ตัวเลขที่นำมาคำนวณมาจากค่าพลังงานของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท้องตลาดโดยเฉลี่ย ดังนั้นจึงแสดงผลเป็นค่าประมาณเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดหรือวินิจฉัยโรคได้
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือเครื่องดื่มที่เกิดจากการหมักและกลั่นพืชจำพวกแป้ง โดยใช้เอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรตในพืชให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ จากนั้นใช้ยีสต์หมักจนกระทั่งเกิดเป็น เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) แอลกอฮอล์ประเภทที่สามารถบริโภคได้ จะเห็นได้ว่าในกระบวนการนี้มีทั้งแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ จึงทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีแคลอรี่นั่นเอง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิด ต่างกันอย่างไร?
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิด เกิดจากการหมักพืชที่แตกต่างกันออกไป เช่น
- วอดกา (Vodka) เกิดจากการหมักพืชจำพวกแป้ง เช่น ข้าวสาลี ธัญพืช ข้าวฟ่าง หรือมันฝรั่ง จากนั้นนำมากลั่นเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์
- ไวน์ (Wine) เกิดจากการหมักผลไม้เพื่อเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่นิยมนำมาทำไวน์คือ องุ่น แอปเปิ้ล เชอร์รี่
- ไวน์คูลเลอร์ (Wine cooler) เกิดจากการนำไวน์องุ่นมารวมกับส่วนผสมอื่นๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่น เช่น ใส่สี กลิ่น และอัดลมก่อนบรรจุขวด
- เบียร์ (Beer) เกิดจากการหมักธัญพืชจำพวกมอลต์ (Malt) ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ หรือข้าวเจ้า
- เหล้า (Spirits) เกิดจากการกลั่นพืชผักผลไม้ชนิดต่างๆ ด้วยอุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ไม่น้อยกว่า 20% เนื่องจากการหมักเพียงอย่างเดียวจะให้แอลกอฮอล์ได้ไม่เกิน 16% เท่านั้น โดยการใช้พืชต่างกัน ก็จะทำให้ชนิดและรสชาติของเหล้าแตกต่างกันไปด้วย เช่น บรั่นดี (Brandy) เกิดจากการกลั่นเหล้าองุ่น หรือหากกลั่นจากน้ำผลไม้ จะเรียกว่าบรั่นดีผลไม้ หากกลั่นจากธัญพืชก็จะได้เครื่องดื่มที่เรียกว่าวิสกี้ (Whisky)
- โมจิโต้ (Mojito) คือเครื่องดื่มที่ผสมด้วยใบสะระแหน่ มะนาว น้ำตาล เหล้ารัม จากนั้นเติมลงในน้ำแข็งพร้อมกับโซดาเพื่อเพิ่มความสดชื่น ทั้งนี้ส่วนผสมและรสชาติอาจแตกต่างกันออกไปตามปริมาณส่วนผสมที่ใช้
- มาการิต้า (Magarita) เป็นเครื่องดื่มที่ผสมด้วย เหล้าคอนโทร เหล้าเตกิลา และน้ำมะนาว มักมีการตกแต่งขอบแก้วด้วยเกลือ เพื่อให้เครื่องดื่มมีรสชาติหลากหลายมิติ
- จินโทนิค (Gin tonic) เป็นเครื่องดื่มที่ผสมจากเหล้าจินและน้ำโทนิค ซึ่งเป็นน้ำอัดลมกลิ่นควินิน (Quinine) คือพืชชนิดหนึ่งในอเมริกากลางและใต้ มีรสขม สามารถผสมเครื่องดื่มได้หลากหลาย แต่นิยมผสมกับเหล้าจินมากที่สุด