เล็บขบ อาการเกี่ยวกับเล็บที่พบได้บ่อยที่สุด

เล็บขบ เกิดจากอะไร มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างไรบ้าง รักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้หรือไม่ และเป็นเล็บขบแบบใดที่ต้องไปหาหมอ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เล็บขบ อาการเกี่ยวกับเล็บที่พบได้บ่อยที่สุด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เล็บขบ คือ อาการที่ขอบเล็บ หรือด้านข้างของเล็บงอกเข้าไปในเนื้ออ่อนใต้เล็บเท้าจนเกิดอาการเจ็บปวด ปวดแดง เป็นหนอง หรือทำให้ถึงขั้นติดเชื้อ มักเกิดนิ้วหัวแม่เท้ามากที่สุด
  • เล็บขบเกิดได้จากการสวมใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป การตัดเล็บเท้าสั้น หรือโค้งมนเกินไป หรือเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุบริเวณเล็บเท้า
  • เล็บขบอาจลุกลามไปถึงขั้นทำให้ติดเชื้อที่กระดูกได้ และอาจต้องตัดขาทิ้งเลยทีเดียว
  • ในเบื้องต้นหากมีอาการเล็บ คุณอาจแช่เท้ากับน้ำอุ่น เปลี่ยนรองเท้าที่ใส่ ทำความสะอาดเล็บเท้าที่เป็นเล็บขบแล้วทายาฆ่าเชื้อไปพลางๆ ก่อน แต่หากอาการยังไม่หายดีก็ควรไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์ต้องใช้วิธียกเล็บออกทั้งหมดหากติดเชื้อรุนแรงมาก
  • เล็บขบเป็นอาการบาดเจ็บเล็กๆ ที่สามารถลุกลามรุนแรงได้ ทางที่ดีคุณควรทำความสะอาดเล็บอยู่เสมอ และหากเกิดาอาการบาดเจ็บใดๆ บริเวณเท้า ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการให้แน่ใจ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

เล็บขบ เป็นอาการที่ขอบเล็บ หรือด้านข้างของเล็บเท้างอกเข้าไปในเนื้ออ่อนจนทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด บวมแดง บางครั้งอาจพบหนองจากการติดเชื้อด้วย สามารถเกิดได้บ่อย และมักจะเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้ามากที่สุด 

ถึงแม้โดยทั่วไป เล็บขบจะสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองที่บ้าน แต่ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น มีหนองไหลจากแผลปริมาณมาก เริ่มมีอาการติดเชื้อลุกลาม รวมถึงเป็นผู้ป่วยเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกต้องจะดีที่สุด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของเล็บขบ

อาการของเล็บขบ มีดังนี้

  • เจ็บปวดที่นิ้วเท้าที่มีอาการ และกดเจ็บที่นิ้วเท้าทั้งแบบด้านเดียว หรือสองด้านของเล็บ
  • บริเวณรอบเล็บเท้าบวมแดง
  • บริเวณที่เกิดเล็บขบมีหนองไหลออกมาจากการติดเชื้อ
  • หากมีอาการรุนแรง จะรู้สึกเจ็บปวดทุกครั้งที่ก้าวเดิน

สาเหตุของเล็บขบ 

เล็บขบ สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้

  • สวมใส่รองเท้าคับเกินไปจนเล็บเท้าถูกกด หรือถูกบีบรัดเป็นประจำ 
  • การตัดเล็บเท้าสั้นเกินไป หรือตัดเล็บแบบโค้งมน
  • มีเล็บเท้าที่โค้งมากกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อราที่เล็บเท้า
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณเล็บเท้า

หากเป็นเล็บขบแล้วไม่รีบทำการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระดูก ซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงขั้นต้องตัดขาได้

ภาวะแทรกซ้อนจากเล็บขบอาจมีความรุนแรงเป็นพิเศษ หากเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเท้าน้อยกว่าคนทั่วไป 

เพราะโรคเบาหวานจะทำให้การบาดเจ็บเล็กน้อยบริเวณเท้า เช่น เล็บขบ แผลถูกบาด กลายเป็นเรื่องใหญ่เนื่องจากแผลไม่สามารถเยียวยาตัวเองได้ตามปกติ และอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงมากด้วย 

วิธีรักษาเล็บขบ

  1. แช่น้ำอุ่นผสมเกลือ เพราะน้ำจะทำให้เล็บเท้านุ่มขึ้นจนง่ายต่อการตัดออก และยังลดอาการอักเสบได้ด้วย 
  2. ทายาฆ่าเชื้อ หากอาการเล็บขบไม่ได้ร้ายแรงมาก และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ หรือหากไม่ดีขึ้น คุณอาจเปลี่ยนเป็นรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาปฏิชีวนะแทน
  3. ใส่รองเท้าแตะ หรือรองเท้าที่ไม่คับเกินไป หากรู้สึกว่า มีเล็บขบเกิดขึ้น ในเบื้องต้นให้คุณลองเปลี่ยนรองเท้าเป็นแบบที่ใส่สบายๆ เปิดให้อากาศถ่ายเทกับผิวเท้า ไม่คับ หรือแน่นจนเกินไป บางทีเล็บขบอาจดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้วิธีรักษาอย่างอื่นเพิ่ม
  4. ยกเล็บส่วนเกินออก แล้วสอดสำลีเข้าไป ซึ่งวิธีนี้ควรประทำโดยแพทย์เพื่อความสะอาด และปลอดภัย โดยวิธีนี้จะช่วยลดการเสียดสีระหว่างเล็บ กับผิวเท้าได้ แต่คุณจะต้องเปลี่ยนสำลี และทำความสะอาดแผลทุกวัน

การป้องกันเล็บขบ

วิธีการป้องกันการเกิดเล็บขบ ได้แก่

  • ตัดแต่งเล็บเท้าให้เป็นเส้นตรง และคงความยาวเล็บเท้าเอาไว้ อย่าตัดเล็บเท้าตามแนวโค้งของเล็บ และควรตัดเล็บเท้าให้เสมอกับปลายนิ้วเท้า เพราะถ้าหากตัดสั้นหรือโค้งมนมากเกินไป อาจทำให้เล็บงอกลงไปใต้เนื้อเยื่อ
  • สวมใส่รองเท้าที่พอดี รองเท้าที่กดนิ้วเท้ามากไปอาจทำให้เล็บเท้างอกลงเนื้อเยื่อโดยรอบได้ ดังนั้นคุณจึงควรเลือกซื้อรองเท้าที่พอดีกับเท้าที่สุด หรือเลือกซื้อจากร้านตัดรองเท้าพิเศษสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเท้า 
  • ทำความสะอาดเล็บเท้าอยู่เสมอ ในทุกๆ วันระหว่างอาบน้ำ คุณควรทำความสะอาดเล็บเท้าของตนเองให้สะอาดเช่นเดียวกัน เพื่อลดปริมาณการสะสของเชื้อโรคที่ซ่อนอยู่ในเล็บเท้า และยังช่วยลดกลิ่นเท้าได้ด้วย
  • ระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบุติเหตุกับเท้า หากเท้าของคุณถูกชน หรือกระแทกกับขอบมุมต่างๆ ก็มีโอกาสที่เล็บเท้าจะเสียดสี หรือฉีกขาดกับผิวหนังข้างในเล็บเท้าได้ จนเกิดเป็นแผล และกลายเป็นเล็บขบในเวลาต่อ

เล็บขบ เป็นแผลทีสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งเท้า คือ อวัยวะที่หลายคนมักจะละเลยไม่ดูแลทำความสะอาดให้ดี จนกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคในภายหลัง คุณจึงอย่าละเลยที่จะดูแลทำความสะอาด และตัดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอ 

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)