ทีมแพทย์และเภสัชกร HonestDocs
เขียนโดย
ทีมแพทย์และเภสัชกร HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาคุมฉุกเฉิน กินตอนไหน ถึงให้ประสิทธิภาพสูงสุด?

ควรกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินตอนไหนถึงจะได้ผลมากที่สุด วิธีการกินยาที่ถูกต้อง และถ้าไม่ได้กินตามกำหนด ควรทำอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาคุมฉุกเฉิน กินตอนไหน ถึงให้ประสิทธิภาพสูงสุด?

แม้ว่าในปัจจุบันจะทางเลือกในการคุมกำเนิดหลากหลายวิธี ซึ่งสะดวก ปลอดภัย ได้ประสิทธิภาพมากกว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน แต่ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินก็ยังมีหลายคนเลือกใช้ สำหรับป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยคำถามหนึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ ยาคุมฉุกเฉิน กินตอนไหน? เภสัชกรแนะนำว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีส่วนประกอบของลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) นั้น ให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ จึงจะมีประสิทธิผลในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงสุด ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรับประทานยาลีโวนอร์เจสเตรลภายใน 72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าการรับประทานหลังจาก 72 ชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากกลไกของลีโวนอร์เจสเตรลคือยืดระยะเวลาการตกไข่ เพื่อไม่ให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างอสุจิกับไข่ ยิ่งรับประทานได้เร็ว ประสิทธิผลในการป้องกันก็จะยิ่งสูงมากขึ้น

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่วางจำหน่ายในประเทศไทย

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยเป็นยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของลีโวนอร์เจสเตรล มีทั้งยี่ห้อที่วางจำหน่ายในรูปแบบ 1 เม็ด และแบบ 2 เม็ด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยี่ห้อที่มีวางจำหน่าย บริษัทผู้ผลิต รูปแบบยา
Tansy One Exeltis ยาเม็ด ประกอบด้วย Levonorgestrel ขนาด 1.5 มิลลิกรัม จำนวน 1 เม็ด
Jus One พอนด์ เคมีคอล
Madonna Millimed
Madonna Biolab ยาเม็ด ประกอบด้วย Levonorgestrel ขนาด 0.75 มิลลิกรัม จำนวน 2 เม็ด
Postinor 2 Gedeon Richter
Mary Pink ไบร์วู๊ดฟาร์มาซูติคอล
Ladynore Biolab

ยาคุมฉุกเฉิน กินตอนไหน?

จากตารางด้านบนจะเห็นว่า ยาคุมฉุกเฉินมีแบบ 1 เม็ด กับ 2 เม็ด โดยแต่ละแบบของยาคุมฉุกเฉิน กินตอนไหน ดูรายละเอียดได้ดังนี้ 

  1. ชนิด 1 เม็ด ให้รับประทานภายใน 72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการป้องกัน หรือสงสัยว่าการป้องกันการคุมกำเนิดไม่ได้ผล
  2. ชนิด 2 เม็ด ให้รับประทานเม็ดแรก ภายใน 72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการป้องกัน หรือสงสัยว่าการป้องกันการคุมกำเนิดไม่ได้ผล (รับประทานเม็ดใดก่อนก็ได้) หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง ให้รับประทานอีก 1 เม็ดที่เหลือ

กรณีรับประทานยาเม็ดแรกของคุมกำเนิดฉุกเฉินแบบ 2 เม็ด จากนั้นยาเม็ดที่เหลือหายไป หรือลืมไว้ที่อื่น สามารถหาซื้อยาแผงใหม่ที่เป็นยาคุมฉุกเฉินแบบ 2 เม็ดมารับประทานทดแทนกันได้ ยี่ห้อไม่เหมือนเม็ดแรกก็ได้ ให้รับประทานเม็ดใดก็ได้ 1 เม็ดเป็นเม็ดที่ 2 ต่อจากแผงเก่า จะให้ผลการคุมกำเนิดแบบเดียวกัน

อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนมักสงสัยได้แก่ ยาคุมฉุกเฉิน กินตอนไหน ก่อนหรือหลังกินข้าวดีกว่ากัน? สำหรับข้อสงสัยนี้ เภสัชกรแนะนำว่าสามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินที่มีลีโวนอร์เจสเตรลเป็นตัวยาสำคัญพร้อมอาหาร หรือไม่พร้อมอาหารก็ได้ แต่หากรับประทานก่อนนอนก็จะช่วยลดผลข้างเคียงที่กินยาแล้วคลื่นไส้อาเจียนได้ส่วนหนึ่ง

ยาคุมฉุกเฉินชนิด 1 เม็ดกับ 2 เม็ดแตกต่างกันอย่างไร?

การผลิตยาในรูปแบบ 1 เม็ด ก็เพื่อป้องกันการลืมรับประทานยาเม็ดที่ 2 จากการศึกษารูปแบบงานวิจัยเชิงสังเคราะห์แห่งหนึ่งพบว่า การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิด 1 เม็ด ที่ประกอบด้วยลีโวนอร์เจสเตรลขนาด 1.5 มิลลิกรัม ให้ประสิทธิผลในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ต่างจากการแยกรับประทานยาคุมกำเนิดชนิด 2 เม็ด ที่ประกอบด้วยลีโวนอร์เจสเตรลขนาด 0.75 มิลลิกรัม

ดังนั้น หากกลัวจะลืมรับประทานยาเม็ดที่ 2 แนะนำให้ใช้ยาชนิด 1 เม็ด หรือรับประทานขนาด 0.75 มิลลิกรัมครั้งเดียว 2 เม็ดพร้อมกัน ก็ให้ผลในการคุมกำเนิดเช่นเดียวกัน

วิธีแก้ไขหากไม่ได้รับประทานยาคุมในระยะเวลาที่กำหนด

ในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงได้ ก็ให้รีบรับประทานทันทีที่สะดวก โดยระยะเวลาสูงสุดที่มีการศึกษาคือ 120 ชั่วโมง หรือ 5 วัน แม้ประสิทธิผลในการคุมกำเนิดจะลดลงไปมาก คือไม่สามารถรับรองผลว่าจะสามารถคุมกำเนิดได้ 100% แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพมากกว่าการไม่รับประทานยาเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการแก้ไขในกรณีที่ไม่สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้ตามที่กำหนด หรือมีแนวโน้มว่าจะเกิดการตั้งครรภ์ คือการปรึกษาแพทย์ ซึ่งสามารถให้คำตอบได้ชัดเจนที่สุด

กินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินบ่อยจะส่งผลเสียต่อมดลูกหรือไม่?

การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินทำให้ร่างกายได้รับปริมาณของลีโวเจสเตรลที่อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และยังมีการศึกษาถึงความเกี่ยวข้องของการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ต่อการเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งเต้านม แพทย์จึงแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินไม่เกินเดือนละ 2 ครั้ง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า กลุ่มที่รับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะมีรอบเดือนในช่วงสามสัปดาห์แรกสั้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน และส่งผลให้ประจำเดือนในรอบถัดไปมานานกว่าปกติ

มีสัญญาณอะไรบอกหรือไม่ว่ากินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินได้ผลแล้ว?

แม้จะรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินได้ถูกต้องทุกอย่าง แต่ก็ไม่ได้มีการรับรองว่าจะคุมกำเนิดได้ 100 % มีสัญญาณแรกที่อาจบอกได้ว่าการคุมกำเนิดไม่สำเร็จ คือ ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด วิธีการที่จะตรวจสอบว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นได้ผลหรือไม่ คือการตรวจการตั้งครรภ์เท่านั้น ควรใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 14 วัน เพราะการตรวจก่อนหน้านั้นอาจให้ผลเป็นลบ ถึงแม้จะเกิดการตั้งครรภ์ก็ตาม


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization, Emergency contraception (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception), 2 February 2018
Shohel et al., A systematic review of effectiveness and safety of different regimens of levonorgestrel oral tablets for emergency contraception, 4 April 2014
James Trussell et al., Emergency Contraception: A Last Chance to Prevent Unintended Pregnancy, Princeton University, January 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาคุมฉุกเฉิน ราคาเท่าไหร่? เทียบราคาแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด
ยาคุมฉุกเฉิน ราคาเท่าไหร่? เทียบราคาแต่ละยี่ห้ออย่างละเอียด

รู้จักยาคุมฉุกเฉิน ตัวช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของผู้หญิง

อ่านเพิ่ม
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

แนะนำ 3 สูตรอาหารสำหรับการให้อาหารทางสายยางที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม