การตรวจวิเคราะห์น้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Analysis)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

การตรวจวิเคราะห์ Amniotic Fluid หรือการเจาะถุงน้ำคร่ำ สามารถทำเพื่อจุดประสงค์ได้หลายอย่าง เช่น การหาความผิดปกติของโครโมโซม การหาความผิดปกติทางพันธุกรรม การตรวจหาการติดเชื้อของตัวอ่อน เป็นต้น แต่การตรวจทำได้แค่เพียงวินิจฉัยความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้

ชื่ออื่น: Amniocentesis, Amnio, Culture - amniotic fluid, Culture - amniotic cells, Fetal lung maturity tests

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จุดประสงค์การตรวจวิเคราะห์ Amniotic Fluid

การวิเคราะห์น้ำคร่ำอาจถูกนำมาใช้สำหรับหลายวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • ตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมหรือความผิดปกติทางพันธุกรรม
    • การวิเคราะห์โครโมโซม: ทำโดยใช้วิธีตรวจ Cytogenetics หรือ Chromosomal microarray analysis ทั้งสองวิธีนี้ช่วยตรวจหาโครโมโซมผิดปกติได้ โดยการตรวจนี้ช่วยประเมินโครโมโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศในเซลล์ที่ได้จากตัวอย่างน้ำคร่ำ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยหลากความผิดปกติ เช่น
      • กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 มากกว่าปกติ
      • กลุ่มอาการเอ็ดวาร์ด (Edwards Syndrome) เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 18 มากเกินไป
      • กลุ่มอาการ Patau (Patau Syndrome) เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 13 มากเกินไป
      • กลุ่มอาการ Klinefelter (Klinefelter Syndrome) ความผิดปกติของโครโมโซมเพศที่พบบ่อยที่สุดในผู้ชาย ซึ่งเกิดจากการมีโครโมโซม X มากกว่าปกติ
      • กลุ่มอาการ Turner (Turner Syndromeเกิดจากการขาดโครโมโซม X ในผู้หญิง
    • การตรวจทางพันธุกรรม (Molecular testing) : ช่วยประเมิน DNA ของฟีตัสเพื่อหายีนกลายพันธุ์ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือผู้ที่มีผลอัตราซาวน์ของฟีตัสในครรภ์ผิดปกติอาจต้องได้รับการตรวจประเภทนี้
  • ตรวจหาภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects (NTDs) เช่น Spina bifida สภาพไร้สมองใหญ่ หรือผนังหน้าท้องโผล่ สำหรับสิ่งที่ตรวจมีดังนี้
  • ตรวจหา Rh และความเข้ากันไม่ได้ของเลือดกลุ่มอื่นๆ : เมื่อแม่ได้รับเม็ดเลือดแดงแปลกปลอมจากการถ่ายโอนเลือดหรือการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ร่างกายก็อาจสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนที่อยู่บริเวณชั้นนอกของสิ่งแปลกปลอม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic Anemia) ในทารกแรกเกิด
  • ตรวจหาการติดเชื้อของตัวอ่อน : การติดเชื้อบางประเภทอาจทำให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงต่อฟีตัสที่กำลังเจริญเติบโต เช่น
    • โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อปรสิต Toxoplasma (Toxoplasmosis)
    • หัดเยอรมัน (Rubella)
    • การติดเชื้อ Cytomegalovirus (CMV)
    • การติดเชื้อเริม หรือ Herpes Simplex Virus (HSV)
    • โรคฟิฟธ์ (Parvovirus B19)
  • ประเมินความสมบูรณ์ของปอดของทารกในครรภ์ : ในบางสถานการณ์แพทย์อาจต้องประเมินความสมบูรณ์ของปอดของทารกในครรภ์ เช่น เมื่อไม่รู้วันคลอดที่แน่ชัด มีความเสี่ยงสูงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันทีหากคลอดก่อนกำหนด ซึ่งแพทย์จะวัดสารหลายชนิดในน้ำคร่ำ เช่น
    • Lamellar Body Count
    • Phosphatidylglycerol (PG)
    • อัตราส่วน Lecithin/Sphingomyelin (L/S)

เมื่อไรที่ต้องตรวจวิเคราะห์ Amniotic Fluid?

การวิเคราะห์ถุงน้ำคร่ำอาจเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจคัดกรองก่อนคลอดในไตรมาสที่ 2 หรือในระหว่างที่มีอายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจต้องได้รับการตรวจน้ำคร่ำเมื่อมีภาวะดังต่อไปนี้

  • พบความผิดปกติเมื่อตรวจคัดกรอง Down syndrome ช่วงไตรมาสแรก
  • ตรวจ Non-invasive prenatal screening (NIPS) โดยใช้ Cell-free DNA
  • เมื่อตรวจ Maternal serum screen ตอนไตรมาสที่สอง
  • เคยมีลูกหรือตั้งครรภ์โดยที่โครโมโซมผิดปกติ หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • พ่อและแม่ หรือคนใดคนหนึ่งมียีนที่ถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม
  • ตรวจพบความผิดปกติตอนทำอัลตราซาวด์

รายละเอียดการตรวจวิเคราะห์ Amniotic Fluid

น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) มีหน้าที่ห่อหุ้ม ปกป้อง และหล่อเลี้ยงฟีตัสที่กำลังเติบโตในระหว่างตั้งครรภ์ มีหลายวิธีในการตรวจสอบวิเคราะห์ถุงน้ำคร่ำเพื่อประเมินสุขภาพของฟีตัส โดยน้ำคร่ำจะช่วยให้ฟีตัสเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระภายในมดลูก ช่วยไม่ให้สายสะดือถูกกด และช่วยรักษาอุณหภูมิ

น้ำคร่ำถูกบรรจุอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำ มักมีสีใสไปจนถึงสีเหลืองอ่อน ในน้ำคร่ำมีโปรตีน สารอาหาร ฮอร์โมน และแอนติบอดี ร่างกายจะเริ่มผลิตน้ำคร่ำหลังจากตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์ และมีปริมาณมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ซึ่งร่างกายจะดูดซึมน้ำ และผลิตออกมาใหม่อย่างต่อเนื่อง

ฟีตัสจะกลืนน้ำคร่ำ และปล่อยออกมาเป็นปัสสาวะ ทำให้ปริมาณของน้ำคร่ำเพิ่มขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้ เซลล์จากหลายๆ ส่วนของร่างกายฟีตัส และสารเคมีที่ฟีตัสผลิตจะถูกปล่อยเข้าไปในน้ำคร่ำ การตรวจสอบน้ำคร่ำจึงสามารถช่วยประเมินสุขภาพของฟีตัส ซึ่งยังมีอีกหลายวิธีการตรวจน้ำคร่ำทางห้องปฏิบัติการที่สามารถช่วยให้พบภาวะและโรคมากมาย

ด้วยความที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น และมีหลายทางเลือกที่ช่วยตรวจคัดกรองก่อนคลอด โดยเฉพาะ Non-Invasive Prenatal Screening (NIPS) ที่ช่วยคัดกรองตัวอย่างเลือดของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เพื่อหาชิ้นส่วนของ Cell-free DNA (cfDNA) ที่รกผลิต โดยทั่วไปแล้ว NIPs สามารถกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมบางชนิด เช่น Down syndrome, Edwards syndrome และ Patau syndrome ซึ่งผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการตรวจได้ตั้งแต่เมื่อมีอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในขั้นตอนการทำ Amniocentesis หรือเจาะน้ำคร่ำมาวินิจฉัน จะต้องมีการเจาะน้ำประมาณ 1 ออนซ์จากถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มฟีตัสโดยใช้เข็มและไซริงค์ ซึ่งจะต้องตรวจอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งของฟีตัสในมดลูกก่อนเจาะน้ำคร่ำทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเข็มอยู่ห่างจากตัวอ่อนในครรภ์ ก่อนที่จะแทงเข็มนั้นคุณแม่จะต้องได้รับการทำความสะอาดที่หน้าท้อง เพราะแพทย์จะแทงเข็มผ่านเข้าทางผนังของท้องและมดลูกอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เข็มเข้าไปยังถุงน้ำคร่ำซึ่งมีผนังบางและห่อหุ้มฟีตัสไว้อยู่

น้ำคร่ำจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ และอาจทราบผลภายใน 3-4 วัน หรืออาจใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจ หากเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของปอดของตัวอ่อน ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้ผลภายในไม่กี่ชั่วโมง

การใช้วิธีเจาะน้ำคร่ำมีความเสี่ยงเล็กน้อย เพราะเข็มที่เจาะเข้าไปในถุงน้ำคร่ำอาจโดนทารก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบตามม คือ ถุงน้ำคร่ำรั่วเล็กน้อย ติดเชื้อในมดลูก หรือเกิดภาวะแท้งบุตร

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ Amniotic Fluid

  • แพทย์ไม่สามารถป้องกันความผิดปกติทางพันธุกรรมและโครโมโซมได้ ทำได้แค่วินิจฉัยโรคเท่านั้น แต่ผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดโดยทานกรดโฟลิคก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ให้เพียงพอ
  • หากมีน้ำคร่ำมากหรือน้อยเกินไป ก็อาจบ่งชี้ได้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับฟีตัส รก หรือทั้งสอง โดยทั่วไปแล้วจะใช้วิธีอัลตราซาวด์เพื่อประเมินปริมาณของน้ำคร่ำ ดังนี้
    • การมีน้ำคร่ำน้อยเกินไป มักเกิดจากการรั่วของน้ำคร่ำเนื่องจากถุงน้ำคร่ำฉีกขาด แต่บางกรณีก็สามารถเกิดจากไต หรือทางเดินปัสสาวะผิดปกติได้ หากถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกตั้งแต่อายุยังน้อย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์
    • การมีน้ำคร่ำมากเกินไป หากอยู่ในระดับร้ายแรง อาจทำให้คุณแม่มีอาการหายใจหอบถี่ ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีเลือดออกหลังคลอดระดับรุนแรง

ที่มาของข้อมูล

Amniotic fluid analysis (https://labtestsonline.org/tests/amniotic-fluid-analysis), 29 December 2018.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amniocentesis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/amniocentesis/)
The value of amniotic fluid analysis in patients with suspected clinical chorioamnionitis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30817305)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)