กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 สูตรเครื่องดื่มช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 สูตรเครื่องดื่มช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี

 Hypercholesterolemia หรือ ภาวะคอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะที่คอเลสเตอรอลสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงมากเกินไป อย่างไรก็ดี โดยปกติแล้ว ไขมันชนิดนี้จะถูกผลิตโดยตับ หรือได้จากการทานอาหารบางชนิด ทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอลได้นั่นเอง สิ่งที่จะตามมาคือ คุณจะมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น รวมถึงมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลคือ ภาวะดังกล่าวมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจนออกมาให้เราเห็น นอกจากการควบคุมการทานอาหารที่มีไขมันสูงให้เหมาะสมแล้ว การทานอาหารบางชนิดก็สามารถช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเช่นกัน ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมหลากสูตรเครื่องดื่มมาให้ดูเป็นแนวทางค่ะ มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. กระเทียมและเลมอน

กระเทียมดิบและน้ำเลมอนมีสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่ช่วยกำจัดไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือด อาหารทั้งสองชนิดนี้จะช่วยทำให้เลือดสะอาดมากขึ้น และป้องกันโรคที่เกิดจากการอักเสบมากเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนผสม

  • กระเทียมดิบ 1 กลีบ
  • น้ำเลมอน ½ ลูก

วิธีทำ

1) บดกระเทียม และนำมาผสมกับน้ำเลมอน

2) ดื่มในตอนเช้าติดต่อกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์

2. ไวน์แดงและพาสลีย์

 สูตรไวน์แดงและพาสลีย์ ถือเป็นสูตรที่นำมาใช้เพื่อลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่พบได้ในอาหารเหล่านี้สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้ไขมันก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดไปพร้อมกับป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูง

ส่วนผสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไวน์แดง 2 แก้ว (400 มิลลิลิตร)
  • พาสลีย์ 3 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

วิธีทำ

1) เทไวน์แดงในเหยือกและใส่พาสลีย์บดลงไป

2) ปล่อยทิ้งไว้ 12 วัน แล้วค่อยนำมาดื่ม โดยให้ดื่มแก้วเล็ก (100 มิลลิลิตร) ก่อนแต่ละมื้ออาหาร และดื่มเป็นเวลา 2 สัปดาห์

3. แตงกวาและฝรั่ง

น้ำแตงกวาสดและน้ำฝรั่ง สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย และช่วยกำจัดไขมันชนิดไม่ดีในร่างกาย นอกจากนี้มันยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ ซึ่งช่วยลดการดูดซึมของไขมันในลำไส้

ส่วนผสม

วิธีทำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1) หั่นส่วนผสม และนำไปปั่นรวมกับน้ำเปล่าประมาณ 2-3 นาที แล้วค่อยดื่ม

2) ดื่มทุกเช้า และดื่มอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

4. น้ำสับปะรดและขิง

น้ำสับปะรดและขิงมีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะและดีท็อกซ์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญ และลดการดูดซึมไขมันในหลอดเลือด นอกจากนี้มันยังช่วยต่อสู้กับการอักเสบที่เกิดจากการคั่งน้ำ รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ส่วนผสม

  • น้ำเปล่า 3 ถ้วย (600 มิลลิลิตร)
  • ขิงบด 1 ช้อนโต๊ะ (10 กรัม)

วิธีทำ

1) หั่นสับปะรดออกเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปต้มในน้ำ

2) หลังจากเดือดแล้ว ยกหม้อออกจากเตา และเติมขิงบดลงไป

3) ปล่อยทิ้งไว้จนอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับดื่ม แล้วค่อยกรองเนื้อออก

4) ดื่มวันละ 3 แก้ว ก่อนทานอาหาร และดื่มให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

5. งา แอปเปิ้ล และโอ๊ต

สมูทตี้สูตรนี้จะช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์  นอกจากนี้มันยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุ ที่ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น และช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี

ส่วนผสม

  • งา 1 ช้อนโต๊ะ (10 กรัม)
  • น้ำเปล่า 1 ถ้วย (200 มิลลิลิตร)
  • แอปเปิ้ล 1 ลูก
  • ข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม)

วิธีทำ

1) เติมงา 1 ช้อนโต๊ะลงในน้ำเดือด และปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน

2) กรองงา และนำไปปั่นรวมกับส่วนผสมอื่นๆ จนได้เนื้อเดียวกัน

3) ดื่มสมูทตี้สูตรนี้ในตอนเช้า และรออย่างน้อย 30 นาที ก่อนทานอาหารเช้า

นอกจากการบริโภคเครื่องดื่มที่เราแนะนำข้างต้นแล้ว คุณก็อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมการทานอาหารให้เหมาะสม เพราะสิ่งเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายค่ะ

ที่มา : https://steptohealth.com/lower...

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป