เมื่อไรควรไปพบแพทย์สำหรับโรคของต่อมไทรอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่อไรควรไปพบแพทย์สำหรับโรคของต่อมไทรอยด์

โดยทั่วไปหากคุณสังเกตพบอาการของโรคต่อมไทรอยด์เป็นเวลานานช่วงเวลาหนึ่ง คุณควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะการป่วยเป็นโรคของต่อมไทรอยด์ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้โรคมีการพัฒนารุนแรงขึ้น และถึงแก่ชีวิตได้

 โดยทั่วไปอาการของโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์จนถึงเป็นเดือน หากคุณมีอาการต่างๆ สำหรับแต่ละโรคดังที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นเวลานาน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปที่ไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลร้ายแรงต่อสมอง

รวมทั้งทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ และทำให้หัวใจไม่สามารถเต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดเชื้อ การสัมผัสกับอากาศเย็น การบาดเจ็บ และยาบางชนิดอาจทำให้อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปแย่ลงได้

ให้ไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที หากคุณมีอาการและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับโรคของต่อมไทรอยด์ ดังนี้

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปที่มีอาการรุนแรง เรียกว่า thyrotoxic crisis (thyroid storm)

ภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะส่งผลต่อหัวใจและสมอง มักพบในผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปที่ไม่ได้รับการรักษา หรือได้รับการรักษาไม่เหมาะสม การติดเชื้ออย่างรุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการ thyrotoxic crisis ได้

ให้ไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที หากคุณมีอาการและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับโรคของต่อมไทรอยด์ ดังนี้

คอพอกหรือมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ระดับรุนแรง

ให้ไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที หากคุณมีอาการและอาการแสดงที่สัมพันธ์กับโรคของต่อมไทรอยด์ ดังนี้

  • หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อพบเสียงฮื้ดที่บริเวณลำคอขณะหายใจ
  • มีอาการปวดมากที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้กลืนลำบาก
  • ต่อมไทรอยด์โตขึ้นอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะถ้าพบร่วมกับการหายใจลำบากหรือกลืนลำบาก
  • มีอาการปวดและมีไข้สูงร่วมกับต่อมไทรอยด์โต

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hypothyroidism: When to See an Endocrinologist. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/healthy-living-with-hypothyroidism/see-an-endocrinologist/)
Do you need a thyroid test?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/womens-health/do-you-need-a-thyroid-test)
Do You Need to See an Endocrinologist for Your Thyroid Disease?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/endocrinologist-for-thyroid-disease-3232863)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม