ความจริงเกี่ยวกับความเชื่อห้าอย่างในเรื่องอาหารที่พบได้บ่อย

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความจริงเกี่ยวกับความเชื่อห้าอย่างในเรื่องอาหารที่พบได้บ่อย

ในบางครั้ง การจะกินอาหารให้เหมาะสมและดีต่อสุขภาพก็เป็นเรื่องยาก และยังมีหลักฐานที่ขัดแย้งกันเรื่องอาหารและสารอาหารอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อมูล (และความเห็น) อีกมากมายจากหลายที่มา เพิ่มด้วยความเชื่อที่เชื่อต่อกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งทำให้ยิ่งยากขึ้นที่จะรู้ได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคุณ และอะไรที่ไม่ใช่

ฉันคงจะทำอะไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวิทยาศาสตร์และความเห็นเรื่องโภชนาการไม่ได้มากไปกว่าการรายงาน แต่ฉันสามารถแบ่งปันความเชื่อที่พบได้บ่อย ๆ เรื่องอาหาร และบอกได้ว่าอะไรที่คุณควรรู้ในเรื่องนี้บ้าง

ความเชื่อที่หนึ่ง: น้ำตาลไม่ฟอกสีดีกว่าน้ำตาลทรายขาว

ไม่เกี่ยวเลย น้ำตาลก็คือน้ำตาลนั่นแหละ น้ำตาลไม่ฟอกสีหรือที่บางครั้งเรียกว่าน้ำตาลทรายแดง (turbinado sugar) มีสีเข้มกว่าน้ำตาลที่เห็นตามปกติบนโต๊ะอาหาร และเกล็ดน้ำตาลก็ใหญ่กว่า แต่ก็ยังคงมีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน คือเป็นซูโครส ซึ่งประกอบด้วยกลูโคสและฟรุคโตสอย่างละครึ่ง น้ำตาลชนิดนี้มีรสดี ดังนั้นคุณจึงอาจใส่มันเล็กน้อยลงในกาแฟหรือซีเรียล แต่ปัญหาจริง ๆ เกี่ยวกับการเติมน้ำตาลมาจากอาหารที่ผ่านการแปรรูปอย่างมากมากกว่า ซึ่งก็ไม่ได้ดีไปกว่าน้ำเชื่อมข้าวโพด (corn syrup) ที่มีฟรุคโตสสูงเลย

ความเชื่อที่สอง: อาหารที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ (organic - ปราศจากการใช้สารเคมี) มีคุณค่าทางอาหารมากกว่าอาหารที่ปลูกโดยวิธีปกติ

การศึกษาหลายชิ้นเปรียบเทียบอาหารที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์กับอาหารที่ปลูกตามปกติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาหารที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์บางชนิดอาจมีวิตามินซีมากกว่าเพียงเล็กน้อย และในการศึกษาอื่น ๆ ก็ไม่พบความแตกต่าง ซึ่งหากจะมีความแตกต่างทางโภชนาการระหว่างอาหารที่ปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์กับวิธีปกติแล้ว ก็คงจะต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เหตุผลหลักสำหรับการเลือกอาหารเกษตรอินทรีย์คือการหลีกเลี่ยงสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง และอาจเป็นการสนับสนุนท้องถิ่นและทำให้การทำการเกษตรยั่งยืน แต่ผลไม้และผักที่ไม่ได้ปลูกด้วยวิธีดังกล่าวก็มีคุณค่าทางอาหารและดีต่อสุขภาพของคุณเช่นกัน

ความเชื่อที่สาม: ไข่ไก่สีน้ำตาลมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าไข่ไก่สีขาว

สีของเปลือกไข่นั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ของไก่ และคุณค่าทางโภชนาการนั้นไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าไข่จะมีเปลือกสีอะไรก็ตาม ล้วนเป็นแหล่งโปรตีนและลูทีนชั้นเยี่ยม แต่ก็มีไขมันสัตว์ที่อิ่มตัวสูงเช่นกัน การกินไข่เพียงหนึ่งถึงสองฟองต่อวันเป็นประจำก็เป็นการกินอาหารที่ดีและสมดุลต่อสุขภาพได้

ความเชื่อที่สี่: เกลือทะเลดีต่อคุณมากกว่าเกลือตามปกติ

เกลือก็คือเกลือ ซึ่งประกอบไปด้วยโซเดียมและคลอไรด์อย่างละครึ่ง เกลือทะเลอาจมีสีต่างกันออกไป หรืออาจมีรสชาติต่างกันไปเล็กน้อย เนื่องจากเกลือแร่อื่น ๆ ที่มีอยู่ด้วย แต่ประโยชน์ที่แท้จริงของเกลือแร่ดังกล่าวนั้นแทบไม่มี น่าจะมีประโยชน์เพียงอย่างเดียวของการกินเกลือทะเลคือหากเกล็ดเกลือใหญ่ขึ้นจะทำให้ใช้เกลือน้อยกว่า

ความเชื่อที่ห้า: อาหารปราศจากคอเลสเตอรอลนั้นดีต่อหัวใจของคุณ

ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงอาจช่วยได้เล็กน้อย แต่ไม่เท่ากับการระมัดระวังการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และการตรวจสอบอาหารที่กินในเชิงทั่ว ๆ ไป อาหารหลายชนิดปราศจากคอเลสเตอรอล และดีต่อคุณมาก (ผลไม้ทุกประเภท ผัก และธัญพืชเต็มเมล็ด)

แต่ผลิตภัณฑ์อาหารก็สามารถแสดงในฉลากว่า  “ปราศจากโคเลสเตอรอล” แต่ยังมีไขมัน โซเดียม เกลือ และพลังงานสูงได้ ซึ่งค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับการเป็นสิ่งที่ดีสำหรับหัวใจของคุณ ฉันสามารถเพิ่มเติมได้อีกนิดหน่อย “ปราศจาก GMO” ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ “ปราศจากกลูเตน” ไม่ได้หมายความว่าดีต่อสุขภาพมากกว่าโดยอัตโนมัติ และ “จากธรรมชาติ” ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 Nutrition Myths Even Health Fiends Get Wrong. Health.com. (https://www.health.com/nutrition/health-myths)
Busted: Popular Diet Myths. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-diet-myths)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เราควรบริโภคน้ำตาลมากแค่ไหน?
เราควรบริโภคน้ำตาลมากแค่ไหน?

สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญกล่าว

อ่านเพิ่ม
การตรวจไขมันในเลือด บอกโรคได้ !
การตรวจไขมันในเลือด บอกโรคได้ !

ไขมันจำเป็นต่อร่างกาย แต่ถ้ามีมากเกินไปก็อาจกลายเป็นผู้ร้ายได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม