อาหาร 7 ชนิด ตัวการทำให้ท้องอืด รู้แล้วควรระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหาร 7 ชนิด ตัวการทำให้ท้องอืด รู้แล้วควรระวัง

อาการท้องอืดหลายคนคนคิดว่าคือการกินอาหารมากเกินไป แต่บางทีท้องอืดก็เกิดจากการกินอาหารได้เหมือนกัน โดยเฉพาะพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งมีการดูดซึมในลำไส้ได้น้อย และมักอุดมไปด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติสูง หรือเรียกอีกชื่อว่า "FODMAPs" (Fermentable Oligo-Di-Monosaccharide and Polyols) โดย FODMAPs นั้น มักดูดซึมในลำไส้เล็กน้อย และต่อมาจะเกิดหมักหมมโดยเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร แล้วเกิดแก๊สขึ้นในลำไส้ใหญ่ ทำให้รู้สึกท้องอืด ทางที่ดีควรดื่มน้ำเปล่าเพื่อช่วยขับแก๊ส หรืออาจต้องเลี่ยงอาหารบางชนิดดังต่อไปนี้

โยเกิร์ต

โยเกิร์ตบางชนิดส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะโยเกิร์ตทำจากนมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก และเต็มไปด้วยน้ำตาลแล็กโทส แล้วไปหมักบ่มอยู่ในลำไส้แล้วค่อยๆเกิดฟองแก๊สขึ้น จึงรู้สึกคล้ายๆมีลมและเกิดการปั่นป่วนในท้อง ทางที่ดี ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ให้ทานรสธรรมชาติ ซึ่งมีน้ำตาลน้อยและโปรตีน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผักตะกูลกะหล่ำ

ได้แก่ กะหล่ำปลี, บรอกโคลี และกะหล่ำดอก ซึ่งจะมีคาร์โบไฮเดรตที่เรียกว่าแรฟฟิโนส ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 3 ชนิดคือ ฟรักโทส กลูโคส และกาแลกโทส และร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ในระบบทางเดินอาหาร จนกว่าจะถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะถูกย่อยให้เล็กลงจากแบคทีเรียที่อยู่ในนั้น ซึ่งกว่าจะย่อยได้หมด กากอาหารจากผักจะเกิดการหมักหมมจนกลายเป็นแก๊สในที่สุด ทางที่ดีหากจะรับประทานควรนำไปอบหรือย่างให้สุกก่อนกิน

ถั่ว

เป็นคาร์โบไฮเดรตย่อยเป็นน้ำตาลได้ยาก เพราะเป็นเส้นใยอาหารที่ไม่สามารถย่อยได้ตามธรรมชาติ หรือไม่ถูกดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก จึงทำให้เกิดท้องอืด ซึ่งพบในถั่วเปลือกแข็ง แต่หากต้องการทานให้นำถั่วเปลือกแข็งแช่น้ำไว้ค้างคืน ความชุ่มจากน้ำจะช่วยให้ถั่วนิ่มและยับยั้งคาร์โบไฮเดรตได้บางส่วน ทำให้ลดอาการท้องอืดได้

ผักในตระกูลหัวหอมใหญ่ หอมแดง ต้นหอม

เพราะคาร์โบไฮเดรต ชื่อฟรุกแทน (Fructan) ที่พบในหัวหอมใหญ่ เป็นปัญหาต่อช่องท้อง และมักดูดซึมในลำไส้ได้น้อย จึงทำให้เกิดน้ำในลำไส้ ส่งผลให้เกิดแก๊สและท้องอืด

แตงโม

เพราะอุดมไปด้วยน้ำตาลฟรักโทสในระดับสูงมาก และร่างกายไม่สามารถดูดซึมฟรักโทสได้อย่างเต็มที่ จึงนำไปสู่อาการท้องอืด หรืออาจมีท้องเสียร่วมด้วย

สารให้ความหวานสังเคราะห์

ซอร์บิทอล และไซลิทอล ถือเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ ซึ่งถูกใช้เป็นส่วนประกอบของหมากฝรั่ง ด้วยน้ำตาลเหล่านี้จะมีการดูดซึมในลำไส้เล็กได้ค่อนข้างช้า จึงทำให้ให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง หรืออาจท้องเสียได้

ธัญพืช

เพราะมีส่วนประกอบของฟรุกแทน ซึ่งไม่ย่อยได้เองตามธรรมชาติ การกินธัญพืชเหล่านี้จึงเท่ากับให้ไปหมักหมมกับเชื้อจุลินทรีย์ในส่วนของลำไส้ใหญ่ จนทำให้เกิดแก๊ส และท้องอืดได้

ทีนี้ก็พอจะรู้กันแล้วว่าอาหารอะไรบ้างที่เป็นตัวการทำให้ท้องอืด แต่ก็ใช่ว่าจะห้ามไม่ให้ทานอาหารเหล่านี้นะ เพราะอาหารทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมานี้ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราทั้งนั้น เพียงแต่ต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและไม่มีปัญหาท้องอืดมากวนใจนั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Foods That Commonly Cause Bloating. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/foods-that-cause-bloating-2505930)
21 Causes of Bloating, OTC Products & Foods to Avoid. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/why_am_i_so_bloated/article.htm)
Beat the bloat. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/remedies-for-bloating-and-wind/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป