5 สิ่งรบกวนการนอนหลับของลูกในเวลากลางคืน

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 สิ่งรบกวนการนอนหลับของลูกในเวลากลางคืน

แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะฝึกลูกให้นอนหลับในเวลากลางคืนและควบคุมทั้งอากาศ เสียง แสงแดด บรรยากาศต่างๆ เพื่อให้ลูกนอนหลับได้นานและยาวขึ้นในช่วงตอนกลางคืน แต่สิ่งที่จะรบกวนของลูกน้อยในยามหลับที่คุณจะต้องเตรียมรับมือยังมีอีกหลายเรื่อง วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับปัจจัยอื่นๆ อีก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้บางข้อคุณพ่อคุณแม่ต้องเจอแน่นอน ดังนั้นการเตรียมตัวรับไว้ล่วงหน้าย่อมจะดีกว่า

1. การร้องในลักษณะโคลิก (Infantile Colic)

ในวงการแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการร้องไห้ของเด็กในลักษณะที่เรียกว่าโคลิกได้ อาการโคลิกส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึง 3 เดือน โดยอาการคือ เด็กจะร้องไห้อย่างมาก ซ้ำๆ ในช่วงเวลาเดิมๆ โดยมากจะเป็นช่วงเวลาเย็นๆ ใกล้ค่ำ หรือช่วงรอยต่อระหว่างกลางวันและกลางคืน เด็กจะร้องไห้อย่างน่ากลัว งอเข่าเข้าหาลำตัว ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นแม้ว่าจะอุ้มหรือให้นม ส่วนใหญ่แล้วอาการโคลิกจะหายไปเองหลังจากเริ่มเป็นประมาณ 2 เดือน หากพบว่าลูกมีอาการโคลิก การฝึกลูกให้เข้านอนด้วยตนเองอาจจะยากสักหน่อย ควรที่จะรอให้อาการโคลิกหายไปก่อน แล้วจึงค่อยฝึกลูก โดยอาจจะพาแกเข้านอนก่อนเวลาที่แกจะร้องก็ได้ ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า โคลิกนั้นเกิดจากลมในท้องซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวัน ดังนั้นการอุ้มพาดบ่าเพื่อให้เด็กได้เร่อ หรือนอนคว่ำพร้อมกับการลูบหลังลูกเพื่อบรรเทาอาการปวดก็อาจจะช่วยได้ แต่หากให้นอนคว่ำก็ต้องระวังอย่าให้ลูกเผลอกดทับจมูกตัวเองจนหายใจไม่ออก โดยในปัจจุบันการศึกษาถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดหรือยารักษายังมีข้อขัดแย้งอย่างมาก ทั้งการใช้ probiotic หรือเปลี่ยนแปลงอาหารที่กิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ร้องไห้เพราะว่าปวดฟัน

ฟันที่กำลังเริ่มขึ้นนั้นสร้างความเจ็บปวดให้ลูกจนร้องไห้ตลอด ทำให้ลูกไม่สามารถนอนหลับได้ยาวในช่วงกลางคืน นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือ เพราะเมื่อฟันของลูกกำลังจะขึ้น คุณอาจจะเตรียมเจลสำหรับทาฟันที่กำลังขึ้นสำหรับเด็ก ซึ่งเมื่อทาแล้วเด็กจะรู้สึกชาเพื่อบรรเทาอาการปวด และให้เด็กนอนหลับในช่วงดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามควรที่จะปรึกษาคุณหมอฟันก่อนนะคะ เพราะอาการปวดฟันอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบ เป็นต้น

3. นอนไม่หลับ ร้องไห้ตลอดเพราะลูกป่วย

การป่วยของลูก สามารถแบ่งเป็น ป่วยแบบเฉียบพลันกับป่วยเรื้อรัง การป่วยแบบเฉียบพลันเช่น เด็กเป็นไข้, ท้องเสีย แพ้อาหาร ฯลฯ ส่วนการป่วยแบบเรื้อรังได้แก่ เด็กที่เป็นโรคประจำตัวเช่น หอบ หืด แล้วอาการกำเริบ คุณควรที่จะสังเกตและเตรียมรับมือกับอาการป่วยของลูกไว้ให้พร้อม

4. ร้องไห้เพราะแปลกที่ เมื่อต้องเดินทางหรือไปค้างคืนที่อื่น

การไปพักที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องนอนที่เด็กคุ้นเคย อาจจะทำให้คืนนั้นเด็กนอนหลับได้ไม่นานนัก เนื่องจากยังไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่อาจจะแก้ไขด้วยการนำที่นอน หรือสิ่งของที่ลูกติด หรือชอบให้มีเวลานอน (เด็กบางคนติดตุ๊กตา ติดหมอน ติดผ้าห่ม) ก็อาจจะนำสิ่งเหล่านี้ไปด้วย

5. ร้องไห้เพราะว่าหิว

เนื่องจากว่าทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน โดยมากมักจะตื่นมากลางดึกเพราะหิว หลังจากให้นมยามดึก เด็กโดยมากก็สามารถนอนหลับต่อได้เอง แต่สำหรับเด็กบางคนที่อายุเกิน 6 เดือนไปแล้วก็ยังคงตื่นมากลางดึกเพื่อกินนม คงต้องมาดูละว่า เด็กร้องเพราะหิว หรือว่าเป็นเพราะความเคยชินกันแน่ หากคุณแน่ใจว่าลูกได้รับนมและอาหารอื่นๆ อย่างพอเพียงในเวลากลางวัน แต่ลูกยังคงร้องเพราะติดการทานนมในมื้อดึก ขอให้ลองลดปริมาณนมลง แต่หากว่าลูกไม่ยอมกินนมในตอลนกลางวัน แต่มาเน้นกินนมตอนกลางคืนแทน แสดงว่าระบบการกินของเขาไม่ปกติ ให้แก้ไขโดยให้ลูกกินน้ำเปล่า หรือผสมนมให้เจือจางในตอนกลางคืน ซึ่งจะทำให้ลูกหิวมากขึ้นในช่วงกลางวัน เมื่อให้นมในตอนกลางวันลูกจะทานนมมากขึ้นเอง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lucassen P. Colic in infants. BMJ Clin Evid. 2010 Feb 5;:0309.
Camilleri M, Park SY, Scarpato E, Staiano A. Exploring hypotheses and rationale for causes of infantile colic. Neurogastroenterol Motil. 2016;29(2):10.1111/nmo.12943.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป