มาเตรียมอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำให้ลูกดีกว่า

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มาเตรียมอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำให้ลูกดีกว่า

การอาบน้ำให้ลูกถือเป็นความสุขของพ่อแม่ แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังใน การอาบน้ำให้มาก ยิ่งลูกยังเป็นแค่ทารกแรกเกิด การจะอาบน้ำให้ลูกนั้นพ่อแม่หลายคนก็กลัว (เพราะลูกยังตัวเล็กมา คอก็ยังไม่แข็ง) ดังนั้นพ่อแม่ควรจะเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เวลาอาบน้ำให้ลูกจะได้หยิบจับใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

อ่างอาบน้ำ

างอาบน้ำสำหรับเด็กนั้นมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งอ่างอาบน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น อ่างอาบน้ำขนาดเล็กจะเหมาะกับทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 1 ขวบ (บางแบบก็สามารถใช้ได้จนลูกอายุ 2-3 ปี) ซึ่งพ่อแม่ควรจะพิจารณาวัสดุที่แข็งแรง

อ่างอาบน้ำมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่มีขาตั้ง ซึ่งพ่อแม่จะสะดวกในการอุ้มลูกอาบน้ำ หรือหากที่บ้านมีอ่างอาบน้ำสำหรับผู้ใหญ่แล้วก็สามารถให้ลูกอาบน้ำในอ่างผู้ใหญ่ก็ได้ แต่แนะนำว่าลูกควรจะมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือลูกเริ่มนั่งเองได้ โดยใช้น้ำไม่เยอะมาก ให้ลูกนั่งในอ่าง แล้วเรารองน้ำจากฝักบัวอาบน้ำให้ลูกอีกทีก็สะดวกเช่นกัน

ทั้งนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควรจะเตรียมไว้ให้พร้อมเวลาที่จะอาบน้ำให้ลูกด้วย

ผ้าเช็ดตัว

ควรเป็นผ้าที่นุ่มและซึมซับน้ำได้ดี ผ้าเช็ดตัวบางชนิดจะมีผ้าคลุมศีรษะ (Hood) มาให้ด้วย เพราะเวลาอาบน้ำเสร็จจะได้คลุมศีรษะลูกได้ (ลูกจะได้รู้สึกอุ่นหลังจากอาบน้ำ)

ม้านั่ง (เก้าอี้)

สำหรับกรณีที่พ่อแม่เลือกใช้อ่างอาบน้ำขนาดเล็ก พ่อแม่ควรจะหาม้านั่งหรือเก้าอี้ขนาดเล็กมานั่ง จะได้ไม่ต้องยืนโก้งโค้ง (ซึ่งจะทำให้ปวดหลัง) ซึ่งเก้าอี้ขนาดเล็กก็มีทั้งที่เป็นพลาสติกหรือไม้ ซึ่งจะเลือกใช้แบบไหนก็ ควรจะดูที่สามารถทนน้ำหนักของตัวคุณพ่อหรือคุณแม่ได้

เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำ

มีประโยชน์ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่า น้ำที่เตรียมไว้นั้นร้อนเกินไปหรือไม่ ซึ่งตัวบอกอุณหภูมิน้ำนั้นมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบที่เป็นกระดาษเคลือบ หรือเป็นตุ๊กตุ่นลอยน้ำ

แผ่นยาง (ผ้ายาง)

ผ้ายางจะมีประโยชน์มากเพราะสามารถป้องกันน้ำจากตัวของลูกหลังอาบน้ำไม่ให้เปียกที่นอน นอกจากนั้นยังช่วยให้พ่อแม่สามารถแต่งตัวลูกบนผ้ายางได้ หรือจะใช้รองตัวลูกเวลาจะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก

แผ่นยางกันลื่น

หากพ่อแม่พาลูกไปอาบน้ำในห้องน้ำ ก็ควรจะหาแผ่นยางกันลื่นปูไว้ที่พื้นห้องน้ำ ช่วยป้องกันเวลาที่เราเดินไปมาในห้องน้ำระหว่างการอาบน้ำให้ลูก

กระปุกใส่สำลี

การใช้สำลีทำความสะอาดตามจุดต่างๆ เช่น ปาก, ลิ้น และบริเวณรอบดวงตาของลูก วิธีเตรียมสำลีก็ง่ายๆ แค่ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นนำสำลีใส่ไว้ในกระปุก (แนะนำเป็นกระปุกสแตนเลส) จากนั้นนำน้ำร้อนมาเทราดลง ไปบนสำลีให้เปียก หากใช้ไม่หมด ก็ควรจะนำสำลีที่เหลือนี้ไปเช็ดก้นลูกแทนในวันถัดไป

สบู่และแชมพู

แนะนำว่าควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติให้มากที่สุด ไม่ควรยึดติดกับยี่ห้อมากเกินไป แต่ควรให้ความสำคัญของส่วนผสมที่ระบุไว้บนฉลาก ปัจจุบันจะมีแชมพูและสบู่ที่เป็น Organic (พืชที่ปลูกโดยไม่ ใช้สารเคมีใดๆ)

แป้งโรยตัว

แนะนำว่าให้ใช้แป้งโรยตัวที่ทำมาจากแป้งข้าวโพด (corn starch) เพราะจะไม่ทำอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของลูก ซึ่งแป้งโรยตัวในแต่ละยี่ห้อพ่อแม่ก็ควรจะตรวจสอบด้วยว่ามีส่วนผสมของแร่ทัลคัท (Talc) หรือ ไม่ เพราะแป้งโรยตัวเด็กบางยี่ห้อมีส่วนผสมเหล่านี้ลงไปด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อลูกเช่นกัน หากหาซื้อไม่ได้พ่อแม่ก็สามารถทำแป้งโรยตัวให้ลูกได้เอง โดยนำแป้งข้าวโพดมาอบในเตาอบด้วยไฟขนาดปานกลางเป็น เวลา 10 นาที

แปรงสีฟันและยาสีฟัน

หากลูกของเรามีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป พ่อแม่ก็ควรจะเริ่มเตรียมแปรงที่เป็นแบบใช้เสียบลงบนนิ้ว (ทำจากยาง) เราสามารถแปรงที่เหงือกหรือฟันของลูกเบาๆได้ ส่วนยาสีฟันนั้นไม่จำเป็นต้องใช้จนกว่าลูกจะมี ฟันขึ้นเยอะ ใช้แค่น้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว หากอยากจะใช้จริงๆ ก็แนะนำยาสีฟันแบบที่สามารถกลืนได้ ไม่มีส่วนผสมของสบู่และสารกันบูด นอกจากนั้นยาสีฟันสำหรับเด็ก (อายุไม่ถึง 2 ปี) นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟันที่มี ส่วนผสมของฟลูออไรด์ เนื่องจากลูกยังเล็กเกินกว่าที่จะบ้วนยาสีฟันทั้งหมดออกมา


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 7 Best Baby Bath Products of 2020. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/best-baby-bath-products-4169517)
Baby's First Bath: Sponge, Tubs, Soap, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/parenting/baby/bathing-newborn#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป