ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Ammonia ทางเลือด เพื่อวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจเป็นโรคตับระดับรุนแรง มีภาวะไตวาย หรือมีภาวะในกลุ่มอาการเรย์หรือไม่
การตรวจ Ammonia จากเลือด ทำเพื่อตรวจดูความผิดปกติของตับ หรือภาวะอื่นๆ ที่ทำให้ตับไม่สามารถกำจัดแอมโมเนียออกจากร่างกายได้ ทำให้เกิดภาวะแอมโมเนียเป็นพิษ ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อสมอง จนถึงขั้นทำให้เกิดภาวะโคม่า และเสียชีวิตได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชื่ออื่น: NH3
ชื่อทางการ: Ammonia, plasma
จุดประสงค์ของการตรวจ Ammonia
แพทย์อาจตรวจแอมโมเนียจากเลือด โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- ตรวจหาระดับของแอมโมเนียในเลือดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเป็นโรคตับระดับรุนแรง ภาวะไตวาย กลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome) ที่ทำให้เกิดความเสียหายในสมองและตับ หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมในวงจรยูเรีย (Urea Cycle Disorders) ที่พบได้ไม่บ่อย
- หาสาเหตุของการมีพฤติกรรมและความรู้สึกที่เปลี่ยนไป
แอมโมเนียเป็นของเสียที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปแล้วเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้เล็กที่ย่อยสลายโปรตีน หากเกิดความผิดปกติที่ตับ จนไม่สามารถกำจัดแอมโมเนียออกจากร่างกายได้ แอมโมเนียส่วนเกินก็สามารถสะสมภายในเลือด และส่งผ่านไปยังสมอง ซึ่งทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ
แพทย์อาจสั่งให้ตรวจแอมโมเนียควบคู่กับการตรวจอื่นๆ เช่น กลูโคส อิเล็กโทรไลต์ และการทำงานของไต เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุของอาการโคม่า สนับสนุนการวินิจฉัย Reye Syndrome หรือภาวะสมองเสื่อมจากโรคตับที่เกิดจากโรคตับหลายชนิด
เมื่อไรที่ต้องตรวจ Ammonia?
แพทย์อาจสั่งให้ตรวจแอมโมเนีย เมื่อทารกแรกคลอดมีอาการเหล่านี้ภายในไม่กี่วันหลังคลอด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- หงุดหงิด
- อาเจียน
- เฉื่อยชา
- ชัก
นอกจากนี้เด็กอาจต้องได้รับการตรวจแอมโมเนียเมื่อมีอาการเหล่านี้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากที่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส หรือในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าเด็กเป็น Reye Syndrome
แพทย์อาจตรวจระดับของแอมโมเนียในผู้ใหญ่มีสุขภาพจิตเปลี่ยนไป งุนงง สับสน ขี้เซา ไม่รู้สึกตัว เพื่อประเมินสาเหตุที่ทำให้การรับรู้เปลี่ยนไป นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งให้ตรวจระดับของแอมโมเนียควบคู่กับตรวจการทำงานของตับในผู้ที่เป็นโรคตับ
วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Ammonia
แพทย์จะตรวจ Ammonia จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำในแขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการเก็บตัวอย่างเลือด
รายละเอียดการตรวจ Ammonia
แอมโมเนีย (Ammonia) เป็นของเสียที่แบคทีเรียในลำไส้เล็กผลิตระหว่างที่ย่อยโปรตีน หากแอมโมเนียไม่ถูกจัดการและกำจัดออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดการสะสมภายในเลือดจนเป็นพิษต่อร่างกายได้
โดยปกติแล้วแอมโมเนียจะถูกลำเลียงจากเลือดไปยังตับ และจะถูกแปลงเป็นสารที่เรียกว่า ยูเรีย (Urea) และกลูทามีน (Glutamine) จากนั้นยูเรียจะถูกลำเลียงไปยังไต และถูกกำจัดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หากแอมโมเนียไม่ถูกย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้เกิดการสะสมในเลือดและเคลื่อนเข้าสู่สมอง ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคตับ (Hepatic Encephalopathy)
ภาวะสมองเสื่อมจากโรคตับทำให้จิตใจและระบบประสาทเปลี่ยนไป ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน เลอะเลือน และเซื่องซึม สุดท้ายก็จะไม่รู้สึกตัว และอาจเสียชีวิตได้ ในขณะที่ทารกและเด็กที่มีแอมโมเนียมากอาจอาเจียนบ่อย หงุดหงิด และมีอาการเฉื่อยชามากขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้มีอาการชัก หายใจลำบาก และอาจทำให้ไม่รู้สึกตัว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความหมายของผลตรวจ Ammonia
การมีความเข้มข้นของแอมโมเนียในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สามารถบ่งชี้ได้ว่าร่างกายไม่สามารถจัดการและกำจัดแอมโมเนียได้อย่างมีประสิทธิผล จึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ในร่างกายขึ้น
เด็กและผู้ใหญ่ที่มีแอมโมเนียในเลือดมาก อาจบ่งชี้ได้ว่าตับหรือไตที่เสียหายอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบให้ร่างกายกำจัดแอมโมเนียได้แย่ลง จึงอาจทำให้สมองได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้การเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังจะเป็นตัวกระตุ้นให้แอมโมเนียเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่ร่างกายกำจัดแอมโมเนียได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การมีแอมโมเนียระดับปกติ ก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคตับ เพราะของเสียชนิดอื่นๆ สามารถทำให้สุขภาพจิตเปลี่ยนไปได้ ส่วนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงบางประเภท เช่น Essential (ความดันโลหิตสูงโดยไม่รู้สาเหตุ) และ Malignant (ความดันโลหิตสูงมากที่เกิดแบบเฉียบพลันและรวดเร็ว) อาจมีระดับแอมโมเนียน้อยลง
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Ammonia
การมีปริมาณแอมโมเนียในเลือดเพิ่มขึ้น อาจพบได้ในผู้ที่มีภาวะต่างๆ ดังนี้
- เลือดออกในทางเดินอาหาร: ภาวะที่เม็ดเลือดแตกตัวในลำไส้เล็ก
- Muscular Exertion: กล้ามเนื้อผลิตแอมโมเนียเมื่อทำงานและดูดซึมเมื่ออยู่ในช่วงพัก
- ใช้เครื่องห้ามโลหิต
- ใช้ยาบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ยาบาร์บิทูเรต ยาขับปัสสาวะ ยากรดวาลโปรอิก และยานาร์โคติก
- สูบบุหรี่
ที่มาของข้อมูล
Ammonia (https://labtestsonline.org/tests/ammonia), 21 December 2018.