10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฟิตเนส

คุณแยกระหว่างเรื่องจริง และเรื่องโกหกได้หรือไม่ ?
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฟิตเนส

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่หนึ่ง: ไม่เจ็บ ไม่ได้มา

การออกกำลังกายที่ดีจำเป็นต้องแลกมาด้วยการเจ็บจริงหรือ….. ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจกำลังทำอะไรบางอย่างผิดพลาดแล้วเกิดอาการเจ็บปวดก็ได้ ซึ่งอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกายครั้งแรกก็สามารถพบได้ทั่วไป แต่หากอาการปวดเป็นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าคุณอาจกำลังหักโหมมากเกินไป ซึ่งอาการปวดที่ว่า คือ อาการปวด เจ็บ ตึง กดเจ็บ หรือบวม เคลื่อนไหวลำบาก จะเจ็บตอนเคลื่อนไหวร่างกาย แต่อยู่เฉย ๆ จะไม่รู้สึกอะไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย (Delayed onset muscle soreness) จะเริ่มมีอาการปวดตั้งแต่ 12-48 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย แต่ปวดมากสุดช่วง 48-72 ชั่วโมง แล้วอาการปวดต่าง ๆ จะลดลงจนหายไป เป็นผลมาจากการอักเสบ และการฉีดขาดของเนื้อเยื่ออิลาสติก (Elastic tissue) รอบ ๆ เส้นใยกล้ามเนื้อ ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดี และกล้ามเนื้อที่แข็งแรงควรรอให้อาการบาดเจ็บลดลงก่อน(หลัง 72 ชั่วโมง) ไม่เช่นนั้นคุณอาจบาดเจ็บแทนได้

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สอง: มีเหงื่อออกมากขณะออกกำลังกาย หมายถึง ไม่ฟิต

ในความเป็นจริงแล้ว คือ ตรงกันข้าม เพราะเหงื่อบ่งบอกถึงการระบายความร้อนของร่างกายว่ามีประสิทธิภาพ ขณะออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้นสูบฉีดเลือดไปทั่วไปร่างกายมากขึ้น บางคนรู้สึกได้ว่าร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น เพราะยิ่งออกมาก ความร้อนจากกล้ามเนื้อก็มากตามด้วย ทำให้ต้องมีการระบายความร้อนเพื่อคงอุณหภูมิของร่างกาย และป้องกันการเกิดความร้อนเป็นพิษด้วย

การระบายความร้อนของร่างกายอาศัยการไหลเวียนของเลือด โดยผ่านหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชั้นผิวหนังมากที่สุด ซึ่งผนังหลอดเลือด และรูขุมขนจะขยายตัว แล้วระบายความร้อนออกไป สังเกตได้จากบางคนหน้าแดง แก้มแดงหลังออกกำลังกายนั่นเอง แต่ร่างกายระบายความร้อนทางเดียวไม่พอ ต้องอาศัยต่อมเหงื่อช่วยขับเหงื่อช่วยด้วยอีกทาง โดยระบายความร้อนพร้อมกับการระเหยของเหงื่อ ร่างกายอาจสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ในปริมาณมาก ดังนั้น หลังออกกำลังกายหนัก ๆ อย่าลืมเติมน้ำ และเกลือแร่ชดเชยด้วย

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สาม: หากหยุดออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นไขมัน

กล้ามเนื้อ และไขมันเป็นเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนกันไปมาได้ ความจริงแล้ว คือ กล้ามเนื้อจะฝ่อไปหากไม่ได้ใช้งาน  ดังนั้น หากคุณกินตามปกติ แต่หยุดออกกำลัง คุณจะมีไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และแน่นอนว่าคำถามที่แท้จริงคือ ทำไมคุณถึงหยุดออกกำลังกายล่ะ ?

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สี่: เพิ่มการเผาผลาญไขมันได้โดยการออกกำลังกายนานขึ้น แต่เบาลง

ไม่ใช่เรื่องสำคัญว่าพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายมาจากไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตกี่เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่สำคัญคือ ใช้พลังงานไปทั้งหมดเท่าไรในแต่ละวัน ยิ่งออกกำลังกายหนัก ปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญไปในแต่ละนาทีก็จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ที่เริ่มออกกำลังกายใหม่ ๆ จะได้รับคำแนะนำให้เริ่มออกกำลังกายเบา ๆ ก่อน เนื่องจากอาจทนการออกกกำลังกายอย่างหนักไม่ได้ และการออกกำลังกายเบา ๆ ก็ปลอดภัยสำหรับผู้เริ่มต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่ห้า: ออกกำลังกายแล้วจะกินอะไรก็ได้

หากคุณพยายามจะชดเชยการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมด้วยการออกกำลังกาย คุณจะผิดหวังแน่นอน ในขณะที่ไม่ออกกำลังกาย และกินอาหารไม่เหมาะสมด้วยนั้นแย่ต่อสุขภาพมากกว่ากินอาหารไม่เหมาะสม แต่ออกกำลังกายมาก หากคุณเลือกกินอาหารที่มีคุณภาพดี คุณจะได้พลังงานที่ดี และประโยชน์จากการออกกำลังกายเกือบเต็มที่

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่หก: หากไม่ออกกำลังกายอย่างหนักสม่ำเสมอ การออกกำลังกายก็เป็นเรื่องเสียเวลาเปล่า

ไม่มีอะไรที่จะห่างไกลจากความเป็นจริงได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าแม้การออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น การเดิน และการทำสวนไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์ก็ทำให้ได้ประโยชน์มากมาย มีการศึกษาหนึ่งพบว่าการทำสวนแม้เพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่เจ็ด: ออกกำลังกายช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทุกอย่าง

แม้การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความแตกต่างอย่างมหาศาลของคุณภาพชีวิต แต่ก็ช่วยแก้ปัญหาทุกอย่างไม่ได้ รวมถึงคนที่มีปัญหาสุขภาพ หรือโรคที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรักษาโรค และแม้ว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือรักษาโรคได้ทั้งหมด แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยได้หลายอย่างตั้งแต่โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ โรคหอบหืด รวมถึงโรคเบาหวาน

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่แปด: การยกน้ำหนักจะทำให้คุณล่ำ

ผู้หญิงหลายคนใช้ข้ออ้างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการยกน้ำหนัก สิ่งที่พวกเธอลืมไป คือ การยกน้ำหนักเป็นวิธีที่ง่าย และเร็วที่สุดสำหรับผู้หญิงในการลดไขมันในร่างกาย และเพิ่มกล้ามเนื้อ!

การยกน้ำหนักจะทำให้มีมวลกล้ามเนื้อที่มากขึ้น จึงส่งผลให้มีการเผาผลาญที่ดีขึ้น สำหรับคุณผู้หญิงที่กังวลว่ายกน้ำหนักแล้วจะล่ำนั้น เมื่ออ่านบทความนี้แล้วคุณจะต้องเปลี่ยนใจ เพราะกล้ามเนื้อผู้หญิงไม่ได้ถูกสร้างมาเหมือนผู้ชายจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะได้กล้ามที่ใหญ่โตมา จะเห็นได้ว่าการเล่นเวทนั้นมีแต่ได้กับได้ แต่ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง หากไม่มั่นใจควรศึกษา หรือถามผู้รู้ให้แน่ใจก่อนเพื่อหุ่นสวย ๆ ของคุณในอนาคต

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่เก้า: จะสร้างกล้ามเนื้อต้องได้รับโปรตีนปริมาณมหาศาล

ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อที่แพร่หลายนี้ว่านักกีฬาต้องการโปรตีนปริมาณมหาศาล ตามที่ ดร. ซูซาน เนลสัน สทีน หัวหน้าแผนกโภชนาการสำหรับการออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยวอชิงตันฮัสกี้ได้กล่าวไว้ นักกีฬาที่แข็งแรงต้องการโปรตีนมากกว่าคนทั่วเพียงเล็กน้อย และยังคงต้องการคาร์โบไฮเดรตเพื่อเสริมสร้างไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ เธอยังชี้ให้เห็นว่าการหดตัวที่ทรงพลังของกล้ามเนื้อ (เช่นการยกน้ำหนัก) ใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต “ไม่ว่าไขมัน หรือโปรตีนก็ไม่สามารถถูกสันดาปได้ไวพอต่อความต้องการของการออกกำลังกายอย่างหนัก ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เพียงพอในแต่ละวันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสะสมไกลโคเจน” เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ 

ดังนั้น หากคุณต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อก็ควรทำตามโปรแกรมการฝึกยกน้ำหนักที่ดี และกินอาการที่สมดุลตามหลักโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ

ความเชื่อเรื่องฟิตเนสข้อที่สิบ: ยิ่งออกกำลังกายมาก ยิ่งดี

แน่นอนว่าคุณสามารถออกกำลังกายมากเกินไปได้เช่นกัน นักกีฬาระดับแถวหน้าหลายคนหลงผิดไปกับความเชื่อนี้ และได้รับผลที่ตามมาเป็นอาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้า สำหรับการออกกำลังกายจำเป็นต้องมีความสมดุลระหว่างการฝึก และการพักเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Elizabeth Quinn, 10 Fitness Myths and Half-Truths (https://www.verywellfit.com/fitness-myths-and-half-truths-3119139)
Colette Bouchez, Top 9 Fitness Myths -- Busted! (https://www.webmd.com/fitness-exercise/features/top-9-fitness-myths-busted#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม