กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ทำไมถึงมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระ?

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมถึงมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระ?

การมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระของเรามักไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่หากมันเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ อย่างการมีนิสัยขับถ่ายเปลี่ยนไป น้ำหนักลด หรือท้องเสีย มันก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุขภาพของคุณกำลังมีปัญหา สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูว่ามีสาเหตุใดที่ทำให้อาหารปนออกมากับอุจจาระ

1.อาหารที่มีไฟเบอร์สูง

ข้าวโพดและถั่วฝักมีแนวโน้มที่จะถูกย่อยเพียงบางส่วน เมื่อเราทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มันก็เป็นเรื่องปกติที่อาจมีอาหารที่ยังไม่ถูกย่อยปรากฏให้เราเห็นในอุจจาระ เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยวัตถุที่แข็งได้ทั้งหมด ทั้งนี้ไฟเบอร์มีส่วนช่วยเร่งการขับถ่ายโดยไปเพิ่มจำนวนอุจจาระ ซึ่งกระตุ้นให้ผนังลำไส้เคลื่อนไหว โดยดันอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร หากอาหารเคลื่อนไหวเร็วเกินไป มันก็มีแนวโน้มที่อาหารบางส่วนจะไม่ถูกย่อยโดยสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่มีแนวโน้มถูกย่อยเพียงบางส่วนและปรากฏอยู่ในอุจจาระ ตัวอย่างเช่น ถั่วฝัก เมล็ดพันธุ์ ข้าวโพด ผิวของผัก ผักใบเขียว ธัญพืชบางชนิด แครอท ลูกเกด ถั่ว ฯลฯ อย่างไรก็ดี อาหารอย่างข้าวโพดถือเป็นตัวการที่พบได้ทั่วไป เพราะข้าวโพดมีเปลือกด้านนอกที่ไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งเรียกว่า "เซลลูโลส" ร่างกายจะย่อยเนื้อภายในข้าวโพด และขับเปลือกด้านนอกออกมา

2.ทานอาหารเร็วเกินไป

อีกหนึ่งตัวการที่ทำให้อาหารย่อยไม่หมด และตกค้างอยู่ในอุจจาระก็คือ การทานอาหารเร็วเกินไป เมื่อเราทานอาหารอย่างรวดเร็ว และกลืนอาหารโดยเคี้ยวไม่ละเอียด อาหารมีแนวโน้มที่จะถูกส่งไปยังทางเดินอาหารโดยไม่ถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้การทานอาหารเร็วเกินไปอาจเป็นการบังคับให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานเร็วเกินไป ส่งผลให้อาหารส่วนมากไม่ถูกย่อยจนหมด คุณสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ โดยทานอาหารให้ช้าลง และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

3.ปัญหาสุขภาพ

มีโรคบางโรคหรือปัญหาสุขภาพที่สามารถทำให้อาหารหลงเหลืออยู่ในอุจจาระ ในกรณีนี้ผู้ป่วยมักพบว่าตัวเองมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย หรือปวดท้อง ตัวอย่างของปัญหาสุขภาพ เช่น

  • โรคโครห์น: เป็นหนึ่งในโรคที่มีการอักเสบบริเวณระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง และภาวะขาดสารอาหาร
  • โรคเซลีแอค: โรคนี้เกิดจากการที่ระบบภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนที่เรียกว่า กลูเตน โดยพบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และธัญพืชบางชนิด
  • ตับอ่อนทำงานบกพร่อง: ตับอ่อนจะไม่ผลิตเอนไซม์ ทำให้ย่อยอาหารไม่ได้
  • ภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ: หากทางเดินอาหารของเราไม่สามารถย่อยโปรตีนในนม มันก็บอกได้ว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะย่อยแลคโตสผิดปกติ
  • โรคลำไส้แปรปรวน: โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคทั่วไปที่ส่งผลต่อลำไส้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก นอกจากนี้เชื้อที่ทำให้ท้องเสีย หรือไวรัสในกระเพาะอาหารก็อาจทำให้อาหารถูกย่อยไม่หมดและไปตกค้างอยู่ในอุจจาระ สำหรับอาการอื่นๆ ที่สามารถประสบได้ เช่น เป็นไข้ ท้องอืด ปวดท้องเกร็ง ท้องเสีย อาเจียน ปวดตามร่างกาย รู้สึกไม่สบายตัว ฯลฯ

หากคุณมีอาการปวดท้องต่อเนื่องหรือปวดท้องเกร็ง คุณก็ควรไปพบแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว การมีอาหารตกค้างอยู่ในอุจจาระก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เว้นเสียว่ามีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลดโดยไม่สามารถอธิบายได้ มีเลือดในอุจจาระ นิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระได้ ท้องเสียเรื้อรัง ปวดท้องต่อเนื่องหรือปวดท้องเกร็ง ท้องอืดหรือมีก๊าซต่อเนื่อง ฯลฯ

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...

 

 

 

 


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 things you should know about poop. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324254)
Undigested food in stool: IBS, diarrhea, or something else?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321755)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)