August 25, 2019 22:50
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ถ้ามีความเสี่ยงตั้งครรภ์ เบื้องต้นแนะนำให้ซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองมาทดสอบก่อนครับ โดยเก็บปัสสาวะหลังตื่นนอนซึ่งเป็นปัสสาวะใหม่ครับ
และถ้าผลลบแนะนำให้ทดสอบซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรกอย่างน้อย2-3วัน หรือ1สัปดาห์ครับ (อาจเปลี่ยนยี่ห้อการตรวจครับ) ถ้าไม่ตั้งครรภ์ การที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอนั้นอาจเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุครับ เช่น
- มีปัญหาการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- รังไข่ผิดปกติ เช่น การมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่
- ฮอร์โมนในเลือดผิดปกติ
- ความเครียด/วิตกกังวล/อารมณ์แปรปรวน
- การออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
เป็นต้นครับ
แนะนำจดบันทึกรอบประจำเดือนให้ชัดเจน และไปพบแพทย์สูตินรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
และแนะนำให้ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้าหากเพิ่งได้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันไป ในอันดับแรกหมอก็แนะนำว่าควรหายาคุมฉุกเฉินมารับประทานให้เร็วที่สุดก่อน โดยให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ก็จะช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ลงได้ 75-85% แต่ถ้าหากเลยช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้วก็ยังอนุโลมให้รับประทานภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไปครับ
และหลังจากนี้ก็ให้รอสังเกตประจำเดือนต่อไปอีกระยะหนึ่งครับ ถ้าหากประจำเดือนยังไม่มาก็ให้ลองตรวจการตั้งครรภ์ยืนยันดู โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ถ้าหากตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ประจำเดือนที่มาช้าก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันย่อมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ครับ เบื้องต้นถ้ายังไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้ทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เดือนที่แล้วประจำเดือนมาวันที่ 13-15 วันที่ 16 มีจางๆ แล้วมีเพศสัมพันธ์วันที่ 24 ไม่ได้ป้องกัน หลั่งใน วันนี้วันที่ 25 แล้วประจำเดือนยังไม่มา ช่วงนี้มีอาหารทานเยอะ หิวบ่อย น้ำหนักขึ้นประมาณ 3 กก. ปวดหัว หงุดหงิดง่าย เพลีย เหมือนจะมีไข้ ปวดหลัง ปวดท้องเหมือนประจำเดือนจะมา แต่ไม่มา ฉี่บ่อย มีโอกาสจะตั้งครรภ์ไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)