ้วเท้าหรือโรคเกาต์ "gout"ก็ได้
PSA ต้องการทราบสารพิเศษจากต่อมลูกหมากว่ามีค่าเกินเกณฑ์หรือไม่ในกรณีตรวจพบว่ามีค่าเกินเกณฑ์ไปมากๆอาจแสดงว่ามีสภาวะต่อมลูกหมากโตหรือสันนิษฐานว่ากำลังเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็ได้
ในการนี้จึงสรุปได้ว่าในการเจาะเลือดตรวจ โดยทั่วไปคุณหมอท่านประสงค์จะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเลือดใน 2 เรื่องใหญ่คือ 1) ความสมบูรณ์ของเซลล์เม็ดเลือดโดยครบถ้วน และ/หรือ 2) สารประกอบชีวเคมีที่ลอยปนอยู่ในน้ำเลือดว่าตัวใดมีค่าต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ปกติอันจะนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่ากำลังจะเกิดสภาวะผิดปกติที่อวัยวะใดหรือระบบใดหรือกำลังเป็นโรคอะไร
แต่ผมขอย้ำไว้ในชั้นต้น ณ ที่นี้ว่าค่าผลตรวจเลือดมิใช่ปัจจัยชี้ขาดหรือข้อปลุกชีว่าท่านจะต้องเป็นโรคนั้นโลกนี้แน่แน่เพราะโดยธรรมดาแพ้ทางจะต้องใช้วิธีการวินิจฉัยโรค (diagnosis) ด้วยเครื่องมืออื่นเพื่อยืนยันสภาวะความผิดปกติให้แน่ชัดอีกด้วยเสมอ เช่นตรวจดูด้วยการฉาย X-ray ตรวจดูโดยกล้องตรวจพิสูจน์ด้วยภาพสะท้อนจากคลื่นแม่เหล็ก MRI (magnetic resonance imaging) หรือตรวจด้วยเครื่องสะท้อนอันตราซาวด์ (ultrasound) หรือเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ฉายให้เห็นภาพเสมือนรูปผ่าตัดทางขวางต่ออวัยวะใดๆ ที่เรียกว่า "CT.Scanning" (computerize topography scanning) ฯลฯ