โรคสมองเสื่อม (Dementia)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคสมองเสื่อม (Dementia)

โรคสมองเสื่อม/ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมของคุณจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยมักพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป หากคุณเป็นคนขี้หลงขี้ลืมมากขึ้นและมีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป คุณควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับอาการของโรคสมองเสื่อม

ภาพรวม

ถ้าคุณเป็นคนขี้หลงขี้ลืมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอายุเกิน 65 ปี คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการของภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น คุณอาจพบปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียความจำ โดยปกติแล้วความจำจะถูกรบกวนจากอายุ, ความเครียด, ความอ่อนเพลีย, หรือเกิดจากความเจ็บป่วย รวมถึงยาที่ใช้อยู่  โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้รู้สึกน่ารำคาญหากเกิดเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่ถ้ามีอาการมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือ ทำให้คุณหรือคนที่คุณรักมีความกังวล กรณีนี้ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์

โรคสมองเสื่อมคืออะไร?

โรคสมองเสื่อมคือภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น และมักพบภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

โรคสมองเสื่อมถือเป็นกลุ่มอาการ (กลุ่มของอาการที่มีความเกี่ยวข้องกัน) ที่สัมพันธ์กับการทำงานของสมองที่เสื่อมลง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาดังนี้: 

  • การสูญเสียความทรงจำ
  • ปัญหาด้านความเร็วในการคิด
  • ปัญหาด้านอารมณ์
  • ปัญหาด้านภาษา
  • ปัญหาด้านการทำความเข้าใจ
  • ปัญหาด้านการตัดสินใจ

คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจกลายเป็นคนเฉื่อยชาหรือไม่ใส่ใจในกิจกรรมประจำวันปกติ และมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง อาจพบสถานการณ์การเข้าสังคมที่ท้าทาย สูญเสียความสนใจในการเข้าสังคม และอาจมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง 

คนที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจสูญเสียความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจไป และผู้ป่วยอาจมองเห็นหรือได้ยินในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้ทำ (ประสาทหลอน) หรืออาจมีอาการความคิดหลงผิด 

เนื่องจากโรคสมองเสื่อมจะส่งผลกระทบต่อความสามารถของสมอง อาจพบปัญหาว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านการวางแผนและการจัดการ การปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่โดยไม่มีผู้ดูแลอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ในผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมมักต้องการความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือญาติๆ รวมถึงต้องการให้ช่วยในกระบวนการตัดสินใจอะไรบ้างอย่างด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์จะพูดคุยกับคุณถึงสาเหตุของการสูญเสียความจำที่เป็นไปได้ ซึ่งรวมถึงโรคสมองเสื่อมด้วย สำหรับอาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ ได้แก่:

  • มีปัญหาในการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยความตั้งใจและการวางแผน
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและอารมณ์
  • มีช่วงเวลาของความสับสน
  • มีความบกพร่องด้านภาษา 
  • มีปัญหาในการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยความตั้งใจและการวางแผน
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและอารมณ์
  • มีช่วงเวลาของความสับสน
  • มีความบกพร่องด้านภาษา 

โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ของการเป็นโรค จะสามารถชะลอการดำเนินไปของโรคและช่วยรักษาหน้าที่การทำงานของสมองไว้ได้

โรคสมองเสื่อมพบบ่อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสหราชอาณาจักร พบว่ามีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมราว 800,000 คน พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี จะเป็นโรคสมองเสื่อม และ 2 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมเป็นเพศหญิง

ปัจจุบันตัวเลขจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้คนมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าปี 2564 จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1 ล้านคน

เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรค สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้รับการรักษาและการดูแลสนับสนุนอย่างถูกต้องและช่วยเหลือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อเตรียมพร้อมและวางแผนสำหรับอนาคต ด้วยการรักษาและการดูแลสนับสนุนเป็นอย่างดี พบว่าผู้ป่วยหลายคนสามารถมีชีวิตที่มีชีวิตชีวาได้

มีความกังวลว่าคนที่คุณรู้จักจะเป็นโรคสมองเสื่อม?

ถ้าคุณพบว่าคนที่คุณรู้จักมีอาการขี้หลงขี้ลืมมากกว่าปกติ คุณควรแนะนำให้เขาไปพบแพทย์ เพื่อพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับอาการเตือนในระยะแรกของโรคสมองเสื่อม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคสมองเสื่อมเป็นกลุ่มของอาการที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งบ่งชี้ว่าสมองมีความผิดปกติเกิดขึ้น หนึ่งในอาการสำคัญที่พบบ่อยของโรคสมองเสื่อมคือ การสูญเสียความจำ

ความจริงแล้วมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้คนสูญเสียความจำ หลายเหตุผล แต่อย่างไรก็ตามการตรวจพบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมตั้งแต่ระยะแรกๆ ในบางรายอาจชะลอการดำเนินไปของโรคได้ และผู้ป่วยอาจสามารถรักษาหน้าที่การทำงานของสมองไว้ได้

การตระหนักถึงอาการเตือนของโรคสมองเสื่อม

การสูญเสียความจำคืออาการที่เป็นกุญแจสำคัญของโรคนี้ แต่ก็ยังมีอาการอื่นๆ ด้วย ได้แก่:

หากคุณพบว่าใครก็ตามมีอาการดังกล่าวข้างตน ควรแนะนำให้เขาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โรคสมองเสื่อมจะได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ซึ่งจะวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุของการเกิดอาการออกไปก่อน จึงจะบอกได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม โดยแพทย์จะดำเนินการทดสอบและประเมินเพื่อดูว่ามีคำอธิบายอื่นๆ ที่เป็นไปได้สำหรับอาการของผู้ป่วยหรือไม่ และแพทย์อาจต้องการพูดคุยกับคุณเพิ่มเติมว่าอาการที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป

การพูดคุยกับคนที่คุณคิดว่าเขามีอาการแสดงของโรคสมองเสื่อม

การเริ่มต้นจุดประเด็นเกี่ยวกับปัญหาการสูญเสียความจำและโอกาสของการเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก ใครก็ตามที่มีอาการดังกล่าวนี้อาจรู้สึกสับสน กังวล หรือปฏิเสธว่าเขาไม่ได้เป็นโรคก็ได้

ในการพูดคุยกับใครก็ตามที่คุณกังวลว่าเขามีปัญหาเกี่ยวกับความจำ มีคำแนะนำดังนี้:

  • พูดคุยกันในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย และไม่คุกคาม
  • อธิบายว่าทำไมการพูดคุยจึงเป็นสิ่งสำคัญและบอกว่าคุณกังวลเพราะคุณห่วงใย
  • ใช้ตัวอย่างเพื่อให้ชัดเจน: สิ่งสำคัญคืออย่างทำให้เขารู้สึกถูก "ตำหนิ" – ตัวอย่างเช่น แทนที่จะบอกว่าเขาไม่สามารถชงชาได้ ให้เปลี่ยนเป็นแนะนำว่าการชงชาดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเขา
  • พูดคุยกันแบบเปิดอก ตรงไปตรงมา ตัวอย่างเช่น ถามว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับความทรงจำของพวกเขา
  • วางแผนสิ่งที่ต้องปฏิบัติในเชิงบวกร่วมกัน

ในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอาจทำให้รู้สึกตกใจได้ แต่เมื่อเวลาผ่านจะพบว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเอง เนื่องจากการวินิจฉัยถือเป็นก้าวแรกที่จะทำให้ได้ข้อมูลของผู้ป่วย ได้ช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อจัดการเกี่ยวกับอาการที่ผู้ป่วยเป็น

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการ รวมถึงครอบครัวและเพื่อนของผู้ป่วย ช่วยควบคุมอาการ, วางแผนและการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของผู้ป่วย

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia/about-dementia


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป