กรดอะมิโน หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ที่พร้อมดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดอะมิโน หน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน ที่พร้อมดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

กรดอะมิโน โมเลกุลขนาดเล็กจิ๋วเลยเราอาจจะสงสัยว่ามันมาจากอาหารชนิดไหน ซึ่งย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะกลายมาเป็นโมเลกุลแตกตัวขนาดเล็กๆ เหล่านี้ โมเลกุลขนาดใหญ่ของมันก็คือ สารอาหารประเภท "โปรตีน" ที่เรารับประทานกันเป็นประจำ

ในโปรตีนคือโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย กรดอะมิโน เป็นจำนวนมาก และกรดอะมิโนในอาหารยังมีหลากหลายชนิด ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น เป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างร่างกายที่ไม่ควรขาด และยังจัดอยู่ในกลุ่มของสารอาหารที่ให้พลังงาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กรดอะมิโนที่พบในอาหาร

กรดอะมิโน คือหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีนที่ถูกย่อยแล้วภายหลังจากที่เรารับประทานอาหารประเภทโปรตีนเข้าไป ร่างกายจะย่อยโปรตีนเหล่านั้นให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า กรดอะมิโน ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นก็จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของเรา ซึ่งมี กรดอะมิโน จำเป็นอยู่มากมาย เป็นส่วนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ ด้วยหน้าที่ของ กรดอะมิโน ที่มีหลากหลายด้าน ร่างกายจึงมีความต้องการ กรดอะมิโน เหล่านี้เพื่อเป็นตัวช่วยทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ หากร่างกายของเราปราศจากกรดอะมิโนแล้ว ก็จะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ร่างกายไม่แข็งแรง และเกิดอาการเจ็บป่วยตามมา

สำหรับกรดอะมิโนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

  1. กรดอะมิโนจำเป็น มีด้วยกันทั้งหมด 8 ชนิด เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น
  2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น มีด้วยกันทั้งหมด 12 ชนิด เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้

หน้าที่ของกรดอะมิโนต่อร่างกาย

  1. เป็นตัวช่วยซ่อมแซมระบบการทำงานของร่างกาย ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในเด็ก ส่วนที่สึกหรอมีความจำเป็นต้องใช้โปรตีนเป็นตัวเข้าไปทำหน้าที่ให้ส่วนที่เสียหายกลับมาใช้งานได้ดังเดิมอีกครั้ง
  2. เป็นตัวช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย แบบไม่มีวันหมดอายุไปจนตลอดชีวิตของเรา
  3. เป็นส่วนประกอบของต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ล้วนมีโปรตีนขนาดเล็กเหล่านี้เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น
  4. ช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรธฮอร์โมน ด้วยการทำงานร่วมกับวิตามินบี 6, สังกะสี, แคลเซียม, วิตามินซี, โพแทสเซียม,ไนอะซินาไมด์ และแมกนีเซียม ซึ่งร่างกายของเราจะมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ในช่วงกลางคืนนานประมาณ 90 นาที แต่เมื่ออายุมากขึ้นตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ปริมาณของโกรธฮอร์โมนจะลดลง การเสริมด้วยอาหารที่มีกรดอะมิโน จะช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนได้
  5. ช่วยเผาผลาญไขมันให้กลายมาเป็นพลังงาน และยังถูกสร้างเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อ
  6. ช่วยเพิ่มความต้านทาน เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดโรคต่างๆ
  7. ลดสารยูเรียในเลือดและในปัสสาวะให้น้อยลง
  8. กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างกล้ามเนื้อ
  9. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทำให้เส้นตามส่วนต่างๆ ที่ยึดเกาะกับกระดูกมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
  10. ช่วยคงความอ่อนเยาว์ เปรียบเสมือนสารชะลอวัยที่จะลดความเสื่อมสภาพต่างๆ ของเซลล์ภายในร่างกาย

ภาวะขาดกรดอะมิโน

จะเห็นได้ว่ากรดอะมิโนมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา มีความจำเป็นมากจนไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะกรดอะมิโนจำเป็นที่ควรได้รับจากอาหาร เป็นส่วนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องได้รับโปรตีนที่จะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนราว 45 กรัมต่อวัน

หากร่างกายขาดกรดอะมิโน จะตามมาด้วยระบบการทำงานที่ผิดปกติมากมาย โดยเฉพาะระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากร่างกาย จะเกิดความผิดพลาดขึ้นมา อาจทำให้สมองช้า การทำงานของร่างกายผิดปกติ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง การดูดซึมด้อยประสิทธิภาพลง ไม่ว่าจะเป็นวิตามินหรือเกลือแร่ ยิ่งกลายเป็นการทำให้ร่างกายขาดแคลนสารอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย ซึ่งล้วนเป็นอันตรายทางอ้อมที่จะทำร่างกายเจ็บปวดอย่างหนักตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาหารที่มีกรดอะมิโนสูง

อาหารที่มีกรดอะมิโนอยู่ คืออาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มโปรตีน ซึ่งคือหน่วยใหญ่สุด เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะถูกย่อยสลายให้เหลือขนาดเล็ก กลายเป็นกรดอะมิโนที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือด อาหารที่มีโปรตีนสูงเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะเราควรได้รับโปรตีนที่มี "กรดอะมิโนจำเป็น" เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และกรดอะมิโนจำเป็นพบได้มากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม เนย เครื่องในสัตว์ อาหารที่ผลิตมาจากนม ปลาทะเล ซึ่งอาหารเหล่านี้ควรได้รับในสัดส่วนที่เพียงพอ ร่วมกับอาหารประเภทอื่นด้วย จะช่วยให้ร่างกายสามารถนำสามารถอาหารไปใช้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมสำหรับการทำงานในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่ากรดอะมิโนเป็นโมเลกุลขนาดเล็กของโปรตีน ซึ่งส่วนที่สำคัญจะนำไปใช้ในร่างกายของเราไม่ใช่โปรตีน แต่เป็นกรดอะมิโนที่จะแตกตัวเข้าสู่กระแสเลือดและขนย้ายตัวเองไปทำหน้าที่ต่างๆ ทั่วร่างกาย กรดอะมิโนที่จำเป็นคือ หัวใจหลักที่ร่างกายไม่ควรขาด เพราะไม่สามารถสร้างได้เอง

การได้รับกรดอะมิโนมากจนเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้ ทั้งนี้ใครที่ต้องการกรดอะมิโนจากอาหารเสริม ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน เพราะในความเป็นจริงเราสามารถรับประทานอาหารตามธรรมชาติ ก็จะได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอแบบไม่ต้องจ่ายแพง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amino Acids - Types & Effects. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/amino-acids/guide/)
What Are Amino Acids and Which Are Essential?. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/what-are-amino-acids-2242021)
Essential amino acids: Definition, benefits, and foods. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324229)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป