January 25, 2017 13:06
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ถ้าผ่าแล้วโอกาสเป็นมะเร็งน่าจะน้อยลงค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเกิดมะเร็งยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยค่ะ หลังผ่าตัดแล้วควรไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามระยะเวลาที่คุณหมอนัดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
รัตน์พล อ่ำอำไพ (แพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช)
ขึ้นอยู่กับว่าการผ่าตัดในครั้งก่อนที่คุณไปผ่าตัดมดลูกและรังไข่นั้นผ่าตัดจากสาเหตุใด
ในกรณีที่ผ่าตัดด้วยกลุ่มโรคที่ไม่ใช่มะเร็งเช่นถุงน้ำรังไข่ชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง หรือ ผ่าตัดด้วยเรื่องก้อนเนื้องอกมดลูกหรือภาวะมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก ในกรณีที่ผ่าตัดด้วยสาเหตุเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งของอวัยวะที่โดนตัดไปแล้ว คือมะเร็งมดลูก มะเร็งเยี่ยเบื่พงษ์มดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งท่อนำไข่ น้อยมากๆ ตรงไปตรงมาเพราะโดนตัดออกไปหมดแล้ว แต่ในอวัยวะอื่นๆเช่นปากช่องคลอดหรือช่องคลอดยังมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งได้เท่ากับคนทั่วไปที่ไม่เคยผ่าตัดมาก่อน
ส่วนในกรณีที่ผ่าตัดด้วยเรื่องของมะเร็งไม่ว่าจะเป็นมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก ปากมดลูก ท่อนำไข่ หรือรังไข่ก็ตาม หลังผ่าตัดควรมารับการตรวจติดตามต่อเนื่อง เพราะยังคงมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์มะเร็ง หรือระยะของโรคครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ผ่าตัตมดลูกรังไขมาแล้วปีกว่ายกของหนักรู้สึกเจ็บจี้ดๆๅจะเป็นไรมั้ยคะ นานมั้ยกว่าจะยกของหนักได้
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผ่าตัดมดลูกรังไข่มาแล้ว3ปีมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้มั้ยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)