7 สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้าอาจไม่เคยบอกคุณ

เท้า เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่มักละเลยที่จะดูแลสุขภาพเท้า เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นแต่ไม่ยอมไปพบแพทย์ อาจทำให้เกิดภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงบางอย่างตามมา
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
7 สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้าอาจไม่เคยบอกคุณ

เท้า เป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย เพราะเท้ามีหน้าที่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทกของร่างกาย เมื่อมีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้เท้าก็ยังเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้มนุษย์สามารถเคลื่อนตัวไปยังที่ต่างๆ ได้ด้วยการเดิน วิ่ง หรือกระโดด แต่คนส่วนมากมักละเลยที่จะดูแลสุขภาพเท้าของตัวเอง จนบางครั้งก็ทำให้เกิดความผิดปกติรุนแรงเกี่ยวกับเท้าที่ส่งผลเสียไปถึงร่างกาย

1. การเกิดโรคหรือภาวะที่เกี่ยวกับเท้า มักเกิดจากปัจจัย 3 ประการ 

การเกิดโรค หรือภาวะที่เกี่ยวกับเท้า เช่น ตาปลา โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ) การติดเชื้อราที่เล็บ การเป็นโรคเท้าแบน หรือแม้กระทั่งการเกิดเล็บขบ มักเกิดจากปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อ่านเรื่อง : สุขภาพเท้า ส่วนสำคัญที่ไม่ควรละเลย

2. การทำเล็บ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้

หากร้านที่ให้บริการทำเล็บ ใช้เครื่องมือในการตัดเล็บ ตัดหนัง หรือตะไบที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคเพื่อทำความสะอาดถูกสุขอนามัย อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในเล็บได้ โดยเฉพาะเล็บเท้า ยิ่งถ้าร้านทำเล็บไม่ได้ทำความสะอาดอ่างแช่เท้าและหินขัดเท้าก่อนนำมาให้บริการ รวมถึงทำเล็บไม่ดี มีน้ำขังอยู่ภายในเล็บ ก็ยิ่งเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากขึ้น เช่น เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้า เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคหูด และที่อันตรายที่สุดคือเชื้อ HIV ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์

อ่านข่าว : หญิงสาวชาวบราซิลติดเชื้อ HIV จากการทำเล็บรายแรกของโลก

แม้การติดเชื้อราในเล็บเท้าจะไม่เป็นอันตราย เพราะว่าเชื้อไม่สามารถลงลึกไปถึงเนื้อได้ แต่เชื้อราจะทำให้เกิดโพรงในเล็บ ทำให้เล็บหนาขึ้นและโค้งจิกลงมากลายเป็นเล็บขบ ทำให้เกิดการติดเชื้อจนเกิดหนองที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันน้อย เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคไต

ทำความรู้จัก : การเกิดเชื้อราที่เล็บ

3. หากติดเชื้อที่กระดูกนิ้วเท้ารุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการตัดข้อเท้า

การติดเชื้อที่กระดูก มักเกิดจากเชื้อ Staphylococcus Aureus ซึ่งเข้าสู่ร่างกายได้จากหลอดเลือด เนื้อเยื่อ และบาดแผลต่างๆ เช่น เล็บขบ โดยสัญญาณที่สามารถสังเกตเห็นได้ว่าเกิดการติดเชื้อในกระดูก คือจะมีผิวบวมแดง มีอาการปวด คัน และมีความร้อนบริเวณที่เกิดการอักเสบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำความรู้จัก : โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ 

ในระยะแรกสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการพักการใช้เท้า กินยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง แต่ถ้าหากเกิดการอักเสบรุนแรงมาก จนทำให้เกิดหนองภายใน อาจทำให้กระดูกตาย ซึ่งจะต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นๆ ออกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย

อ่านข่าว : สาวออสเตรเลียถูกตัดนิ้วเท้า อ้างติดเชื้อในกระดูกจากสปาปลาในประเทศไทย

4. การเกิดเส้นเลือดขอดที่ขา อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

เส้นเลือดขอด เกิดจากหลอดเลือดดำขยายและบวมจนทำให้เกิดการโป่งออกจนผิดรูป มักเกิดขึ้นที่ขาและเท้า เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายมากที่สุด การเกิดเส้นเลือดขอดอาจทำให้ข้อเท้าบวม มีอาการแสบร้อนในขา และเป็นตะคริว หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันที่ขาจนเกิดเป็นลิ่มเลือด ซึ่งถ้าหากลิ่มเลือดนี้หลุดไปถึงปอด อาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หน้ามืด เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด จนถึงขั้นเสียชีวิต

ทำความรู้จัก : ภาวะหลอดเลือดดำอุดกั้นที่ปอด

5. การใส่ที่คั่นนิ้วเท้าซิลิโคน ไม่ได้ช่วยรักษาอาการหัวแม่เท้าเอียงให้หายเป็นปกติ?

ภาวะหัวแม่เท้าเอียง เป็นความผิดปกติของเท้าประเภทหนึ่งที่ทำให้นิ้วหัวแม่เท้าเบี่ยงเข้าไปหานิ้วชี้ จึงทำให้เกิดการโปนของกระดูกบริเวณด้านนอกของหัวแม่เท้า มักเกิดจากกรรมพันธุ์ แต่บางกรณีก็สามารถเกิดได้จากโรคเท้าแบน โรคเกาต์ หรือความผิดปกติของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบางชนิด ผู้ที่มีภาวะหัวแม่เท้าเอียง จะรู้สึกเจ็บและปวดบริเวณหัวแม่เท้า บางรายอาจพบตาปลาบริเวณนิ้วโป้งและนิ้วชี้ที่มีการเสียดสีกันด้วย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำในข้อ ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำความรู้จัก : ภาวะหัวแม่เท้าเอียง

การใส่ซิลิโคนคั่นนิ้วเท้า เป็นหนึ่งในวิธีการบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดจากภาวะหัวแม่เท้าเอียง แต่ไม่ได้ทำให้หายเป็นปกติและไม่ได้ทำให้กระดูกส่วนที่โปนออกมาหายไป เพราะฉะนั้นจึงสามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดชั่วคราวได้ แต่ก็ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์ควบคู่กันไปด้วย

ดูตัวอย่าง ซิลิโคนคั่นนิ้วเท้า และ ปลอกผ้าคั่นนิ้วโป้งเท้า ได้ที่นี่ 

6. รองเท้าเพื่อสุขภาพ มีส่วนช่วยดูแลเท้าได้ดียิ่งขึ้น

ผู้ที่มีภาวะเท้าแบน อุ้งเท้าโก่ง หรือสูงมากกว่าปกติ และผู้ที่ภาวะหัวแม่เท้าเอียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตัดรองเท้าพิเศษที่มีการออกแบบให้ตรงกับสรีระรูปเท้าของผู้ที่มีความผิดปกตินี้ เพื่อช่วยพยุงอุ้งเท้าไม่ให้บิดเข้าข้างในที่อาจทำให้เกิดปัญหาข้อเท้าอักเสบกระดูกสันหลังผิดรูป นอกจากนี้แล้วผู้ที่มีภาวะขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ก็ควรตัดรองเท้าพิเศษเช่นกัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกเชิงกรานเอียง 

อ่าน : วิธีการเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพ

7. รองเท้ากีฬาก็มีความสำคัญมาก

แม้จะออกกำลังกายไม่หนักมาก เช่น เดิน หรือวิ่งบนลู่ ก็ควรเลือกรองเท้าสำหรับออกกำลังกายโดยเฉพาะ เนื่องจากรองเท้ากีฬาเหล่านี้มักจะมีการออกแบบเพื่อให้มีการรองรับน้ำหนักของเท้าที่มากกว่าปกติ รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อเท้า หากเป็นไปได้ ควรสั่งตัดแผ่นรองเท้า (Insole) ที่มีการออกแบบเฉพาะสำหรับเท้าของผู้สวมใส่ จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับเท้าในอนาคตได้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diabetic Foot Exam. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/diabetic-foot-exam/)
Tips on foot care. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/tips-on-foot-care/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)