เรื่องน่ารู้ขั้นตอนการคลอด การคลอดแบบปกติ และการผ่าตัด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เรื่องน่ารู้ขั้นตอนการคลอด การคลอดแบบปกติ และการผ่าตัด

การคลอดปกติตามธรรมชาติ

a10.gif

 การคลอดแบบปกติ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1

เริ่มตั้งแต่เจ็บครรภ์จริง คือ เจ็บครรภ์สม่ำเสมอเป็นระยะเนื่องจากมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จนกระทั่งถึงเวลาที่ปากมดลูกเปิดประมาณ 10 ซม.
ช่วงนี้ มีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด ระยะนี้คุณแม่คงเจ็บครรภ์ค่อนข้างห่าง 5-10 นาทีต่อครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที และจะเจ็บครรภ์ถี่ขึ้นนานมากขึ้น อาการปวดจะปวดทั่วท้องบริเวณหลังส่วนล่าง แถวเอวและกระเบนเหน็บ อาจปวดถึงต้นขา ในช่วงที่ปวดมาก ๆ คุณหมอจะฉีดยาแก้ปวดให้บรรเทาอาการปวด แต่ถ้ารุนแรงก็จะใช้วิธีการบล็อกหลัง เพื่อระงับความเจ็บปวด
 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในระยะนี้ทารกจะก้มศีรษะ เป็นส่วนนำออกมาทางช่องคลอดมีการหมุนศีรษะอย่างช้า ๆ พร้อมกับเคลื่อนตัวลงต่ำอย่างช้า ๆ

ขั้นที่ตอน 2

เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดหมด ทารกคลอดออกมาสู่โลกภายนอกโดยทารกจะเคลื่อนศีรษะในลักษณะก้มหน้า ให้ส่วนที่แคบที่สุดของศีรษะค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกมา พอศีรษะพ้นช่องคลอด คุณหมอก็จะใช้มือช่วยดึงตัวเด็กออกมา

ในช่วงนี้คุณแม่จะเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน จะปวดทั่วท้องเป็นระยะเนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่ขึ้น จะปวดบริเวณหลังส่วนล่าง กระเบนเหน็บ และก้นกบ ยาแก้ปวดก็ช่วยไม่ได้
 

การเจ็บปวดจะหายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อลูกออกมาพ้นช่องคลอดกลับกลายเป็นความปลื้มปิติ เมื่อคุณแม่ได้ยินเสียงร้องไห้ของลูกน้อย

ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนสุดท้ายของการคลอด คือระยะที่คุณแม่ผ่านพ้นความเจ็บปวดไปแล้ว ทารกน้อยออกมาสู่โลกกว้างด้วยความปลอดภัย หลังจากนี้คุณแม่ต้องคลอดรกตามมา ใช้เวลาในการคลอด 5-10 นาที ไม่มีการเจ็บปวดแต่อย่างใด

การคลอดโดยผ่าตัดคลอด

a10.gif

 การผ่าตัดคลอดคือการนำทารกออกมาทางหน้าท้อง ในกรณีที่ไม่สามารถคลอดตามธรรมชาติแบบปกติได้ แพทย์จะทำการผ่าตัดในกรณีดังนี้


  1. ทารกตัวโตเกินไป
  2. กระดูกเชิงกรานแคบ ทารกไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้
  3. ทารกอยู่ในท่าไม่ปกติคือไม่เอาหัวกลับลง อยู่ในท่าขวาง
  4. ทารกเอาก้นลง ไม่สามารถคลอดตามปกติได้
  5. เคยได้รับการผ่าตัดที่มดลูกมาก่อน เช่น ผ่าตัดในครรภ์ก่อนผ่าตัดมดลูก
  6. ทารกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตราย รกเกาะต่ำ ขาดออกซิเจน
  7. คุณแม่อายุมาก
  8. คุณแม่เป็นโรคร้าย เช่น ตัวบวม ความดันโลหิตสูง

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Types of Delivery for Pregnancy. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9675-pregnancy-types-of-delivery)
Childbirth Types: Natural Childbirth, Water Birth, Home Birth. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/7_childbirth_and_delivery_methods/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม